หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ น.
ณ วัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ
อ.เมืองเลย จ.เลย
หมดแล้ว จะเว่า(พูด)แล้ว เป็นธรรมเนียมของชาวพุทธทั้งหลาย ไม่ว่าพระ ว่าเณร อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายก็เหมือนกัน มาด้วยกัน นัดหมายกัน นัดหมาย วันนั้นจะไปที่นั่นๆ นัดหมายกันแล้วก็มาตามความนัดหมาย เออ
น้ำใจลูกหลานไทย น้ำใจประเสริฐ
งามล้ำ งามเลิศ หาดูได้ยาก ในโลกโลกาแลหนา
งามหน้า งามตา งามกิริยา งามมารยาท
งามเชื้อ งามชาติ งามวาสนา
งามจิต งามใจ งามในศรัทธา
เหลือกินเหลือใช้ ไหลมาเทมา ให้ร่ำรวยมหาศาล
ซื้อง่ายขายคล่อง เข้าตามทำนอง ครองธรรม
แต่ว่าอย่าไปทุจริตเขา เอาแต่ของบริสุทธิ์ ได้มาเป็นของบริสุทธิ์จึงใช้ ถ้าได้มาในของไม่บริสุทธิ์ อย่าเอาไปใช้ มันจะมาชวนเอาหมู่หนี มันจะมาเอาชวนเงินที่บริสุทธิ์ของเราหนีไป หากถ้ามันได้ของบริสุทธิ์ จึงเก็บจึงกำเอาไว้ ฝากไว้เป็นหลักเป็นฐาน ก็จะเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์ศฤงคาร บริวาร แก้วเก้านวรัตน์ทั้งหลายทั้งปวงน่ะ มันก็ไหลมาเทมาเอง เพราะเราได้มาในความบริสุทธิ์ ของนี้ของบริสุทธิ์ เอาจากหัวใจแท้ๆ มาทำ ถ้าเอาของบริสุทธิ์มา มาทำบุญนั่นแหละมันจะมาชวนเอาหมู่หนี อ้า มาชวนเอาหมู่หนีของไม่บริสุทธิ์น่ะ เอาแต่ของบริสุทธิ์ มาใช้มาจ่ายอะไรก็ดี ถ้าไปฉ้อ ไปฉล ไปโกงเขามา อะไรในทำนองนี้ มันดิ้น มันร้อน มันมาชวนหมู่หนี อ้า ของไม่บริสุทธิ์มันมาชวนเอาหมู่หนี หนีไป ชิปหายไป มีวิธีมาเอาหมู่ หมู่มาเอามันไป ชื่อว่าโกงเขามา ฉ้อฉลเขามา กระบัด(ฉ้อโกง)เขามา ไม่บริสุทธิ์ เราไม่ได้ของบริสุทธิ์ไปไว้ในกระเป๋าเรา ในกระเป๋าของเรามันดิ้น ยุกยิกๆ อยากจะ อยากจะไป เฮอะๆ เออ มีหลายอย่างที่มันมาชวนหมู่ มา ไปซื้อหวยกันหนา ไปซื้อเบอร์กันหนา ฝันอย่างนี้ๆ คงจะรวย อืม อ้า แห่ไปๆ นั่นน่ะมันมาชวนเอาหมู่หนี เพิ่นชวนเอาหมู่หนีจากกระเป๋าเรา เพราะการพนันนั่นอย่างหนึ่ง กินเหล้าอย่างหนึ่ง อ้า เล่นการพนันอย่างหนึ่ง ทำให้เสีย ให้กระเป๋าเราแบนไป หมดไปเท่าไหร่คราวนี้ คราวหน้าก็เอาอีก ไม่หลาบ ไม่รู้จักว่าของไม่ๆ บริสุทธิ์ เพิ่นไม่ให้เอามาใช้ อันนี้หลวงปู่หล้า(หลวงปู่หล้า เขมปัตโต) เพิ่นบอกอยู่ อย่านะลูกหลานเอย อย่าไปฟัง อ้า คำบ้าน คำเมือง เขาสับส่อ(สับปลับ) เลยเห็นเขา เฮ้ตรงไหน ก็ไปกับเขา เอา เอาสักหน่อยแน่ บางทีมันออกมา เฮอะๆ จะๆ ได้เงินได้ทอง น่ะเนี่ย ความอยากของเรานั่นแหละ มันพาให้หมู่หนี ให้ทรัพย์สินเงินทองในกระเป๋าเราร้อน เดือดร้อน หายาก มาด้วยความเหนื่อยยากลำบาก รับจ้างรับไว้ อ้า ทำงานทำการเหงื่อไหลไคลย้อย หามายากเหลือเกิน ก็ควรเก็บมันไว้ อย่าให้มันดิ้นๆ อยากได้อยากรวยๆ ไม่สมอกสมใจ อ้า ถ้าไปคิดอย่างนั้นนั่นแหละ ความคิดอย่างนั้น มันพาให้มาเอาหมู่หนีไป ไม่ ไม่ได้สมเป้าปรารถนา วางลงไปทีไร ตั้ง ๑๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ลงไป ตัวไหนมัก(ชอบ)หลาย ตัวนั้นมันก็ชวนเอาหมู่ไปหลาย พอ เฮอะ เออ เวลาออกมา หน้าเหลืองไปเลย หน้าเหี่ยวไปเลย โอ้ย ว่าจะได้ บ่ได้จ้อยว่ะเฮ้ย หนีไปจ้อย อ่ะ ชวนเอาหมู่ไป ได้มาในทางที่ไม่ชอบ ประกอบกิจการไม่ถูกต้อง เป็นมิจฉาชีพ เป็นอาชีพที่ไม่บริสุทธิ์ มันไม่หวงเท่าไหร่ ถ้าเงินทองที่เราหามาด้วย ด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน ก็รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ รู้จักเก็บหอมรอมริบเอาไว้ แพง(สงวน)เอาไว้ อย่าให้มันไหลหนีเทหนี เออ
อย่าไปฟังคำบ้านคำเมือง เพิ่นสับส่อ(สับปลับ)เด้อ
ถ้าฟังความอี่บ่ฮู้(รู้)มันเสียซู้ผู้มัก(ชอบ)กันเด้อ
เออ มันไหลหนี เทหนี อันนี้ขอฝากด้วย อย่าไปฟังคำยุให้รำ ตำให้รั่ว ยั่วให้แตก แยกให้ออก มันเป็นอย่างงั้น อ้า ความอยาก ถ้ามีความอยากหลาย มันก็ไปหลาย อยากรวยหลาย มันก็ไปหลาย เอาสัก ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ไว้ ตัวนี้ชอบใจเหลือเกิน หึ อยู่ในปากของเรามันก็ยังไหลไปอยู่ ไหลไปเทไป เออ เนี่ยเว่า(พูด)ไปแล้ว น้ำตาล น้ำ น้ำผึ้งมาแล้ว
(ฉันน้ำ) เอาไว้โน่นล่ะ เออ
ของไม่ควรประเคนก็อย่าประเคน ถ้าประเคนไว้ กินให้หมดภายใน ๗ วัน มันกินไม่หมดสิปะเนี่ย ทำไง แจกหมู่แจกพวกกิน ช่วยกันให้มันหมด เพราะมันรับประเคนมาแล้ว ถ้ารับประเคนมาแล้วกินได้ภายใน ๗ วันขวดหนึ่ง ขวดหนึ่งมันกินไม่หมดสิปะเนี่ย เออ มันก็เป็น
นิสสัคคีย์ ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์
ของเก็บข้ามวันข้ามคืนไป
นิสสัคคียปาจิตตีย์
ปาจิตติยัง
มันเกิน ๗ วัน รับประเคน ได้ ๗ วันอย่างน้อย ผู้ที่ไม่รู้จักวินัย ก็เก็บไว้เกิน ๗ วัน ก็ยังกินไปเรื่อยอยู่แน่ะ กินของไม่บริสุทธิ์แล้ว ของมันเกิน เออ กำหนดกาลมัน สัตตาหะ อ้า
มันๆๆ ดึงดูดเอาไป เอาหมู่ไป นี่แหละขอให้ทุกคนได้ยินจากเสียงนี้แล้วไปจำเอา จำเอาไว้มันจะดึงดูดเอาไป ดูดเอาเงินหนีจากกระเป๋าเราไป อ้า ไม่ไปคิดเสียดายทีหลังหรอก โอ้ย เสียเงินให้เขานี่ ๕๐๐ เสียเงินไปนี่ ตั้ง ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ตัวไหนที่ชอบใจหลาย ตัวนั่นล่ะ มันดึงเอาหลาย ดึงเอาเงินจากกระเป๋าเราไป ถ้าไม่ชอบ ไม่ ไม่เล่น ไม่ชอบ เขาว่าอะไรก็ไม่เล่น ไม่ชอบ นั่น ไม่ให้มันดึง มันก็ดึงไปไม่ได้ เอาไปไหน เอาไปเก็บไว้ได้อยู่อย่างเก่า
ได้มีน้อยก็ใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้ามีน้อยใช้มากเกินประมาณ น่ะ มันจะยากลง
เหนื่อย จนลงๆ เพราะการเล่นหวยเล่นเบอร์ อ้า เล่นบัตรเล่นหวย อ้า มันดึงเอาหมู่ไป นั่นอย่างนั้นล่ะ อย่าไปฟังคำมันเด้อ อืม เทวดามาบอกซะก่อน เทวดามาบอกซะก่อน อ้า ตัวนั้นเด้อ ตัวนี้เด้อ เทวดามาบอกในฝัน
เทวดาจัญไร ก็มายุให้รำ ตำให้รั่ว
ยั่วให้แตก แยกให้ออก ให้ลูกแทงหนัก
อันนี้ขอฝาก อย่าไปฟังคำฝันปรุงของตัวเอง อย่าไปฟังคำเล่าลือของตัวเองของผู้อื่นเขา อืม ใจของเรานั่นแหละ เป็นทรัพย์สมบัติเดิมๆ เรา หายากเหลือเกิน หยาดเหงื่อแรงงานน่ะ เราทำงานเหงื่อออกทุกวันๆ แล้วก็ยังจะมาเสียคำยุ คำยุยงผู้อื่นเขา มันจะเป็นยังไงล่ะต่อไป ออกมาแล้วมันได้แต่ โอ้ยๆ อยู่นั่นแหละ อ้า ผิดตัวเดียว ผิด ๒ ตัว ผิด ๓ ตัวไป นั่นแหละเรียก มันจะไหลไปเทไป ไหลมาเทมา ให้ๆ กระเหม็ดกระแหม่ อันนี้หลวงปู่หล้า(หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)เพิ่นสอน
หลวงปู่หล้า(หลวงปู่หล้า เขมปัตโต) เพิ่นสอนลูกศิษย์ลูกหา ไม่ให้ยินดีในการเล่นหวยเล่นเบอร์ ไม่ยินดีในการพนันทุกชนิด เพิ่นไม่ให้แตะต้องมันเลย เพิ่นเว่า(พูด)เรื่องของเพิ่นเอง ไปซื้อลอตเตอรี่กับเขา อืม ซื้อเขามาแล้วตัวเดียวก็ไม่ถูก ไม่มีสักตัวอยู่ในหวยล่ะ ไม่มี นี่ เราฝันไปหรือเขาบอกมา เชื่อความเขลาปัญญาของเรา ฝันของคนมันจนตัวเอง ระวังๆ ให้ดีๆ ให้กระเหม็ดกระแหม่ ให้เก็บ ให้กำ
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้ามีน้อยไปใช้มากมันจะยากลง
มันจะลำบากตัวเอง แถก(ดิ้นรน)ไป ไปไหนทุกวันนี้ เสียเงินทั้งนั้นแหละ เสียเงินค่ารถ เสียเงินค่าหวย ค่าอะไรเสียไปเรื่อยๆ คึด(คิด)เสียดายตามภายหลัง ก็คึด(คิด)เสียดายอยู่ นึกเสียดายตังค์ไหมล่ะ นึกเสียดายตังค์ไหมล่ะ โอ้ย ถ้ารู้อย่างนี้ไม่ซื้อสักกะใบ อ้า จะได้เงินไว้ใช้สอยนะ ในสิ่งจำเป็น สิ่งจำเป็น
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรๆ ซื้อ
อย่าไปพิไรซื้อให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
อ้า
ถ้ามีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้ามีน้อยใช้มากมันจะยากลง
อืม ให้กระเหม็ดกระแหม่เอาไว้ เก็บงำเอาไว้ ใช้ไปบุญกุศลอย่างนี้ไม่เป็นไรหรอก มารวมใส่ขันให้หลวงปู่นี่ ก็เป็นเงินหลายหมื่นอยู่ปะเนี่ย หลายพันเหรอ อันนี้เก็บ อืม เก็บเข้าตู้ ใช้จ่ายเฉพาะเจดีย์ อย่างอื่นอย่าไปใช้จ่ายมัน เออ ไม่จำเป็นอะไรหรอก อืม เนี่ยๆ เขาที่เอาเงิน เขามีอยู่เนี่ยๆ วิหารเจดีย์ เจดีย์ เป็นเงินตั้งเป็นพันๆ ล้าน
อืม โอ้ มันไม่ใช่ธรรมดานะ ถ้าไม่ กระเหม็ดกระแหม่ จะได้ไหนมาให้เขา เขาเอาค่าแรงงานเท่านั้นเท่านี้ ไม่มีจ่ายทำไงล่ะ เขาจะมารื้อเอาของเราไปเนาะ(นะ) อืม ให้มันจบซะก่อนจึงค่อยใช้ ด้วยประการฉะนี้
(สาธุ) พอแล้ว เฮอะๆ จำไว้ จื่อ(จดจำ)ไว้
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้ามีน้อยใช้มากจะยากลง
อืม ทุกข์เราเอง เป็นหนี้เป็นสินเขา เวลาเขามาทวงเพิ่นหรอก จึง นั่น อ้า อันนี้เอาไปแจกครูบาอาจารย์ เพิ่นกินข้าวบ่อิ่ม
ให้รับพรก็ให้แล้ว อะไรก็ให้แล้ว อ้า ให้ไปหมดทุกอย่างแล้ว โอ้ มารถหลายคันนะเนี่ย ทั้งพระ ทั้งเณร เป็นเงินค่ารถเท่าไหร่ หรือเหมาเขามา
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
คือ โทษที่เกิดจากการพระภิกษุล่วงละเมิดลหุกาบัติ
(อาบัติโทษเบา) ที่เรียกว่า อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ซึ่งเกี่ยวกับสิ่งของจตุปัจจัย จะต้องทำการสละของนั้นก่อน
จึงจะแสดงอาบัติได้ มีทั้งหมด ๓๐ ประการ
๑.ห้ามเก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒.ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง
๓.ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
๔.ห้ามใช้ให้นางภิกษุณีซักผ้า
๕.ห้ามรับจีวรจากมือของนางภิกษุณี
๖.ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ
เว้นแต่จีวรถูกโจรชิงไปหรือจีวรหาย
๗.ห้ามรับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง
เมื่อจีวรถูกโจรชิงไปหรือจีวรหาย
๘.ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดีๆ กว่าที่เขากำหนดไว้เดิมถวาย
๙.ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดีๆ มาถวาย
๑๐.ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่น
เพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๑๑.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
๑๒.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม(ขนแพะ ขนแกะ)ดำล้วน
๑๓.ห้ามใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
๑๔.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อยังใช้ของเก่าไม่ถึง ๖ ปี
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้ตัดของเก่าปนลงในของใหม่
๑๖.ห้ามนำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์
เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ห้ามใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.ห้ามรับทอง เงิน หรือยินดีทอง เงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน
๑๙.ห้ามซื้อขายด้วยรูปิยะ(ทอง เงิน หรือสิ่งที่ใช้แลก
เปลี่ยนแทนเงิน ที่กำหนดให้ใช้ได้ทั่วไปในที่นั้นๆ)
๒๐.ห้ามซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.ห้ามเก็บบาตรเกิน ๑ ลูกไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ห้ามขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.ห้ามเก็บเภสัช ๕
(เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.ให้แสวงผ้าอาบน้ำฝนภายใน ๑ เดือนก่อนฤดูฝน
ให้ทำผ้าอาบน้ำฝนได้ภายใน ๑๕ วันก่อนฤดูฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้ว ห้ามชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ห้ามขอด้ายเองมาให้ช่างทอเป็นจีวร
๒๗.ห้ามกำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษา
(ผ้าที่ถวายภิกษุผู้อยู่จำพรรษา)ไว้เกินกำหนด
๒๙.ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน
สุภาษิตสอนหญิง
(บทคัดบางส่วน)
มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ
ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ ได้การุณเลี้ยงรักษามาจนใหญ่
อุ้มอุทรป้อนข้าวเป็นเท่าไร หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง
ถ้าเราดีมีจิตคิดอุปถัมภ์ กุศลล้ำเลิศเท่าภูเขาหลวง
จะปรากฏยศยิ่งสิ่งทั้งปวง กว่าจะล่วงลุถึงซึ่งพิมาน
เทพไทในห้องสิบหกชั้น จะชวนกันสรรเสริญเจริญสาร
ว่าสตรีนี้เป็นยอดยุพาพาล ได้เลี้ยงท่านชนกชนนี
นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าวรรณกรรมเรื่องนี้
เป็นผลงานของหลวงสุนทรโวหาร(สุนทรภู่)
(มีข้อมูลว่า สุภาษิตสอนหญิงเป็นของนายภู่ จุลละภมร
ศิษย์สุนทรภู่นั้น เพราะชื่อภู่เหมือนกัน
แต่เรื่องที่นายภู่แต่งจะมีบทไหว้ครูทุกเรื่อง
ผิดกับท่านสุนทรภู่ที่แต่งกลอนจะไม่เคยมีบทไหว้ครูเลย)
๒๙