หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

งานทอดผ้ากฐิน(ครั้งแรก)

วันอังคารที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๒๐.๐๐ น.

ณ วัดป่ากุลสุวรรณ์ ต.ปากแพรก

อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี

อ้าว นี้บ่ได้เทศน์

หลวงปู่มาเป็นเจ้าภาพกฐินนะ หลวงปู่ไม่ได้มาเทศน์นะเขานิมนต์มาเนี่ย ให้มาเป็นเจ้าภาพกฐินนะ

เจ้าภาพก็จะให้เทศน์ ยังไงบ้างเนาะ(นะ) อืม

 

(ทดสอบไมค์) เออ อืม เสียงพอดีแล้ว

คอแหบคอแห้งมาหลายวันแล้ว เพราะว่าอาราธนาแล้วตะกี้เนี่ย

 

(ติดไมค์) ว่าไง นั่น ติดนี่

 

เออ เออ หลวงปู่:เทศน์ ยังนึกหาข้อเทศน์ไม่มี ไม่เห็น มันนึกไม่ออกเลย อ้าว เจ้าตั้งใจฟังเด้อ เทศน์จริง เทศน์เสียเฉยๆ เทศน์ไปๆ เฉยๆ ยังไม่มีใครเก็บเอาไปประพฤติปฏิบัติตามอย่างนี้ เสียหมดเลย หลวงปู่ก็เสียงแห้งเปล่าๆ เสียแรงเปล่าๆ ถ้าจะฟังจริงๆ ก็เก็บเอา กำเอา เออ กำเอาคำว่าเทศนาของเพิ่นไปประพฤติ ไปประพฤติปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด กว่าธรรมดา มันจะได้น่าเทศน์ เอาไปแล้ว แม้แต่จำศีล แม้จะรักษาศีลอยู่ตะกี้นี่ ก็ยังมีผู้เผลอ ผู้หลงไปตียุงอยู่

 

ปาณาติปาตา เวระมะณี

 

ยังไม่จบเลย ตียุงไปซะแล้ว ตีไปซะแล้วล่ะ แน่ะ แค่นี้ก็เห็นกันแล้วว่าไม่ตั้งใจจริงเว้ย จริงๆ อ่ะ การฟังเทศน์ต้องตั้งใจฟัง และตั้งใจกำหนดจดจำ นำไปประพฤติปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติในที่นี้ไม่ได้ ไปถึงบ้านก็ระลึกได้ เออ ให้มันระลึกได้อย่างงั้น การฟังเทศน์ ไม่มีอะไรเตรียมตัวมาเลย ฟังเทศน์ อ้าว ตั้งใจฟังเทศน์เด้อ

 

แก้ไม่ตก คาพกเจ้าไว้ ล่ะปะเนี่ย

แก้บ่ได้ คาก้นย่างยาย ยายเด้อ

(ถ้าแก้ไม่ตกมันจะตามติดตัวไปจนตลอด)

 

 

เอา ทำความนอบน้อมต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ทานัง เทติ สีลัง รักขะติ ภาวะนานัง ภาเวตตะวา

เอกัจโจ สัคคัง คัจฉะติ เอกัจโจ โมกขัง คัจฉะติ นิสสังสะยัง

อิมัสสะ ธัมมะปะริยายัสสะ อัตโถ

สาธายัสมันเตหิ สักกัจจัง ธัมโม โสตัพโพติ

 

แน่ะ เท่าที่จำครูบาอาจารย์มาได้ ก็นำเอามาฝาก ณ ที่นี้ ขอให้ทุกท่านทุกคนกำหนดจดจำ นำไปประพฤติปฏิบัติ ให้เคร่งครัด อย่าได้ว่าแต่ปาก ว่าแต่ปากอ่ะ ไม่เว้น

 

เวระมะณี

 

มันไม่เว้น อันการสมาทานศีลนั่นก็เหมือนกัน เราว่าแต่ปาก แต่ว่าเราไม่สมา.. สมาทานตั้งมั่น ระลึกไม่ออกเลย ต้องระลึกได้เสมอ ระลึกถึงคำเทศน์ของท่าน ได้ไปฟังธรรมะธัมโมมาจากที่ไหนๆ ก็เหมือนกัน เราเอาไปประพฤติปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัดก็ได้ผล ได้รับความสุข

 

สีเลนะ สุคะติง ยันติ

 

 

เพิ่นบอก

 

สีเลนะ โภคะสัมปะทา

 

บุคคลจะได้โภคสมบัติก็เพราะศีล

 

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ

ตัส๎มา ฯ

 

เพราะเหตุดังนั้น เราต้องงด ต้องเว้น ต้องละ ต้องประพฤติปฏิบัติ มันจึงเป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมาได้ อย่าว่าแต่ปาก ไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น มันไม่เป็นศีล เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ขอฝากทุกคนด้วย เมื่อรับไปแล้วจากพระองค์ไหนๆ ก็ตามเถอะ เราต้องมั่นใจว่าจะประพฤติปฏิบัติตามได้ ถึงไม่หนักหนาสาโหดอะไร เราก็รักษาอย่างเคร่งครัด และก็เด็ดขาดลงไป มันจึงเป็นการสมาทานศีล ตั้งมั่นในศีล เออ

 

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง กุสะลัสสูปะสัมปะทา

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง เอตัง พุทธานะ สาสะนัง

 

อันนี้ เพิ่นก็ว่าไว้อยู่เหมือนกัน เรารับศีลไปแล้ว ถ้าเราไม่รักษามันเป็นการโกหก ครูบาอาจารย์หลวงพ่อหลวงตาทั้งหลายที่มาให้ ให้ศีลให้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติตาม มันก็ชื่อว่าโกหกกันนะ โกหกกันเฉยๆ อืม เอาแล้ว วันนี้พูดเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องสมาธิ กันสักหน่อยหนึ่งก่อน พอได้ข้อคิด

ทานัง เทติ

 

ข้อนั้น หมายถึงการบริจาคทำ บริจาคทาน ถ้ามันได้บริจาคทาน งานนี้ก็เป็นงานบริจาคเหมือนกัน บริจาคทาน เหมือนกันที่ตั้งกองการกุศลขึ้น เรียกว่าทาน กฐินทาน อ้า

 

ทานัง เทติ

 

ตัวนั้น หมายถึงการทำบุญให้ทานทุกประเภท ไม่ใช่พอนั่นน่ะ เอาแต่ให้

 

(เสียงโทรศัพท์ดัง)

อ้าว มาวางไว้ล่ะ อ้าว กำลังเทศน์อยู่เว้ย กำลังเทศน์อยู่ กำลังเทศน์อยู่ อ้าว ฟังเอาเด้อ ฟังอยู่บ้านไม่ได้ยินหรอก เออ ฟังอยู่บ้านไม่ได้ยินหรอก

อ้าว กำลังเทศน์อยู่แล้ว เนี่ยมันหลงเลย เสียง มีสิ่งรบกวนนิดหน่อยเลยหลงล่ะ

 

ทานัง เทติ

 

วันนี้พวกเราทำบุญ กฐิน ทอดผ้าป่ามหากฐินหรือบังสุกุล หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็น

 

ทานัง เทติ

 

ทั้งนั้น เพื่ออะไรจึงทำทาน เพราะว่ากิเลสของเรามันหลาย ความตระหนี่ถี่เหนียว เหนียวแน่น หวงแหน ไม่อยากจับ ไม่อยากจ่าย ไม่อยากสงเคราะห์สงหาผู้อื่น นั่นก็เรียกว่าจัดว่าเป็น

 

ทานัง เทติ

ไม่ได้ มันยังมีขี้ตระหนี่ถี่เหนี่ยวอยู่ ให้รู้จักประมาณเอา การทำบุญให้ทานก็รู้จักประมาณเอา ขณะนี้เราพอเสียสละได้บริจาคได้อยู่ เออ เราจะพยายามขัดเกลาจิตใจ ด้วยการทำทาน

 

ทานัง เทติ

ทานัง เทติ

 

นี้การขัดเกลาจิตใจ ด้วยการบริจาคทรัพย์ของตัวเอง หรือบริจาคสิ่งของ ข้าว น้ำ โภชนะอาหาร หวานคาวทั้งหลายทั้งปวง ถ้าเสียสละแล้ว เรียกว่าทำทาน เป็น

 

ทานัง เทติ

 

ได้ทั้งนั้น ทำไมจึงต้องทำทาน เพราะว่าความตระหนี่ถี่เหนียวมันเป็นกิเลส อย่างหนักหนาสาโหดเหมือนกัน ความตระหนี่ถี่เหนียว เหนียวแน่น หวงแหน ไม่อยากจับ ไม่อยากจ่าย มันเป็นข้าศึกแก่จิตใจเราจริงๆ จิตใจเราอยากจะบริจาคอยากจะทำอยู่ แต่ว่าความตระหนี่ถี่เหนียว มันมากั้นกลางเข้า เราก็เลยทำทานไม่ได้ เพราะฉะนั้น ให้สังวรระวัง หรือระลึกได้เสมอ การสงเคราะห์สงหา ให้ทานของ ของเจ้าของ ของ ของตัวเอง ให้แก่ผู้อื่น สงเคราะห์สงหาผู้อื่น ให้มีกิน มีใช้ อย่าให้อดอยากปากแห้งเลย เราไม่อยากจะเป็นอย่างงั้น กิเลสในใจของเราให้มันเป็นอย่างงั้น ให้ขัด ให้เกลา ให้ชำระ ให้ล้าง ถึงความสะอาดได้ แต่ว่าของภายนอกกายเราออกไป ก็ทำความสะอาดทุกอย่าง มันจึงน่าใช้ น่าสอย เป็นภาชนะน้ำ ถ้วยจาน ถ้วยชามนามมาละ หม้อแหกแตกโปว ของใช้ประจำวัน แต่ถ้าเราไม่ทำความสะอาดมันเป็นยังไง เสื้อผ้าอาภรณ์ที่เราใส่อยู่ ใส่มาประชุมพร้อมมาทำบุญเนี่ย ถ้าเราไม่ได้ซัก ไม่ได้ล้างมันจะเป็นยังไง จะมีกลิ่นยังไงเกิดขึ้นไหม เออ มันออกมาจากร่าง จากกายของเรานั่นแหละของสกปรก เป็นเหงื่อ เป็นไคล เป็นอะไรๆ มันออกมาจากตัวของเราเอง อ่ะ

ถ้าเราไม่ชำระ ไม่ทำความสะอาด มันจะน่าใส่หรือเปล่า น่าใส่ไปเข้าสังคมกับเขาได้หรือเปล่า ถ้วยจานสำหรับใส่อาหารก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่ล้าง ขัดสีฉวีวรรณไว้ ให้สะอาดหมดจด อล่องฉ่องซะก่อน มันจะน่าใช้ต่อไปหรือเปล่า เหนียวเหนอะหนะๆ ติดฝ่ามือไปติดมือเพิ่น น่ารังเกียจแล้ว เอามาใส่อาหาร บริโภคอาหารการกิน กินเข้าไป ก็กินของสกปรกเข้าไปอีกแหละ เพราะฉะนั้น ต้องทำให้มันสะอาด เพิ่นว่า

ทานัง เทติ

 

ข้อนี้ ให้มันสะอาดสะอ้าน ของที่เอามาทำบุญทำทาน กับหมู่กับพวก เข้าวัดเข้าวามา มันต้องให้มันสะอาดซะก่อน จึงเอามาทำทาน ถ้ามันสกปรกอยู่ จะทำยังไงล่ะ แม้แต่ตัวเองจะกินก็ยังขยะแขยง จะเอาไปให้ผู้อื่นกินน่ะเขาจะว่ายังไง ขยะแขยงไหมเสื้อผ้าอาภรณ์ก็เหมือนกัน แม้เราไม่ซักสักทีเลย ไม่ทำความสะอาดเลย เหม็นอยู่อย่างงั้นแหละ แม้เอามาใส่ก็ไม่สบาย เสื้อผ้าอาภรณ์ ถ้วยชามนามมาละ ภาชนะน้ำ ภาชนะอาหาร ของทั้งหลาย ทั้งปวงต้องทำความสะอาดให้หมดจด ให้มันอล่องฉ่องซะก่อนตัวเองจึงจะกินข้าวได้ กินกับข้าวได้ เอามาเป็นอาหารได้ อันนี้มันกว้างขวางมาก ทำความสะอาดเนี่ย ทำความสะอาดตั้งแต่ถ้วยชามนามมาละ เงี่ยงโงโอใด ของใช้ทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องทำสะอาดให้หมดจดเอาไว้ ใจของเราล่ะ เราไม่ทำความสะอาดมันจะเป็นยังไง มีความโลภ มีความโกรธ มีความหลง มีความเอารัดเอาเปรียบหมู่อยู่อย่างงั้น ไม่เสียสละเลย แล้วจะเอาอะไรพาให้มันเจริญได้ มันทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว สกปรก ไม่น่าใช้ ไม่น่ากิน ไม่น่าเอามาต้อนรับแขกเลย เออ ถ้วยไม่เคยล้างภาชนะอะไรไม่เคยขัดเคยล้างมันเลย มีแต่สั่งใช้ๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ตามใจเรื่อยๆ ไม่ทำความสะอาดมันจะเป็นยังไง ท่านทั้งหลายจะขยะแขยงไหม อ้า แอ้ เหมือนกันกินความกว้างไปถึงทำบุญ ให้ทานทุกชนิด เราทำความสะอาดซะก่อน แอ้ แม้จะมาทอดกฐิน ผ้าป่า มหากฐินอะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องทำความสะอาดซะก่อน ทำความสะอาดอะไร ทำความสะอาดกระเป๋า อ้า พูดภาษาง่ายๆ ทำความสะอาดเทกระเป๋าเลย อ้า ถ้าจะทำบุญทำทานจริงๆ เทกระเป๋าเลย มันจึงสะอาด จึงไม่มีความตระหนี่ถี่เหนียว จึงเป็นคนใจกว้าง เป็นเทวดา ใจยังงั้น ใจเป็นเทวดา เป็นเทพบุตร เป็นเทวดาได้ เพราะเป็นนักเสียสละ

อันนี้พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์ทำเป็นตัวอย่าง มาตั้งหลายภพ หลายชาติ คือเกิดชาติไหนภพไหน ท่านก็ทำความสะอาดอยู่ยังงั้น ไม่ให้มีความตระหนี่ถี่เหนี่ยวเข้ามา ขัดขวางเลย เออ ยกตัวอย่างให้เรามองเห็นอยู่ เราได้ฟังทุกปีๆ อยู่ ท่านทำยังไง ท่านทำทาน เสียสละทำทาน การเสียสละทำทานมันก็ต้องเปลืองกระเป๋าตัวเองแหละ อ่ะ เปลืองสิ่งเปลืองของ ของตัวเองแหละ บุคคลผู้ที่จะทำทานได้

 

ทานัง เทติ

 

ตัวนี้ ถ้าผู้จะทำทานได้ก็ต้องตัดความตระหนี่ถี่เหนี่ยว ออกจากหัวใจซะก่อน ให้มันเบา มันบาง มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง ถ้ามีน้อยแต่ไปเทเอามากๆ ก็จะยากลงนะ เออ จะยากลงเป็นคนทุกข์คนจนไป ถ้ามีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง มีน้อยใช้มากจะยากลง ให้รู้จักประมาณ ให้รู้จักประมาณการณ์เอา คนไม่รู้จักประมาณ ว่าจะให้ ก็ให้หมดเนื้อหมดตัวไปเลยอย่างงี้ มันไม่ใช่อย่างงั้น พวกเราผู้เป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่ ไม่ใช่พระอริยเจ้า พระอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงจะได้จะถึง ตัดกิเลสตาย คายกิเลสหลุด ...เลสหลุด เป็นวิมุตติ มรรคผล นิพพาน เป็นคนเบาเป็นคนบาง ชาติไหนภพไหน ท่านทำมาเท่าไหร่ ๔ อสงไขยกำไรแสนมหากัป ทำมาทุกชาติๆ

 

จนในชาติสุดท้ายมาเกิดเป็น เวสสันดรโพธิสัตว์ นั่น ท่านทำยังไงเป็นเวสสันดรชาดก ท่านทำยังไงจนเขาถูก จนถูกเขาขับไล่ออกจากบ้านจากเมือง อยู่ในบ้านในเมืองไม่ได้ประชาชนลุกฮือกันขึ้น เอาช้างมิ่งบ้านมิ่งเมือง ทานให้แก่ผู้อื่นเขา ในที่สุดจนทาน ขี่รถออกไปจะไปบวชกับภรรยา จะหนีไปป่าน่ะ เขามาขอรถให้รถอีก เขามา ขอช้าง ให้ช้างไปเลย ตกลง พระบรมศาสดา หรือพระเวสสันดร ท่านจึง ท่านตัดสินใจให้เขาหมด แล้วก็เดิน ดุ่มเดินดุ้นดั้น เด็ดเดี่ยว เดียวดาย เข้าไปอยู่ในป่าโน้น ทรมานขนาดไหน นางมัทรี ก็พร้อมใจเหลือเกิน ให้ ทางนี้จะอะไร ทำบุญอะไร จะเอาให้ใครไม่เคยห้ามเคยหวง เออเฮอ เป็นน้ำใจอย่างงั้นน้ำใจเสียสละทาน ยกพระเวสสันดรเป็นประธาน เป็นตัวอย่าง ท่านเอาจริงๆ จังๆๆ ทานช้าง ทานม้า ทาน เออ เงิน ทานทอง ทานทุกสิ่งทุกอย่าง มีโรงทานอยู่เท่าไหร่ ท่านบริจาคทานหมด จนได้เขาลุกฮือขึ้นขับไล่พระเวสสันดร ไม่ให้อยู่ในบ้านในเมือง ถ้าอยู่ในบ้านในเมืองเอาทรัพย์มรดกของหลวง เอาไปทานให้เขาหมด ช้าง ก็ช้างหลวง รถ จักรหรือรถนั่น ไม่ใช่รถยนต์เหมือนทุกวันนี้ ว่ารถที่ขี่ไปธุระบ้าง ภาระทางอื่น เขามาขอรถ ให้รถ ให้ม้า เอาให้ทั้งรถทั้งม้า เขามาขอช้าง เอาช้างให้ผู้อื่นไป ช้างมิ่งเมือง ไม่ใช่ช้างธรรมดา ช้างแก้ว

 

ปัจจัยนาเคนทร์

 

ประชาชนทั้งบ้านทั้งเมือง ก็ลุกฮือกันขึ้น ทานรถ ทานช้าง ทานม้า อยู่ไม่ได้ ให้อยู่ไม่ได้ ให้อยู่ในบ้านไม่ได้ คนอย่างนี้ขับไล่ให้ไปอยู่ป่า หนีเข้าไปอยู่ในป่า เว้ย หา หมากไม้และหัวมัน มากินกัน เอากำลัง กับมัทรี กับกัณหาชาลี กินของอย่างงั้นเอา เนี่ยมันลำบาก กินหัวไม้ หมากไม้ หัวมัน พอมากินกัน แกง ตามอาหารการกิน อ่ะ เผือกมัน มันกินได้อยู่ อืม เอาอย่างั้นมาเลี้ยงกัน ดูสิ เออ ถูกเขาขับไล่ออกจากบ้านจากเมือง มาจาก กรุงสญชัย เพิ่นก็ไม่ว่าอะไรหรอก เออ ถ้าเขาต้องการ อย่างนั้นก็ไปซะก่อน ลูกเอย ไปซะก่อน เขาว่าอย่างงั้นให้ เขาไม่พอใจอย่างงั้น ถ้าถูกขับไล่หนีจากบ้านจากเมือง รีบหนีไปซะก่อนไป อืม ให้มันตายใจเขาซะ หนีไปอยู่ป่าอยู่ดงนู้นลูก บวชเป็นพระฤๅษี เออ พระเวสสันดรบวชเป็นฤๅษี นาง เออ มัทรี ก็เป็นดาบสินี นุ่งเครื่องนุ่ง หนังเสือ ทำมาหากินอยู่ในป่า นั่น ขนาดนั้น มันทำกัน หรือจะตัดกิเลสตาย คายกิเลสหลุด ถึงวิมุตติ มรรคผล นิพพาน เพิ่นจึงเอาจริงเอาจังขนาดนั้น อืม ใครจะว่ายังไงก็ช่างเขา แต่ว่าตัวของเราได้ทำแล้ว พอใจภาคภูมิใจแล้ว อืม ต่อมาบ้านเมืองเกิดเดือดร้อนขึ้นมา อ่ะ ถ้าไปเชิญ ไม่ไปเชิญเอาเวสสันดรกลับมาเข้าบ้านเข้าเมืองอย่างเก่า บ้านเมืองจะแห้งแล้ง ไม่มีอะไรจะอยู่ยึดกินกันแล้ว แหม เป็นอย่างงั้น โหรมาทำนายทายทักให้ จึงไปเชิญเอาเวสสันดร ฤๅษี เป็นบวช ฤๅษีอยู่ในป่า กับนางมัทรี อยู่ในป่า ส่วนลูกแก้วทั้ง ๒ เอากัณหาและนาง... นางกัณหากับท้าวชาลี ประทานให้แก่พราหมณ์มานาน จากไปแล้ว แต่ว่าเทวดานั้นมาช่วย ตอนไอ้พราหมณ์ขึ้นไปนอนอยู่บนง่าม คบไม้นู้น แขวนอู่นอนอยู่นู้น ส่วนกัณหาชาลีล่ะ ผูกไว้ข้างล่าง เออ ผูกไว้ข้างล่าง มัดศอก มันอะไรแขนและขาไว้ที่นั่น ไม่ได้ขึ้นไปนอน ตัวเองกลัวตายขึ้นไปนอนอยู่บนคาคบไม้ แขวนอู่นอน ตื่นมื้อเช้า เทวดามากลับกิ่งไม้นั่นแล้วหรือยังไง ให้รู้ว่าหันเข้าไปพู้น(โน้น) กรุงสญชัยนู้น หันทางไปทางนู้น ทางนี้ล่ะ ทางบ้านเรา ทางนี้ล่ะ ทางบ้านเรา ไปตามกิ่งไม้ที่เรามัดเราหมายไว้ ก็บรรลุถึงเมืองเชตุดร ที่นี่ในกลางคืนนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยฝัน ฝันว่าเขาเอา นำเอาของ สิ่งของมาให้ ของมีค่าราคาสูงมาก ทำอย่างไรล่ะเราเขาก็บอกว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไรหรอกเรื่องนี้อ่ะ ไม่เช้าก็สาย ให้เช้า ตื่นเช้ามากัน เขาจะเอาของมาฝาก คอยดู คอยดูหนทางไว้ให้ดี ถ้าเห็นจูงกัณหาชาลี เขาจะจูง มาทางนี้ เออเนี่ย เออ หนีจากเวสสันดรมาแล้ว เวสสันดรทานให้แก่พราหมณ์แล้ว ก็เห็นพราหมณ์ชูชกเดินงกๆ เงิ่นๆ ยักแย่ยักยัน จูงเด็กน้อยมา ๒ คน นั่นน่ะ ความฝัน ไม่เช้าก็สาย อืม ไม่ถึงมง ม้ม(พ้น)วัน วันนี้ล่ะ มาตามมาตอนเช้า ไม่เช้าก็สาย อืม ไม่ถึงเที่ยงหรอก จะมาถึงนี้ ให้ตรวจดูถ้ามีคนจูงกัณหาชาลีมา ก็ให้ไปไถ่เอา อืม ก็เลยได้ไถ่เอาตามคำสั่งของ เออ เวสสันดรนะ ให้เอาเงินเอาทองมาถ่าย เอาอะไรเอามั่งล่ะ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ วัวอุ(สุภราช) วัว(อุ)สุภราช ๑๐๐ มีแต่อย่างละร้อยๆ และเลี้ยงพราหมณ์อย่างเต็มศรัทธา อยากได้อะไรให้หมด เออ เอา เอาหลานมาส่งแล้วเลยอย่างนี้เราจะไถ่เอา เขา บอกว่ายังไง เวสสันดรบอกว่ายังไง เพิ่นสั่งว่าใครก็ตามมาไถ่มาถอนก็ผู้นำ มีเงินมีทองซะก่อน ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ มาไถ่เอา อ่ะ เป็นอย่างงั้น ตามคำทำนายของหมอด้วย และฟังคำชูชกพูดก็เหมือนกัน เพิ่นไถ่ ให้ไถ่เงินตั้งหลายพันตำลึง หรือช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ วัวอุสุภราช(โคเผือกตัวผู้สำหรับเป็นพาหนะ) ๑๐๐ เอามาไถ่เอา กุมารจึงได้ ได้ๆๆๆ พระเจ้ากรุงสญชัยใจใหญ่เหมือนกันนะ เอาเลย เนี่ย อยากได้อะไรให้ว่ามา เออ วันนี้เอาลูกกับหลานมาส่งเราแล้ว เราไถ่ไปแล้ว วัวอุสุภราช ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ มาให้ เอ้า มีพี่มีน้องอยู่ทางไหนบ้าง แน่ะ ให้มาเอามาขนเอา แต่ว่าเลี้ยงพราหมณ์ ซะจนพอแรงน่ะ เลี้ยงพราหมณ์ แกงหมู แกงเป็ด แกงไก่ แกงอะไร มากมายอาหารหวานคาวนับไม่ถ้วน พราหมณ์ก็หิวมานานหลายวันแล้วไม่ได้กินอะไรเลย พบอาหารดีๆ ก็ใส่ซะเลย เก็บขาหมูใส่ลี่ล้ายลี่ล้าย เก็บขาไก่ใส่ลี่ลังลี่ลัง กลืนไม่ลง กินน้ำพาลงไปเอา พบอาหารดีแล้วกินให้สาใจ กินไปกินมา มันท้องไม่ย่อย ท้องไข้อื้อลือๆ ในที่สุดก็แตกตูมตาย หงายข้างอยู่จาดดาด(เฉียดๆ) ในข้างประสาทเมืองแก้วป่าเซไซ อ่ะน่ะ ตายเลย พราหมณ์ท้องแตกตูมตายแล้วปะนี้ เอ่ยถาม ผู้ใดมารับสิ่งของ นางอมิตตดา หรือนางอะไรเมื่อเนี่ย อยู่ไหนฮู้(รู้)บ่รู้จัก อยู่บ้านเขาเมืองเขาพู้น(โน้น)แหละ หาผู้ใดมาบอกเป็นพี่เป็นน้องของพราหมณ์ตายแล้วเนี่ย หงายข้างอยู่จาดดาด(เฉียดๆ) ในข้างประสาทเมืองแก้วป่าเซไซ อ่ะน่ะ

นั่นเห็นไหม ความโลภโมโทสัน ก็ทำให้ชูชกแตกตูมตาย อืม ให้สาใจ ก็เลยบ่มีผู้ใดมารับเอา อ้า วัวอุสุภราช วัวอุสุภราช ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ เหล่านั้นเลยตกเป็นของหลวงต่อไป อันนี้ อันนั้นจะไม่รู้จักประมาณ ความไม่รู้จักประมาณตัวเอง ท้องของตัวเท่านี้ จะมาขอเอากัณหาชาลีไป ให้นางอมิตตดาใช้ เราแก่แล้ว อืม อืม ขอเพิ่นก็ไม่หวงแล้วเพิ่นก็ให้เลย ให้เลย จองมาดคาดไว้ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ วัวอุสุภราช ๑๐๐ ทาสหญิงๆ ทาสชายก็อย่างละร้อยๆ อ้า เอาไปเลย จะเอามา ท้องแตกตูมตาย แล้วบ่มี อีหยังล่ะปะเนี่ย เพิ่นสิไปเอิ้น(เรียก)หาพี่หาน้องตรงไหนมาเอา ก็บ่มี หาพี่หาน้อง หาลูกหาเมีย พวกเขาก็บ่ว่าง เป็นของเขาแล้วปะเนี่ย ตายแล้วก็ได้เป็นของหลวงอยู่อย่างเก่า การได้พูดเรื่องทาน

 

ทานะปาระมี สัมปันโน ฯ

อิติปิ โส ภะคะวา ฯ

 

พระพุทธเจ้าท่านทำมาแล้ว อืม ทานลูก ทานเมีย ท่านพระอินทร์กลัวว่าจะให้ทานนางมัทรี ต่อไป อย่างนี้ บ่ได้ เราต้องลงไปขอเอาก่อน ไปขอเอาเป็นของเราซะก่อน ประเดี๋ยวจะทานนางมัทรีไป เออ นางมัทรีจะลำบากขนาดไหน เราไปขอไว้ก่อน ไปขอพระเวส(สันดร)ไว้ก่อน ขอนางมัทรีไว้ ขอซะ นางมัทรีขอซะก่อน ข้าพเจ้ามาขอนางมัทรี เออ ได้เห็นทานลูก ทานเมีย ทานช้าง ทานม้าอะไรก็หลายเราจะขอเอานางมัทรีไว้ก่อน พอขอ ก็ดีใจมาก ข้าพเจ้าจะเลี้ยงดูเขาให้เป็นสุข นั่นแหละเอาไปเลย เราให้เลยเอาน้ำมาเทใส่มือ นางมัทรีให้ หยาดน้ำให้พร้อม เอาไปซะ พอให้พราหมณ์ไปแล้ว พราหมณ์ผู้เฒ่าพาไปแล้ว พราหมณ์ก็แปลงตัวเป็นพระอินทร์ขึ้นมาทันที เป็นของ.. ของข้าพเจ้าแล้วนะ นางมัทรีได้ยกให้ข้าพเจ้าแล้วนะ

วันนี้ข้าพเจ้าขอฝากกับบรมมหากษัตริย์ไว้ให้เลี้ยงดูอย่างดี นี่เราเป็นพระอินทร์มา มาขอนางมัทรี ให้เลยนี่แหละ ไม่ได้หวงไว้เลย เพื่อต้องการโพธิสมภาร ตรัสรู้มรรคผลนิพพานไว้ในชาติหน้าโน้น ถ้าพราหมณ์ต้องการอย่างงั้น เราก็ให้ ขออะไรเราให้หมดทุกอย่าง อืม นั่นมัน

 

ทานะปะระมัตถะปาระมี

ทานะปาระมี

ทานะอุปะปาระมี

ทานะปะระมัตถะปาระมี

 

ทานไปหมด ของรักของห่วงทั้งหลายให้เขาหมด อืม แล้วก็ปู่ก็ถามหลาน ที่ผ่านไปแล้วมันเป็นยังไง อยู่ยังไง ไปอยู่อย่างไรพ่อของเจ้าทั้งแม่ของเจ้าก็อยู่ยังไง โอ้ย ลำบากลำบน พระเจ้ากรุงสญชัย ก็บ่ไหว จึงไปเชิญพระเวส(สันดร)เข้าบ้านของเมือง เชิญกัณหาชาลี มาแล้วมาหาปู่แล้ว แอ้ นั่น ขนาดนั้นล่ะเพิ่นเมื่อ

 

ทานัง เทติ

 

ของเพิ่นไม่ใช่ธรรมดา เพราะฉะนั้น แลกเอา โพธิญาณ ถ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในชาติต่อไปขนาดนั้น ท่านทำของท่าน ถ้าเอาแต่ความตระหนี่ถี่เหนียว เหนียวแน่น หวงแหน บ่ได้ทำสักที อะไรมันจะไหลเข้ามาหาเราได้ล่ะ อืม ช้างแก้ว ม้าแก้วมันจะมาไหม อะไรมันจะมาไหม คืนเป็นของ สมเด็จ เขาไปเอา เออ พระเวส(สันดร)แห่เข้ามาในเมือง ยกราชสมบัติทั้งหมดให้พระเวสสันดรเป็นผู้ครอง

เนี่ย ได้เป็นของเจ้าของหมด กัณหาชาลีมาก่อน มาหาปู่ก่อน ปู่จึงได้รู้จักว่าอยู่ที่นั่นที่นี่ลำบากยังไง อ่ะฮึ โอ้ เราฟัง ฟังเรื่องราว เราก็รู้เรื่องราว ปัดโธ่ เพิ่นปานนั้นแหละ ขนาดไหนลำบากขนาดไหนช่างมัน ขอเราได้ทำทาน ให้แล้วขอแลกเอาพุทธภูมิ แลกเอาสมบัติอันยิ่งใหญ่ คือเป็นพระพุทธเจ้าสอนโลก สอนเทวดา อันนี้สมบัติอันยิ่งใหญ่ เมื่อท่านได้ทำทานหมดแล้ว ตายจากชาตินั้นแล้วไปเกิดอยู่เทวโลกพู้น(โน้น)ปะเนี่ยพระอินทร์ไป ไปเชิญมาเกิดใหม่อีกสิปะเนี่ย ถึงชาติตรัสรู้ จะเป็นสิทธัตถะราชกุมาร เป็นพระเวสสันดรแล้วไม่ เออ จะได้ตรัสรู้ในชาติต่อไปเนี้ย ออกจาก อ้า นั่นแหละ พระเวสสันดรนี่ชาติสุดท้ายแล้ว ชาติที่ ๑๐

 

เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว

เนี่ย ๑๐ ชาติ เพิ่นสร้างบารมีอยู่ ๑๐ ชาติที่ใหญ่ที่สุด ชาติไหนๆ เอาชีวิตแลกเอาทีเดียวก็ได้ สร้างบารมี อันนั้นพูดถึงทาน เพราะฉะนั้น

 

ทานัง เทติ

 

ไม่ใช่ของเล่นๆ สร้างให้บารมีสมบูรณ์ที่สุด ใหญ่ที่สุด ได้เป็นจักรพรรดิในโลก อืม ถ้าพูดกันทางโลก แต่บารมีท่านเปี่ยมแล้ว ท่านเกิดเป็นสิทธัตถะราชกุมารแล้ว บารมีเปี่ยมที่สุดแล้ว ไม่ใช่แต่เท่านั้น ออกบวชหนีจากบุตรภรรยา ออกบวชในค่ำคืนนั้น เลยได้แสวงหา โพธิญาณอยู่นั่นก็หลายปีดีดัก

จึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณขึ้นในโลก อ้า เป็นครูของเทวดาเป็นครูของพระอินทร์ พระพรหม เป็นครูพระยมราชก็ได้ ท้าวจตุโลกบาลทั้งหลายก็อยู่ใต้ปกครองของท่าน ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนะ อันนี้พูดเรื่องพรรณ... พรรณนาเรื่องทานเฉยๆ อ้า ให้สิ่งบำเพ็ญอย่างอื่นน่ะ มากมายอีก เออ ทาน ศีล ภาวนาของท่านเต็มสมบูรณ์แล้ว ในชาติสุดท้ายนั่น มาเกิดเป็นสิทธัตถะราชกุมารซะก่อน เรียนแล้วยังว่าจบ จบหมดๆ ทุกอย่าง แหละ จึงได้ออกผนวช

หนีจากนางมัทรีไม่ใช่ นางพิมพา ไอ้ นางมัทรีนั่น ตายจากชาตินั้นมาเป็นนางพิมพา มเหสีของเพิ่น คู่บารมีของเพิ่น บารมีเพิ่นแก่กล้าขนาดนั้น พวกเราจะบำเพ็ญอะไรเลยก็อย่าเอาความตระหนี่ถี่เหนียว มาหวงแหนๆ มาหวงห้ามไว้ อ้า เสียสละเหมือนดังโพธิสัตว์นั้น จึงจะได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน จะได้เป็นพระอรหันต์ ดังสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนดังพระพุทธเจ้าที่บำเพ็ญมาแล้วหลาย ๔ อสงไขยกำไรแสนมหากัป ท่านทำอย่างนั้นของท่านมา เพราะฉะนั้น กิเลสของท่านจึง สามารถชำระกิเลสได้เด็ดขาด ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณขึ้นสอนโลก ในศาสนาของพวกเรานี่แหละ นั่น

ขอให้ทุกคนตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญไปทีละน้อยๆๆๆ ต่อไปมันก็โตขึ้นๆๆ ใหญ่ขึ้นๆ บารมี เออ ศีลบารมี เนกขัมมบารมี เมตตา กรุณา อะไรมีแต่ของใหญ่ๆ ขึ้นมา ใหญ่หมดทุกอย่างแล้วก็อยู่ไม่ได้เหรอ มันสุกงอมแล้วๆ จวนที่จะหล่นอย่างเดียว พระพุทธเจ้าท่านบำเพ็ญมาจนมันหล่น หล่นออกแล้วก็อยู่ในโลกไม่ได้ ออกทรงผนวช ออกภิเนษกรมณ์ ไปเลยเป็นศาสดาเอกในโลก คนพูด พูดรวบรัดเอาแค่ไหน รวบรัดเอาพอได้ใจความ พวกเราคงเคยฟังเวสสันดรมาแล้ว

ดังที่แสดงมาเป็น ปกิณณกนัย เพื่อต้องการให้ทุกคนเข้าอกเข้าใจ การสร้างบารมีในตัวเอง อันนี้กำลังเชิญชวนการทำสร้างบารมีอยู่ อ้า ทอดมหากฐินกันขึ้นอันนี้ก็เป็นวิธีขัดเกลาจิตใจเหมือนกัน เป็นผู้ที่ใจศรัทธาแก่กล้าจึงจะทอดกฐิน ผ้าป่าบังสุกุลอะไรได้

ดังที่แสดงมา ก็ยุติด้วยเวลา เพราะสังขารมันไม่ให้แล้ว มันเหนื่อยแล้ว เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

 

(สาธุ)

 

ปาณาติปาตา เวระมะณี

สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

เว้นจากการฆ่า เบียดเบียนสัตว์อื่น

 

 

ทานัง เทติ

การให้ทาน

 

สีลัง รักขะติ

การรักษาศีล

 

ภาวะนานัง ภาเวตตะวา

การเจริญภาวนา

 

เอกัจโจ สัคคัง คัจฉะติ

บางพวกย่อมไปสวรรค์

 

เอกัจโจ โมกขัง คัจฉะติ

บางพวกย่อมหลุดพ้น

 

นิสสังสะยัง

อย่างไม่ต้องสงสัย

 

โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ

 

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง

การไม่ทำบาปทั้งสิ้น

กุสะลัสสูปะสัมปะทา

การยังกุศลให้ถึงพร้อม

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง

การทำจิตของตนให้ผ่องใส

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง

นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 

ทศชาติชาดก

 

เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว

๑๐ ชาติสุดท้ายก่อนเป็นพระพุทธเจ้า

(เต)พระเตมีย์ผู้ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี

(ช)พระมหาชนก ผู้ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี

(สุ)สุวรรณสาม ผู้บำเพ็ญเมตตาบารมี

(เน)พระเนมิราช ผู้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี

(ม)มโหสถบัณฑิต ผู้ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี

(ภู)พระภูริทัต ผู้ทรงบำเพ็ญศีลบารมี

(จ)พระจันทกุมาร ผู้ทรงบำเพ็ญขันติบารมี

(นา)พระนารทะ ผู้ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี

(วิ)พระวิธูรบัณฑิต ผู้ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี

(เว)พระเวสสันดร ผู้ทรงบำเพ็ญทานบารมี

คาถาบารมี ๓๐ ทัศ

 

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์

ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี

วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี

เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี

บารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี)

บารมีชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี)

บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี)

 

ทานะปาระมี สัมปันโน

ทานะอุปะปาระมี สัมปันโน

ทานะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา

อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล

ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง บารมีคือทาน

ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง การเกิดขึ้นแห่งทานบารมี

ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง บารมีคือทานอันมีประโยชน์อย่างยิ่ง

ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง พระเมตตาบารมี

ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง พระไมตรีบารมี

ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง พระกรุณาบารมี

ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง พระมุทิตาบารมี

ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง พระอุเบกขาบารมี

เวสสันดรชาดก

 

ช้างปัจจัยนาค หรือ ช้างปัจจัยนาเคนทร์

เป็นลูกนางช้างอากาศจารินี (ช้างที่ท่องเที่ยวไปในอากาศ)

นางช้างผู้เป็นมารดา ได้นำลูกช้างเผือกขาวผ่องมาไว้ใน

โรงช้างต้น ของพระเจ้ากรุงสญชัยในวันเดียวกับที่

พระเวสสันดรประสูติ ช้างปัจจัยนาคจึงเป็นช้างคู่บุญบารมี

ช้างปัจจัยนาคกลับชาติมาเป็นพระมหากัสสปเถระ

เป็นประธานในการปฐมสังคายนา

 

สัตสดกมหาทาน

มหาทานอย่างละ ๑๐๐ จำนวน ๗ หมวด

ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ รถ ๑๐๐ โคนม ๑๐๐

หญิงสาว ๑๐๐ ทาส ๑๐๐ ทาสี ๑๐๐

 

ช้างปัจจัยนาเคนทร์กับการขอฝน

การแห่ช้าง แห่ม้า ที่เรียกว่า ช้างปัจจัยนาเคนทร์

เป็นพิธีที่จัดขึ้น เนื่องจากจุดบั้งไฟแล้วฝนก็ยังไม่ตก

แห่นางแมวแล้วฝนก็ยังไม่ตก แต่ก็ไม่ได้จัดบ่อยนัก

 

ฤๅษี [รือ-สี] ฤษี [รึ-สี] นักบวชผู้ชายอยู่ในป่า

ฤษิณี [รึ-สี-นี] นักบวชผู้หญิงอยู่ในป่า

 

ดาบส [ดา-บด] ชายผู้บำเพ็ญตบะ

ดาบสินี [ดา-บด-สิ-นี] หญิงผู้บำเพ็ญตบะ

ตำราคชศาสตร์

 

๑.ตำราคชลักษณ์

กล่าวถึงรูปพรรณสันฐาน ลักษณะที่จะให้คุณและโทษ

๒.ตำราคชกรรม

รวบรวมเวทมนตร์คาถา กระบวนการจับช้าง

รักษาช้างและบำบัดเสนียดจัญไรต่างๆ

 

ลักษณะช้าง(เผือก)

๑. ตาขาว

๒. เพดานขาว

๓. เล็บขาว

๔. ขนขาว

๕. พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่

๖. ขนหางขาว

๗. อัณฑโกสขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่

 

คำว่า “ช้างสำคัญ”

เป็นช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ

 

คำว่า “ช้างสีประหลาด”

เป็นช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง

 

คำว่า “ช้างเนียม”

เป็นช้างมีลักษณะ ๓ ประการ คือ

๑. พื้นหนังดำ ๒. งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย ๓. เล็บดำ

 

อานิสงส์ของการรักษาศีล

 

อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ

สิกขาบท ๕ เหล่านี้

 

สีเลนะ สุคะติง ยันติ

ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงสุคติ

 

สีเลนะ โภคะสัมปะทา

ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์

 

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ

ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้ไปถึงนิพพาน

 

ตัส๎มา สีลัง วิโสธะเย

เพราะฉะนั้น ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษ

 

คำผญา

แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้

แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย

คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด

เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่

(ต้องแก้กิเลส ถ้าแก้ไม่ตกมันจะตามติดตัวไปจนตลอด

จนไม่หลุดพ้นในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ)

๓๕