หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
งานมุทิตาอายุวัฒนมงคล ๖๙ ปี หลวงพ่อสวาท ปัญญาธโร
วันพุธที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๐๐ น.
ณ วัดโป่งจันทร์ ต.คลองพูล
อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ทานัง เทติ สีลัง รักขะติ ภาวะนานัง ภาเวตตะวา
เอกัจโจ สัคคัง คัจฉะติ เอกัจโจ โมกขัง คัจฉะติ นิสสังสะยัง
อิมัสสะ ธัมมะปะริยายัสสะ อัตโถ
สาธายัสมันเตหิ สักกัจจัง ธัมโม โสตัพโพติ
อนุสนธิ (บุพพา)ประ สืบเนื่องมาจากสมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นศาสดาสอนศาสนา ข้าขอความนอบน้อมของพวกเรา จงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นั่งตามสบาย
นั่งๆ ถ้าไปยาว ถ้าพนมมือมันจะเมื่อย ถ้าประนมมือตลอดอย่างงี้ ก็แย่เด้ นั่งตามสบาย เข้าสมาธิฟังเอา มันจึงจะได้ความ เวลาฟังเทศน์ ฟังธรรม ฟังอะไรก็ดี ต้องเข้าสมาธิฟัง มันจึงได้ความ ถ้าเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ เอาใจไปบ้าน ไปหาครอบหาครัวของตัวอยู่ ก็เรียกว่ากังวล ใจก็ไม่เป็นสมาธิฟัง ไม่รู้ว่าท่านพูดอะไรไม่รู้ ไม่รู้เรื่อง เพราะส่งใจไปทางอื่น ให้ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ท่านว่าอย่างงี้ ครูบาอาจารย์เคยสอนมาอย่างนั้น ท่านฟังเทศน์ฟังธรรม บันทึก เพื่อเอาใจเป็นผู้บันทึก ไม่ต้องมีเครื่องอัดเครื่องอะไรหรอก เอาใจอัดเอา ฟังคำบรรยาย ฟังอะไรๆ เอาใจบันทึกเอา กำหนดจดจำนำไปประพฤติปฏิบัติ ถ้าใจไม่สงบแล้วไม่ได้เรื่องอะไรแหละ ฟังเทศน์อะไรๆ ผู้เทศน์เพิ่นก็เอาใจเทศน์ ไม่มีตำรับตำราอะไรหรอก แต่ท่านบันทึกมาแล้ว แล้วก็มาขยายให้ผู้ฟังทั้งหลาย ได้ฟังกันเท่านั้นแหละ ไม่มีอะไร
ทานัง เทติ
ทานัง ฯ
เพิ่นให้ทานก็เอาใจเป็นขึ้นผู้ทำ เป็นผู้เสียสละเป็นผู้บริจาค
สีลัง รักขะติ
หมายถึงการรักษาศีล ก็เอากายวาจาใจเรานั่นแหละรักษา รักษาใจของตัว ให้อยู่กับเนื้อกับตัว อย่าให้ไปที่อื่น
สีลัง รักขะติ ภาวะนานัง ภาเวตตะวา
ข้อนั้น เพิ่นให้ภาวนา ฟัง ฟังด้วยใจเป็นสมาธิฟัง ได้ผลมาก ได้ผลเยอะ รู้เรื่อง เพราะว่าตัวของเรามันเป็น เป็นกองกิเลส เออ ตัวของเรามันเป็นตัวกองกิเลสอยู่นี่ ความโลภก็อยู่ในใจเรานี่แหละ ความโกรธก็อยู่ในใจเรานี้ ความหลงก็อยู่ในใจเรานี้ ถ้าใจยังคว้าเอาอันนั้นมาคิด เอาอันนั้นมาคิดมาอ่านอยู่ ใจก็เลยไม่สงบ ถ้าใจไม่สงบก็ๆ ฟังไม่ได้ความเลย เรามาจำศีลภาวนา เสริมบารมีของครูบาอาจารย์ ผู้เพิ่นมีพระคุณ เสียสละแทนเรามา หนักเอาเบาสู้ทุกอย่าง พัฒนาวัดให้มันเป็นสถานที่อบรมจิตใจ ถ้าไม่มีสถานที่แล้วเราจะทำยังไง ไปอยู่คนเดียว นั่งสมาธิก็นั่งคนเดียว ก่อนจะหลับ ให้ใจรวมซะก่อน ให้ใจรวมเป็น ๑ ซะก่อน จึงค่อยหลับ ฟังด้วยความคิดฟุ้งซ่านออกไปทางอื่น มันก็ไม่กำหนดจดจำอะไรได้ บาปบุญคุณโทษก็ไม่ ไม่รู้จัก พวกเราพากันมาหลายๆ ก็มาบำเพ็ญบารมีก็ว่าได้ มาส่งเสริมบารมีช่วยครูบาอาจารย์ เป็นกำลังใจให้ ขอให้ทำดีก็แล้วกัน ทำคุณงามความดีอยู่เสมอ อันนี้เรียกว่าบริจาคเหมือนกัน บริจาคความนึก ความคิด ความอิจฉา ริษยา พยาบาท อาฆาต จองเวร จองกรรม ผู้อื่นทิ้งซะ ทิ้งซะให้หมดซะก่อน ไม่ได้เอากลับไปบ้านนะ มาวัดก็ทิ้งในวัดนี่แหละ ทิ้งความโลภ ทิ้งความโกรธ ทิ้งความหลง ที่มีอยู่ในหัวใจทิ้งซะ ทิ้งไว้วัดแหละ ให้มันไต่ขึ้นแข้งขึ้นขาของผู้มาวัดเนี่ย ความโลภก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ความรัก ความชัง ความอิจฉา ริษยา พยาบาท เหล่านั้นไม่ใช่ของเรา ของทิ้ง ทิ้งแล้ว เขามาวัดมาวา
ก็มาทิ้งของเหล่านี้ ใครอยู่ที่วัด ถ้าใครไม่สังวรระวังมันก็ไต่ขึ้นขาเนี่ย อืม ขึ้นขากลับไปบ้านก็เอาความโกรธไปใส่กัน เปรี้ยงๆๆๆ กัน อืม ถ้าฟังแล้วก็ต้องปฏิบัติ มันจึงจะได้ความ การปฏิบัตินั่นก็ไม่ใช่อื่นไกล
ทาน ศีล ภาวนา
ทานัง เทติ
เหล่านั้น ถ้าอย่างการบริจาคทานทุกชนิด เรียกว่าการบริจาคแล้ว เราทิ้งที่วัดแล้ว เราไม่เอากลับบ้าน ถ้าเอากลับไปบ้านน่ะมันๆ ไปทะเลาะกัน ไปด่ากัน ไปว่ากัน โกรธกันอีกน่ะ เพิ่นไม่เอาไปใช้ ของเหล่านั้นเพิ่นไม่ให้เอาไปใช้ นั่นสังคมมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เอาความโลภกลับไปบ้าน ไม่เอาความโกรธกลับไปบ้าน ไม่เอาความหลงกลับไปบ้าน กลับไปบ้านก็ให้มีศีลมีธรรมอยู่อย่างนั้น มีเมตตากันน่ะเป็นใหญ่ ไม่ได้เอาไป อ่ะ ไม่ได้เอาคืนไปบ้าน ไปทะเลาะกันหรอก ขั้นทะเลาะเอามาทิ้งที่วัดแล้ว เนี่ยเพิ่นสร้างใหญ่ๆ โตๆ ไว้ให้ เป็นที่เสียสละความโลภ ความโกรธ ความหลงเอามาเสียสละที่นี่ ทิ้งไว้ที่นี่
อย่าเอากลับบ้าน ถ้าเอากลับบ้านน่ะมันไปทะเลาะกัน ไปถกเถียงกัน ด่าว่ากัน
กินอย่าสมอยาก ปากไม่สมเคียด(โกรธ) สมโกรธ
ไวปากเสียศีล ไวตีนตกต้นไม้
เพิ่นว่า อืม อย่าเป็นคนเอาไปใช้ในทางโลก เราอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นพวก เป็นฝูงได้ ไม่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้น เพราะเราระงับไว้แล้ว เรามาระงับ มาเสียสละ เสียสละความโลภ นี่แหละเรียกมาทำ ทำทาน บริจาคทานได้ ความโกรธ ความโลภโกรธ ความโกรธไม่ได้เอามาใช้ในบ้านหรอก ไม่เอาไปใช้ โกรธขนาดไหนก็อดไว้ก่อน อย่าเพิ่งให้มันออกมาทางวาจา มันเป็นเสียงไม่ไพเราะ อืม เอิ้น(เรียก)หาห่า หาผี เพิ่นล่ะมาแล้ว ห่ากินหัวมึงเอย ผีกินหัวมึงเอย ด่ากันแหลกลาญ อันนั้นก็เป็นเหตุให้แตกร้าว ไม่ให้อยู่ด้วยกับ ด้วยกัน ด้วยความสงบ ไม่ให้มี ไม่ให้มีเรื่องอย่างนั้นเกิดขึ้นในตัวเรา เรามาวัดแล้ว เรามาทิ้งแล้ว เรามาเสียสละแล้ว เพิ่นยังว่า
ทานัง เทติ
ขึ้นมา ข้อต้นน่ะ การเสียสละเรียกว่าให้ทาน ทานไปซะ อย่าให้มันมาเป็นเจ้าหัวใจ เป็นผู้บงการของใจเรา ถ้าไม่ตามความโลภของตัวเอง ความโกรธของตัวเอง ความหลงของตัวเอง มันก็หลงไปอยู่เรื่อยๆ ไม่รู้จักทางบริสุทธิ์ ทางที่พอทำให้กายวาจาใจเราบริสุทธิ์ ก็มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ ไม่ให้มันพลัด เพลี่ยงออกมาทางปาก ทาง ทางวาจา ถ้ามันเพลี่ยงออกมาทางหู ทางตา ตาเขียวใส่กัน ถ้าเอามาใช้แล้ว มันเป็นยังไง เอาของเหล่านั้นมาใช้เป็นยังไง แม้แต่หมากับแมวอยู่ด้วยกัน เขาก็ไม่กัดกันแล้ว เขาจำศีลหรือเปล่า เขาภาวนาหรือเปล่า ว่าสุนัขทั้งหลาย หมาแมวทั้งหลาย ถ้าเอาของความโกรธมาใช้แล้ว วุ่นวายเดือดร้อน ของใช้ไม้สอยอยู่ในบ้านเนี่ย แตกทั้งแหลกบ้านไป เพราะมันมีความโกรธ ความอดกลั้นทนทานนั้น เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ความโกรธ ถ้าเราถ้าเราชนะความโกรธได้ ก็เรียกว่ามีเครื่องประดับของหัวใจของนักปราชญ์ไว้ได้ ไม่มีเรื่องที่จะให้แตกร้าวกันไม่มี ดุด่าว่าแช่งกันเหล่านั้น ไม่ใช่ของเอามาใช้ เราอยู่ในสังคมมนุษย์ ก็เอาธรรมของมนุษย์มาใช้ มีตั้งแต่ดีๆ ทั้งนั้น อ่ะฮึ อ้าเข้าใจว่า ห่าก็ดี ผีก็ดี ผีกินตับ กินไต กินไส้ กินพุงมันหมดหรอก อืม เพราะฉะนั้น ลูกจึงสอนยาก เพราะว่าผีกินไปหมดแล้ว หึ อืม ผีอีแม่กิน ผีอีพ่อกิน ด่าลูกด่าเต้าเอาของเสียๆ หายๆ ผีต้มตับ ต้มไต ต้มไส้ ต้มพุง ป้อย(ด่า)ด่า ป้อย(ด่า)แช่ง สำแดงแบง(รัด)เวรซึ่งกันและกัน มันก็ออกมาเหมือนกันล่ะ มันออกมาอยู่ในครอบครัวใด ครอบครัวนั้นก็ไม่เป็นสุข ไม่มีความสุข เพิ่นก็บอกว่า
นัตถิ สันติปะรัง สุขัง
ความอดกลั้นทนทานนั้นนำความสุขมาให้ มาให้ตัวของเรา ถ้าเราไม่อด ไม่กลั้นน่ะ มันก็ออกไป ด่าคนนู้น ด่าคนนี้ ว่าให้คนนู้น ว่าให้คนนี้ ว่าไปเรื่อยๆ เลย ว่าให้สาใจ อืม อืม ถ้ายิ่งห่มผ้าเหลืองหัวโล้น ไปแสดงอาการอย่างนั้น มันเป็นยังไงญาติโยมทั้งหลายเขาจะเลื่อมใสไหม เขาจะศรัทธาไหม ถ้าพระพาเณรทำประพฤติปฏิบัติ
ชั่วช้าเลวทรามออกมาทางวาจา เข้าใจว่า ผีอยู่ที่ไหนก็เรียกผีมากิน ผีต้มตับ ต้มไต ต้มไส้ ต้มพุง ว่าให้สาอกสาใจ มันเป็นอย่างงั้นจริงหรือเปล่า ไม่มี มีแต่คำพูดของคนต่างหาก พูดออกมา ถ้าโกรธไม่มีความอด มันก็ออกมาทางวาจา ทางปาก ทางเสียง เป็นเสียงที่ไม่เข้าหูคนน่ะ อืม ถ้าเอาความโกรธมาใช้ในสังคม สังคมจะสงบได้ยังไง ก่อความทะเลาะวิวาทบาดถลุงกันขึ้นมา มีอาฆาต จองเวร จองกรรมกันขึ้นมา เพราะว่าไม่มีปัญญา ผีกินไปหมดแล้ว ต้มตับ ต้มไต ต้มไส้ ต้มพุง มันหมดแล้ว ไม่มีปัญญา ไปเรียนหนังสือก็เรียนยากเพราะว่าผีกินไปหมดแล้ว อีพ่อ อีแม่ ผู้เป็นพ่อก็ดี ผู้เป็นแม่ก็ดี ควรอย่าให้มันทะลักออกมาทางวาจา ลูกเล็กเด็กแดงเหล่านั้น มันได้ยินพ่อเถียงกัน แม่ว่าให้กัน ด่ากัน ป้อย(ด่า)กัน เหล่านั้น เขาก็จำเอาคำที่ไม่ดีๆ คำไม่มีดีล่ะ เอาไปใช้ในสังคม ก็เลยเป็นคนเรียบร้อยไม่ได้เลย
เอาเอิ้น(เรียก)จะหาแต่ผีมา มาเอา อ่ะเอ้า กินกันอยู่เรื่อย ต้มตับ ต้มไต ต้มไส้ ต้มพุง ก็เอาไปหมดทุกอย่างอ่ะ อะไรที่จะเจ็บๆ แสบ งัดออกมา มาพูดกัน เอามาทำไม พระพุทธเจ้าองค์ไหน เพิ่นสอนอย่างนี้ มีไหม ไม่มี ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพิ่นเอามาใช้หรือเปล่า อืม ไม่เอามาใช้ คำหยาบๆ คายๆ เหล่านั้น เอาออกมาใช้ งัดออกมาใช้ ลูกมันก็จำเอาปะเนี่ย พ่อแม่ด่าอย่างนี้ พ่อ แม่ว่าอย่างนี้ ต้มตับ ต้มไต ต้มไส้ ต้มพุง งัดออกมาหมดทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ลูกของเราจึงว่ายากสอนยาก เพราะว่าผีกินหมดไปแล้ว ผีต้มตับ ต้มไต ต้มไส้ ต้มพุง ของดีๆ อยู่ในร่างกายเรามัน ถูกห่า ถูกผีเอาไปกินหมด นี่ระวังในวาจา ให้มันเป็น
สุภาสิตา
สุภาสิตา จะ ยา วาจา
เพิ่นว่ามงคลมีอยู่ในตัว
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
เพิ่นว่าเป็นมงคลชีวิต ความเสียๆ หายๆ ไม่เอามาพูด ถ้าพูดไปแล้วลูกหลานมันจะจำเอา อืม แม่ดันด่าให้เขาฟัง พ่อดันด่าให้เขาฟัง เขาก็กำหนดจดจำเอาของชั่วๆ แล้วไปใช้ต่อไป จะเป็นคนดีได้ยังไงเฮอะ ผีกินหมดแล้ว ผีกินตับ กินไตมันแล้ว มันหมดแล้ว ต้มไส้ ต้มพุงมันแล้ว ของไม่ดีอย่าเอามาพูดให้ลูกหลาน เห็นเราเป็นตัวอย่าง มีแต่หล่า(คำไพเราะ)แต่คำ(คำแพง ที่รัก)ทั้งนั้น หล่า(คำไพเราะ)เอย คำ(คำแพง ที่รัก)เอย ช่างมันดื้อกะด้อกะเดี้ย (มากเกินไป) แต่เว่า(พูด)แต่ของดีๆ ออกมาพูด มีแต่หาแต่คำงามๆ เอย คำ(คำแพง ที่รัก)เอย ช่างมันเถอะ กะดอกะเดี้ย(มากเกินไป)แต่เว่า(พูด)แต่ของดีๆ มาพูด ลูกหลานมันจะจำได้ ดุด่าว่ากันอย่างงั้นอย่างนี้ โคตรพ่อโคตรแม่ไปถึงโคตร ไม่ได้ว่าแต่เขาเฉยๆ โคตรพ่อโคตรแม่แหลกลาญไปตามๆ กันนะ อืม เพราะว่าเรียกให้ผีมากิน ให้ห่ามากิน ห่ากินหัวมึงเอย ผีกินหัวมึงเอย ต้มตับ ต้มไต ต้มไส้ ต้มพุง ด่ากันอย่างเสียๆ หายๆ มันก็ไม่เห็นมีหรอก ไม่เห็นมี ผี เราก็ไม่เคยเห็นสักที ตั้งแต่เกิดขึ้นมา ไม่เห็น ตั้งแต่น้อยๆ ได้ยินอยู่ ได้ยินแม่ด่า ได้ยินพี่สาวด่า พี่ชายด่าเสียๆ หายๆ คำอย่างงั้น ไม่น่าจะพูดออกมา ให้คนอื่นได้ยิน เป็นอัปมงคลแก่ตัวเองด้วย แก่พูดได้ยินได้ฟังด้วย ฟังๆ แล้วมันก็จดจำเอาน่ะ อะไรเสียๆ หายๆ เพราะฉะนั้น สังวร สังๆ สังวรระวังปาก อย่าให้มันกระทบกระเทือนผู้อื่นเขา เดี๋ยวผู้อื่นเขาจะจดจำ นำไปเป็นข้อปฏิบัติของเขาเอง หึ อืม ไม่ก็ไม่มีความดีในตัวเรา ความที่พูดเสียๆ หายๆ ที่พ่อด่าแม่ให้เราได้ยิน ที่แม่ด่าพ่อให้เราได้ยินเหล่านั้นอย่าเอา อย่างนั้นอย่าเอา อย่าเอามาใช้ เขาเลิกใช้กันแล้ว ผู้เข้าวัดเข้าวาจำศีลภาวนาแล้ว ไม่เอามาใช้ของอย่างนั้น ไม่เอามาใช้ให้สังคมเขาได้ยิน ได้ฟัง ให้มีแต่คำไพเราะเสนาะโสต เย็นตาเย็นใจด้วย เย็นหูด้วย ไม่มีคำอัป... อัปยศอดสูอะไรออกมา ที่เสียๆ หายๆ อย่าให้มันออกมา อืม ขอฝากไว้ด้วยของเหล่านี้ ไม่ให้ใช้ ไม่ให้เอามาใช้ ผู้ที่จำศีลภาวนาเข้าวัดเข้าวา ก็ไม่ควรเอามาใช้เลย อืม มันมีแม่ขาว มีแม่ชี บวชเข้ามาแล้ว พากันบวชมาแล้วจะมาละของเหล่านี้ ยังเอาของเหล่านี้ ไปใช้อยู่ ปล่อยบรรดาผีกันเหล่านี้ ยังเอาไปใช้อยู่ เราบวชเป็นชี แล้วปะเนี่ยบวชเป็นพระ เป็นเณรแล้วก็ดี บวชแล้วไม่เอาของเหล่านั้นมาใช้ เกิดประโยชน์อะไรล่ะ ไม่มีประโยชน์ มีตั้งแต่โทษ ตัวเองพูดไปแล้วก็ เสียคำพูดของเราเอง เราก็เล่าเรียนศึกษาเอา แนวมันดูๆ ร้ายๆ อย่าเอามาใช้ อืม คำว่ากู ว่ามึง อย่างนี้ อืม ว่าไม่ได้เลย มีแต่เจ้า มีแต่ข้อย ลูกเอย หลานเอย แม่จะสอนเด้อ เอาแต่คำสอนที่ได้ฟังมาแล้วทั้งหลายก็ได้ สอนลูกสอนหลานก็ดี อย่าให้มีคำดุด่าว่าประจานอะไรกันเลย ให้มีแต่คำเรียบร้อย มันเป็นนิ(สัย) จรรยาบรรณอันหนึ่งเหมือนกัน ถ้าพยายามกรองแล้วจึงพูด จึงพูดออกมา เออ ถ้าเราว่าไปอย่างงี้ๆ เด็กๆ มันฟังแล้วมันจะจำเอา อืม คำไม่ดี คำไม่งาม คำไหนแสลงหู แสลงใจเขาแล้วก็อย่าว่า อย่าเอามาว่า เดี๋ยวเด็กๆ มันจะจดจำนำไปประพฤติตนในทางไม่ดีไม่งาม อืม อดเอา ทนเอา อดเอา ทนเอา เพิ่นว่า
มีผัวให้ซ่างย้อง(ยกย่อง)
มีน้องให้(ซ่างย้อง)ซ่างออย(ปลอบ) เด้อ
(มีผัวให้รู้จักยกยอ มีน้องให้รู้จักดูแล)
ยามเมื่อผัวเคียดให้เป็นฮูปโมโห เมื่อนั้น ให้เจ้าหาวาจา
อ่อนโยน กล ล่อ อย่าสะหวนหาข้อ ผิดกันซ้ำตื่ม
(เวลาเมื่อสามีไม่พอใจ โมโห มานั้น ให้หาคำพูดวาจาอัน
อ่อนโยน มีอุบายการปลอบโยน อย่าหาข้อผิดกันซ้ำเติม)
ท่านดุด่า พอแช่งกันแล้วมันแสลงหูผู้ฟัง แสลง แสลงตาผู้ได้เห็นกิริยามารยาทอย่างนี้ ไม่เข้าเอาไปใช้ในสังคม ไม่ให้มีกระทบกระเทือนกัน เสียงดุๆ ร้ายๆ เหล่านั้นควรระงับซะ อืม เพิ่นว่า ไวปากมันเสียศีล ไวตีนตกต้นไม้ บ่ได้มันบ่ดี ความไม่ดีไม่งาม อย่าได้เอามาเว่า(พูด) ไอ้เด็ก เด็กน้อยมันเอาเป็นตัวอย่าง
อืม เขากำลังศึกษาอยู่ ศึกษาคุณงามความดีอยู่ ไปโรงเรียนครูก็สอนแต่คำดีๆ ให้จำมาคำดีๆ นั่นแหละไปพูด พูดเป็นคำดีๆ เป็นมงคลแก่ชีวิตของตัวเอง ไม่เป็นอัปมงคล ถ้าลงได้ด่ากันแล้ว ก็อัปมงคลเกิดขึ้น ไม่เป็นมงคลหู ไม่เป็นมงคลหัวใจ มีแต่ความเศร้าสลดใจอยู่อย่างงั้นแหละ ถ้าจะเถียงในเวลานั้น เขาก็ เขาก็หาว่าพ่อแม่ไม่รัก รัก ไม่รักลูกกับรักหลาน ดุด่าว่าประจานต่างๆ นานา เหล่านั้น เป็นของเสียหาย กิริยามารยาท
สีลัง รักขะติ
ที่ได้ยกภาษิตขึ้นมา อืม
กัมมัง วิชชา จะ ธัมโม จะ สีลัง ชีวิตะมุตตะมัง
อิมัสสะ ธัมมะปะริยายัสสะ ฯ
นั่นเป็นคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้ ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าด่าลูกศิษย์เสียๆ หายๆ ไม่ๆ ไม่มี ไม่มีประวัติ ประวัติที่ด่าลูกศิษย์ลูกหาหยาบๆ คายๆ แม้ตั้งแต่สังคม บวชเข้ามาแล้ว เป็นสัง... สังคมชั้นสูง ชั้นสูงมากๆ เลย คำดุด่าว่าประจานกันและกันน่ะ ไม่เอา ไม่เอาทั้งนั้นแหละไม่ให้มี มีแต่คำไพเราะเสนาะโสต
ฟังแล้วชื่นใจ เอาคำอย่างนั้นมาใช้ มาป้อนให้ลูกให้หลานได้ยินได้ฟัง อืม แม้แต่ปู่ย่าตาทวดเรา เพิ่นก็สอนเราเหมือนกัน สอนให้ลูกหลานเป็นคนดี อย่าด่ากัน อย่าว่ากัน อย่าป้อย(ด่า)กัน อย่าแช่งชักหักกระดูกกัน มันไม่เป็นไปตามคำพูดหรอก มันเป็นอัปมงคลแก่ตัวเอง ถ้าพูดหยาบๆ คายๆ กูๆ มึงๆ อีขี้ข้า กับขี้ข้อยอะไรๆ ดุด่าว่ากัน ต่ำๆ เสียๆ อืม เพราะฉะนั้น คุณงามความดีของลูกก็จะหายไป เพราะไปแสดงออกถึงความเสียหาย ให้เขาได้รู้ได้เห็น เขากำหนดจดจำเอา เอาของไม่ดีไปพูดในสังคมมนุษย์ มันจะดียังไงอ่ะ ไม่มีดี เป็นคำอัปมงคล ไม่เป็นมงคลแก่หูผู้ฟังด้วย กิริยาท่าทางถ้าไปแสดงตามมัน เหล่านั้นก็เป็นการขายหน้าตัวเอง อืม ครูบาอาจารย์เคยสอน คำว่ากู ว่ามึง เป็นคำหยาบสำหรับสังคมมนุษย์ กู มึง อืม คำไหนแข็งๆ เราไม่เอามาใช้ในสังคมมนุษย์หรอก เอาแต่คำไพเราะๆ ออกมา คำพูดไม่ได้ซื้อ มันล่ะ มันหลั่งออกมาเองมัน โดยอัตโนมัติ ถ้าผิดหูมา มันออกเสียงมาไม่ดี ผู้ฟังเป็นเสียงได้ดีแล้ว ออกมาเป็นเสียงไม่น่าฟังแล้ว ไม่ ไม่เป็นมงคลแก่ตัวเอง วัฒนธรรมไทยเพิ่นก็บอกอยู่แล้ว คำว่ากูกับมึง เพิ่นก็ไม่ให้ว่าซะด้วย อืม
มีแต่ข้อยและเจ้า จนเฒ่าชั่วชีวัง อ่ะน่ะ จนเฒ่าชั่วชีวัง บ่ให้มีคำเค็มใส่กัน ความอดกลั้นทนทานนั้นเป็นตบะ สอนใจตัวเอง ให้ใจมันอยู่ในขอบข่ายของศีลธรรม อย่าให้มันนอกคอกนอก นอกลู่นอกทางออกไป ถ้าโกรธมามักจะด่ากันว่ากัน ให้สาอกสาใจ มันดีที่ตรงไหนนั่นล่ะว่ากัน ห่ากินมึงเอย ผีกินหัวมึงเอย ต้มตับ ต้มไต ต้มไส้ ต้มพุง ต้มเครื่องใน เพิ่นก็เอาออกมาให้มาเจ็บๆ แล้วเขาก็กำหนดจดๆๆ จดจำคำที่พ่อด่าแม่ด่าน่ะ ไปใช้ในสังคมอีก ไม่ให้มี อืม
ผัวเมียนี้กูมึง อย่าได้ว่า
(ผัวเมียไม่พูดหยาบคายกัน แม้เกลียดโกรธโมโห
ให้อดทน ให้อายลูกและชาวบ้าน)
มีแต่ข้อยและเจ้า จนเฒ่าชั่วชีวัง
(ผัวเมียให้เรียกกันว่า ข้อย-เจ้า พี่-น้อง พ่อ-แม่
ไปจนตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างแก่ลูกและชาวบ้าน)
มีแต่คำม่วน(สนุก ไพเราะ)ๆ ไพเราะทั้งนั้น ลูกหลานก็กำหนดจดจำเอาไว้ได้
มันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงเดินทางตลอดวัน เห็นอะไรๆ ก็บันทึกเอา อะไรดีๆ ก็บันทึกเอา เอาหัวใจบันทึกเอา โอ้ อันนี้ดีเว้ย น่ารักน่าเอ็นดูเว้ย พูดรู้จักขา รู้จักค่ะ รู้จักครับ รู้จักกระผม อะไรๆ ให้มันสวยๆ เอาไว้ คำเสียๆ หายๆ อย่าเอามาใช้ พ่อแม่ไม่ได้สอนอย่างนั้นหรอก สอนให้ใช้มธุรสอ่อนหวาน พูดกับแขกก็ดี พูดกับคนก็ดี พูดกับคนแปลกหน้าแปลกตาก็ดี อืม ใช้แต่คำวันหวานๆ อืม เคารพนบนอบกันด้วยใจจริง ด้วยใจจริงไม่ได้แกล้งทำ ให้มันเป็นนิสัย นิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาวาทีก็ให้ให้อ่อน ให้หวาน เป็นคำที่ไม่หยาบคายหู เป็นมงคลแก่หูผู้ฟังด้วย
สุภาสิตา จะ ยา วาจา
ถ้าเอาเป็นสุภาษิตออกมา ให้กำหนดจดจำไว้ในใจเขา คำไหนไพเราะเสนาะโสต พูดคำนั้น คำไหนไม่ไพเราะเสนาะโสต อย่ามาพูด เขาจะจำเอาไปใช้ในเวลาเขาโมโห เขาโมโหขึ้นมาแล้วมันออกมาเสียงไม่ไพเราะอ่ะ อืม เอ้ กูมึงไม่ให้ว่ากันนะ ว่ากับพ่อกับแม่ ก็ไม่มีกูมีมึง อืม โบราณเขาจะสอนกันอยู่
มีแต่ข้อยและเจ้า จนเฒ่าชั่วชีวัง เด้อ
(ผัวเมียให้เรียกกันว่า ข้อย-เจ้า พี่-น้อง พ่อ-แม่
ไปจนตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างแก่ลูกและชาวบ้าน)
อย่าดุด่าป้อย(ด่า)แช่งกัน วาจาเป็นมงคลก็มี วาจาที่ไม่เป็นมงคล เป็นอัปมงคลก็มี ไม่เป็น ไม่มีมงคลแก่ตัวเองด้วย แก่ผู้ฟังด้วย ผู้ฟังได้ยินคำหยาบๆ ขึ้นมาแล้วเป็นยังไง แสลงหู แสลงใจ อ๋อ คำนี้ไม่น่าพูด พูดคำหยาบ มันก็เป็นอัปมงคลเหมือนกัน ศีลธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอยู่ ถ้าเอาคำหยาบๆ มาพูดอยู่ จะเป็นยังไง เป็นแม่ขาวแม่ชีไปแล้วก็ดี จำศีลภาวนาอะไรอยู่ คำหยาบๆ คายๆ เหล่านั้นอย่าเอาออกมาใช้ในสังคมมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดานะ มนุษย์มีศีลมีธรรมจริงๆ มีศีลมีธรรมมีคำมธุรส อ่อนหวาน ไม่ได้เสียสตางค์อะไรหรอก ถ้าต้องการหวานอ้อยหวานตาล ก็เสียสตางค์อยู่ อยากกินหวานๆ ก็ไปซื้อน้ำอ้อย น้ำตาลมา อืม ได้ซื้ออยู่ อันคำพูดของเราที่พูดออกมาทุกวันๆ น่ะ อย่าให้มันหยาบคาย หยาบโลนจนกระทบกระเทือนถึงหูนักปราชญ์บัณฑิตท่าน ไม่ได้ยินเสียงอย่างงี้อีกต่อไป การถกเถียงซึ่งกันและกัน จะเอาๆ ให้มันชนะ เอาเสียงออกมาด่าว่ากันต่างๆ นานา อะไรจะเจ็บใจแล้วก็ด่ากันให้แหลกลาญ เหล่านี้เป็นวาจาที่สังวรระวัง ไม่ควรเอามาพูด คำด่ากัน อืม เราไปอยู่กับครูบาอาจารย์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คบค้าสมาคมกับครูบาอาจารย์ ผู้มีความรู้ มีวิชา ไม่เคยได้ยินเสียงท่านด่าลูกศิษย์ลูกหาหยาบๆ คายๆ ไม่เคยมี อืม คำกู คำมึง คำว่า กู มึง คำอย่างนี้เป็นคำหยาบ ได้ไหม เป็นคำหยาบ เป็นคำที่แสลงหูผู้ฟัง ผู้ได้ยินได้ฟังต่อไป เป็นการศึกษาอยู่ในตัว ก็ไปใช้ในสังคมอีก เวลาโมโหโกรธามาแล้วอ่ะ ออกมาแล้ว มันออกมา คำพูดบ่ได้ บ่ได้เรียน ไม่มีสถาบันไหนสอนกันหรอก สอนกันกูๆ มึงๆ อีขี้ข้า บักขี้ข้อยเหล่านั้นน่ะ ด่าอย่างนั้นน่ะ เพิ่นๆ ไม่เอามาใช้กัน ครูบาอาจารย์ไม่เอามาใช้กันเลยอย่างนั้น เป็นคำมธุรสอ่อนหวานที่สุดล่ะ อืม
เพิ่นยังว่า ลมปากหวานหูไม่รู้หาย เพิ่นว่า ลมปากน่ะหวานหูไม่รู้หาย ได้ บ่เห็นหน้ากัน คิดถึงคำพูดคำจามาหรอก มีมธุรสอยู่ในตัว เป็นคำพูดคำจาที่ไม่แข็งกระด้าง ไม่ด่าว่าประจานกันเสียๆ หายๆ อืม ถ้าเป็นครูคนไปแล้ว เป็นอาจารย์คนอื่นไปแล้ว ยังเอาคำหยาบๆ คายๆ ออกมาด่าลูกศิษย์ลูกหา ไม่เป็นมงคลอีกแหละ อีกแหละไม่เป็นมงคลเลย เสียหาย หลาย แสน ไม่ได้เสียหายได้น้อยๆ เสียหายหลายแสน ถ้ามาบวชเข้ามาแล้วก็ยังเอาคำหยาบๆ มาใช้กับหมู่กับพวก
กับลูกศิษย์ลูกหาเป็นคำหยาบๆ ลูกศิษย์ลูกหามันก็บันทึกเอาแหละ บันทึกเอาเอาใจบันทึกเอา จำเอา จำคำหยาบๆ คายๆ ได้มา อันนี้ก็เพิ่นให้สังวรระวัง อย่าให้มันเปรี้ยงออกไป ในทางที่ไม่ไพเราะเสนาะโสต อืม อันอ้อยตาลหวานลิ้นก็สิ้นซาก อืม กินน้ำอ้อยน้ำตาลหวานที่ลิ้น ใครกินลงไปแล้วก็สิ้นซาก ไม่มีแล้ว แต่ว่าลมปากน่ะหวานหูไม่รู้หาย คำพูดคำจาที่หวานๆ ไพเราะเพราะพริ้งนั่นน่ะเอามาใช้ ไม่ได้เสียเงินหรอก อืม ถ้าลง ถ้าโกรธมากๆ มันออกไปถึงโคตรพ่อโคตรแม่มันนะ ด่าถึงโคตรพ่อโคตรแม่มันล่ะ ด่า ไปหมดแล้ว อืม อย่าเอามาใช้คำพูดอย่างนั้น ไม่เป็นมงคลแก่ปากตัวเองด้วย แก่หูผู้ฟังด้วย ไม่เป็นมงคลเลย เอาแต่คำดีๆ มาพูด ถ้าพูดหนักๆ เข้ามันผิดโสตศีลธรรมนะ ศีลธรรมเพิ่นสอนมา คำสั่งคำสอนบ่อึด(มีเยอะ)บ่อยาก(ไม่ต้องการอีก) อยู่ในตำรา ตำราในไหนเพิ่นสอน เพิ่น ตรวจตราดูแล้วมันจึงตีพิมพ์ออกมา คำพูดคำนี้ไม่น่าจะพูดในสังคม ไม่ให้ผู้อื่นได้ยินคำพูดอย่างนี้จากปากเรา เขาด่าตอบมาไม่ใช่ธรรมดานะ อ้า ถ้าเราพูดไม่ดีเขาก็ ไอ้ปากหมา หึหึ อืม อีปากหมา พูดไม่ดีออกมา ดุด่า พอแช่งกันเหล่านี้ มันเป็น ไม่ใช่ปากมนุษย์น่ะ เป็นปากหมากันไป ไม่ดี เพราะฉะนั้น เราต้องสังวรระวังไว้ อย่าให้มันเสียหาย คำพูดไม่ได้ซื้อ ไม่ได้หาหรอก อืม เย็นใจ เย็นตา เย็นหู ผู้ได้ยินได้ฟัง กิริยามารยาทอะไรก็เหมือนกัน ถ้าไปแสดงความโกรธให้เขาเห็น พร้อมกับออกเสียงออกมา ก็เป็นเสียงอีกเสียงหนึ่ง ถ้ามันโกรธจัดๆ น่ะมันเป็นเสียงหนึ่ง มันไม่ ไม่ใช่เสียงไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มี ไม่มีดีสักอย่างเลย ถ้าโกรธขึ้นแล้ว เอาความโกรธออกขึ้น เป็นผู้ตัดสินความ ว่ากันด้วยความโกรธ ความเกลียดกันน่ะ เป็นคำหยาบในสังคม
เป็นอัปมงคลในสังคม อย่าเอามาใช้กัน สิ่งใดที่เป็นมงคลเป็นบุญเป็นกุศลนั้นเอาอันนั้นมาใช้ อืม อันภาษิตที่ยกขึ้น
ทานัง เทติ สีลัง รักขะติ ภาวะนานัง ภาเวตตะวา
เอกัจโจ สัคคัง คัจฉะติ เอกัจโจ โมกขัง คัจฉะติ นิสสังสะยัง
เพิ่นบรรจุ ให้บรรจุของดีๆ เข้ามาไว้ ทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี เอาได้ของดีๆ ไปใคร่ครวญ ไปขบคิดพินิจพิจารณาด้วยปัญญาของตัวเอง โอ้ อันนี้ไม่น่าพูด โอ้ อันนี้ไม่ทำท่าทำกิริยาท่าทางแบบนี้ไม่เข้าท่า ไม่สวย ไม่งาม ต้อง... ต้องการอยากให้ลูกหลานมีกิริยามารยาทดีเรียบร้อย ก็ส่งให้เข้าไปศึกษาเล่าเรียนในสถาบันต่างๆ จนถึงมหาวิทยาลัยพู้น(โน้น)แหละ ให้เอาคำพูดคำจาดีๆ ออกมาพูดในสังคม กิริยามารยาทดีๆ เอามาใช้ในสังคม เห็นผู้เฒ่าผู้แก่ เพิ่นยกมือไหว้กัน ผู้มีคุณธรรมสูงก็สมควรรับไหว้เอา พิธีทางพระเจ้าพระสงฆ์ก็เหมือนกัน ถ้าเห็นกันแล้วก็เคารพนบไหว้กัน อ่อน กายอ่อน ใจอ่อน วาจาก็น้อม ถวายความเคารพผู้มีอายุสูงกว่า เราก็ควรกราบควรไหว้ท่านผู้นั้น ท่านผู้นั้นก็เก้อเขินไป เห็นลูกหลานมากราบก็ มีแต่น้ำหูน้ำตาออกเฉยๆ อืม ลูกหลานมากราบมาไหว้ทำยังไง ยกมือรับออกไหม เพิ่นไปพูดคำเสียๆ หายๆ ให้เขาได้ยินได้ฟังหรือเปล่า ครูบาอาจารย์ ไม่ได้ยิน คำที่เป็นอัปมงคล อย่าเอามาใช้ ไม่ ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นกุศลแก่ตัวเอง เป็นคำอัปยศอดสู เป็นคำที่แสลงหู ท่านผู้ฟังได้ยินและหนาวขึ้นมาในใจ อืม ทำไมพูดได้อย่างงั้น พูดกับผู้เฒ่าผู้แก่ทำไมไปพูดหยามหยาบคายขนาดนั้น ครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่มา ก็มาสมาคมกัน มีตั้งแต่ผู้มีศีลธรรมทั้งนั้น สิ่งใดที่เป็นโทษ เพิ่นก็ไม่เอามาพูดกันหรอก มีเคารพนบไหว้กันธรรมดา จรรยาบรรณ ทางโลกเขานิยมกันอย่างงั้น ตัวของเราประพฤติปฏิบัติ ก็ให้อยู่มีรสนิยมสูงหน่อย ให้มันสูงๆ หน่อย จรรยาบรรณ ความเคารพนบนอบ กราบไหว้วันทา
อันนี้มันไม่ใช่ว่าเล่นๆ นะ มาในผูกในมัดจริงๆ คำสั่งคำสอนอยู่ในตู้พระไตรปิฎก ไปค้นหาแล้วมันไม่มีคำหยาบๆ คายๆ อะไรเลย เป็นคำ เป็นมงคลแก่ตัวเอง เป็นบุญด้วย เป็นกุศลด้วย เรียกว่าเอาความฉลาดมาใช้ กุศลนั้นแปลว่าฉลาด เป็นคนฉลาดพูด จรรยาบรรณก็เหมือนกัน การกราบการไหว้กันน่ะมัน มันเป็นจรรยาบรรณที่ดีที่งาม เพิ่นเอามาใช้กัน ในทางวัดทางวา ในทางศาสนา อาจจะทุกศาสนาซะด้วย คำหยาบๆ คายๆ เขาไม่เอามาใช้กันหรอก
เอาแต่มธุรสอ่อนหวานใช้กัน ไม่ได้เสียเงิน ไม่ได้เสียเงินเสียทองหรอก พูดดีๆ ให้ไพเราะเสนาะโสต อันนี้เป็นมงคล เป็นตัวอย่างของลูกอีกด้วย ผู้เป็นพระ เป็นครูบาอาจารย์มาแล้วก็มี ด่าลูกศิษย์ลูกหาแหลกลาญไปก็มี ท่านโมโหจึงค่อยด่าออกมาแบบนั้น
เราจะเอาความโมโหนั่นหรือ เป็นครูเป็นอาจารย์เราต่อไป
เอ้า คำที่เป็นมธุรสเอามาใช้ ไม่ ไม่ได้เสียเงินหรอก งาม มารยาทงาม กิริยามารยาท การกราบการไหว้กัน เนี่ยมันเป็นกิริยาของอริยเจ้า ของอริยชนทั้งหลายด้วย ถ้าหากมีในหมู่ใด ความสุขย่อมมีในหมู่นั้น ความสามัคคีก็เหมือนกัน ความสามัคคีมีในหมู่ใด ความสุขย่อมมีในหมู่นั้น พัฒนาบ้านเมืองก็เอาจรรยาบรรณที่น่าดูน่าชม เอาไป ผู้ใดศึกษาสูง ก็ใช้กิริยามารยาทหยาบๆ คายๆ หยาบๆ โล้นๆ ออกมา มันจะเป็นยังไง สังคมเขาจะว่ายังไง เขาก็บุ้ยปากใส่หา บุ้ยปากใส่แล้วเอย ทำไมพูดได้อย่างงั้น ไม่มีในสังคมอันสูงสุด ในสภา เรียกว่ารัฐสภา ไปด่ากันอยู่ในรัฐสภาอย่างนี้ก็ เป็นของขยะแขยง เสียความรู้สึก ได้ยินได้ฟังแล้วเสียความรู้สึก
ก็ดีผู้ได้รับการศึกษามาแล้วทั้งหลาย ประพฤติตนอยู่ในขอบข่ายของศีลธรรม ไม่เอานอกลู่นอกทางมาใช้เลย เอาจรรยามารยาทเรียบร้อยมาใช้ในสังคม ผู้น้อยเห็นผู้ใหญ่ก็ยกมือไหว้ก่อน ถ้าไหว้แล้วก็ได้ไหว้ตอบ เราเป็นผู้น้อยไปกราบไปไหว้ครูบาอาจารย์ เพิ่นก็ยกมือรับไม่แข็งกระด้าง คำพูดคำจาก็เหมือนกัน คำพูดคำจาออกมา เสียงน่าฟังก็มี เสียงไม่น่าฟังก็มี อืม ไม่น่ายึดเอาของเสียๆ หายๆ ไปใช้ในสังคมมนุษย์อีก เอาแต่คำที่สวยๆ งามๆ ฟังแล้วรื่นหู ไพเราะเสนาะโสต เป็นมงคลของเราอีกด้วย เขาไปกันถึงทางวิทยาลัย มหาวิทยาลัยไปแล้วสถาบันสูงๆ เล่าเรียนศึกษา พวกภาษาคำพูด กิริยามารยาท ที่แสดงในสังคม เพิ่นก็เอาไปใช้กันมากมายแล้ว เป็นคุณงามความดี ตีนอ่อนมืออ่อน กราบไหว้ ทิฐิมานะ แสดงไปถึงทิฐิมานะ ความถือเนื้อถือตัว ถ้าเอาของหยาบๆ ไปใช้ในสังคม มันจะเป็นยังไง สังคมของเราไม่เละตุ้มเป๊ะไปเหรอ อืม ผู้ไหว้ก็ย่อมได้ไหว้ตอบ
วันทะโก ปฏิวันทะนัง
เพิ่นว่า
ปูชะโก ปฏิปูชะนัง(ละภะเต ปูชัง)
ผู้ไหว้ก็ย่อมได้รับไหว้ตอบ อืม ผู้เคารพก็ได้รับความเคารพตอบ เนี่ยจรรยาบรรณของทุกศาสนาล่ะ ศาสนาอะไรก็แล้วแต่ เขาก็พยายามสรรหาแต่ว่าจรรยาบรรณที่ดีๆ งามๆ ออกมาใช้กัน ใช้ในสังคม ถ้าเอาความหยาบโลนออกมาใช้ในสังคม เขาก็บุ้ยปากใส่ เป็นคนหัวแข็ง ในสังคมนั้นเป็นคนหัวแข็ง ถูกจับ ถูกปรับ ถูกไหม เพราะวาจาของเราเองก็มี ถ้าสังคมเขาพิจารณาเห็นว่าเสียหาย ก็จับไปทรมานนะ ติดคุก ติดตะรางอยู่กี่ปี จึงจะรู้ตัว ไม่ได้ อืม บอกถึงความเป็นมาของจรรยาบรรณ มันงามไปด้วยกันหมด ดีไปด้วยกันหมด ผู้หนึ่งประพฤติดีเป็นตัวอย่าง คำพูดคำจาก็เป็นตัวอย่าง กิริยามารยาทก็เป็นตัวอย่าง ของกุลบุตรลูกหลานผู้ได้ศึก... ศึกษาภายหลังได้เห็นเข้า เย็นตา เย็นใจ ถ้าไปแสดงกิริยามารยาทถมึงทึงใส่กัน แข็งกระด้างใส่กัน เสียงพูดเสียงจาก็รู้แล้ว รู้จากคน คนได้รับการศึกษาสูงก็ต้องมีจรรยาบรรณที่ดี สวยงามของสังคมเอามาใช้
ขันติ ธีรัสสะ ลังกาโร
ความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้น เป็นสิริ เป็นมงคล เป็นบุญ เป็นกุศลสำหรับตัวเอง นำเอาไปใช้ในสังคมให้ได้ให้ถูก อย่างคนกินเหล้าเมามายเซซ้ายเซขวาไป ยกมือไหว้เขาก็เฉยๆ แล้ว เพราะไม่มีจรรยาบรรณทางนี้ ไม่ได้ศึกษาทางนี้ อืม ธรรมดาถ้าเจอกันพบกันน่ะ คนได้รับการศึกษาสูง เขาก็ยกมือไหว้กัน ผู้อาวุโสถ้าเด็กๆ มาไหว้เราก็ไหว้ตอบได้ ยกมือรับได้ อืม เป็นจรรยาบรรณอันนี้ อย่าให้เสียหายได้ ให้เอาไปใช้ในสังคม ยกมือไหว้พระ ไหว้พระเพิ่น... ถ้าเพิ่นจะให้พรรับ คุณพระจงรักษาเน้อ เอา ขอให้ คุณพระจงรักษาเน้อ ลูกหลานเอย อ่ะ อืม เพิ่นก็ไม่ว่า ถามหาโคตรหาเชื้อด้วยนะ ไม่ได้ถามหาธรรมดา จรรยาบรรณไม่มี ไม่มีจรรยาบรรณ ผู้เฒ่าผู้แก่ อืม ไม่ได้สอนลูกสอนหลาน เห็นผู้เฒ่าผู้แก่ เห็นผู้มีคุณวุฒิสูงๆ มา เราก็ทำความเคารพ ยกมือไหว้กัน อืม ถ้าไปแข็งกระด้างล่ะ เฮ็ดจั่งใด๋(ทำยังไง)ล่ะปะเนี่ย เอาหยังมาดัดยากล่ะ มันก็เอาความแข็งกระด้างนั่นแหละไปใช้ในสังคมต่อไป ถ้าอยู่ในความเพ่งมองของผู้ได้ดูได้ชม โอ้ คนนั่นจรรยาบรรณดีเว้ย เพิ่นรู้จักเคารพผู้เฒ่าผู้แก่ รู้จักครูบาอาจารย์ ยกมือกราบ ยกมือไหว้ เพิ่นก็ไหว้ตอบเหมือนกัน นั่นจรรยาบรรณ
นั่นๆ น่าดูดีกว่า ที่แข้น(แข็ง)ๆ ซื่อๆ ไม่เสียเกียรติหรอก
เขายกมือไหว้ เรายกมือไหว้ตอบ อืม อย่างนั้นก็เรียกว่ามีจรรยาบรรณที่ได้รับการศึกษามาสูง
ว่าให้ ผู้แทนราษฎรบางนายก็ ยกมือไหว้ประชาชน ไม่เป็น มีแต่ไปไหว้เขาแล้วก็หน้าแตกไปล่ะ อืม ถ้าพวกนี้ได้รับการศึกษามาสูง เป็นบุคคลควรเคารพ นบนอบกราบไหว้ อ่อนน้อมถ่อมตน เขาก็ถามหาวิทยฐานะมาจากไหน ได้รับปริญญามาจากไหน อืม ถามไปหมดล่ะ อืม ทำไมจึงแข็งกระด้างขนาดนั้นเขาจะว่า ได้รับการศึกษาสูงๆ มันมีจรรยาบรรณที่บังคับอยู่ในตัว มีความแข็งกระด้างแล้วไม่แข็งกระด้าง อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพนับถือ ผู้มีวุฒิสูงกว่าเรา อืม นี่ก็เป็นจรรยาบรรณอันหนึ่งระวังให้ดี อืม
เด็กได้เล่าเรียนศึกษามาบ้าง ตั้งแต่ชั้นประถมและก็มัธยมขึ้นไป สูงขึ้นไป ต้องมีจรรยาบรรณที่ดีอีกแหละ ถ้าไม่เคารพ ไม่ไหว้ตอบ
วันทะโก ปฏิวันทะนัง
ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบนะ ถ้ารู้จักตัวอยู่เสมอ เห็นกันแล้วเป็นอย่างงั้น เอาจรรยาบรรณออกมาใช้กัน เวลาพบกัน ไปจากกันหลายๆ ปีดีดัก ถ้าเห็นหน้าเห็นตากัน ก็ดีอกดีใจวิ่งเข้าๆ ไป ก็กราบ ตบหลังตบไหล่ให้ อืม อันนั้นน่ะเป็น... จรรยาบรรณที่ดีงามของสังคม อย่าแข็งกระด้าง อย่าเป็นคนแข็งกระด้าง เขาไหว้แล้ว ก็ไม่ได้ไหว้ตอบ เหล่านั่นก็เป็นจรรยาบรรณที่ไม่ดี ไม่งามของสังคม อืม เอาล่ะนะ ก็สรุปว่า
ทานัง เทติ
ที่ได้ยกภาษิตขึ้น มาถึงการเสียสละ บริจาคให้แก่สังคม มีอะไรเขาก็มาบอกบุญอะไรเรื่องอะไร ร่วมทอดผ้าป่ามหากฐินหรืออะไรๆ ก็ดี มาเคารพคารวะ
งานนี้เป็นงานวันเกิด ของหลวงพ่อสวาท(หลวงพ่อสวาท ปัญญาธโร) อาจารย์สวาท เรามาแสดงคารวะมุทิตาท่าน มาเคารพมากราบไหว้ท่าน เพิ่นก็จะให้พรเราหรอก ไม่ออกเสียง แต่ว่า อายุ วัณโณ สุขัง พลัง เด้อ อยู่ในใจเพิ่นล่ะ อืม ถ้าเราได้กราบได้ไหว้แล้วก็ ผู้นั้นก็ให้ อายุ วัณโณ สุขัง พลัง ต่อไปมันก็มีหลายเข้า ปลูกข้าวโพดข้าวฝ่างก็ขอให้มีผลผลา ต่อไปเรามาเอา อายุ วัณโณ สุขัง พลัง มีลูกร้องดัง ก็อย่าได้ร้องพาโล(เกินไป)ต่อไป อืม ให้พรเขาให้อันไหนก็ได้ ลูกหลานมันเห็นเข้ามันก็จำเอาเป็นตัวอย่าง เอาไปใช้ในสังคม งามอยู่ตลอด อืม ไม่ใช่เรียนเอามาเป็นทิฐิ เป็นมานะ ความถือตนถือตัว มีความรู้สูง แต่ไม่เอาความรู้ รู้นั้นมาใช้ในสังคม จะเป็นยังไง ขยะแขยงน่าอายเขาไหม ไม่รู้จักเคารพนบไหว้ ผู้ใดมีอาวุโสสูงกว่า อายุสูงกว่าเรา ควรยกมือไหว้ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็ควรยกมือไหว้เพิ่น ผู้เฒ่าผู้แก่บางคน เรายกมือไหว้แล้วไม่ไหว้ตอบเขาก็มี แข็งกระด้างไปก็หน้าแตกไป ผู้ยกมือไหว้หน้าแตกไป เสียจรรยาบรรณหมด เพราะฉะนั้นน่ะ พูดวันนี้ไม่ได้พูดสูงหรอกพูดต่ำๆ จรรยาบรรณ ที่จะมนุษย์จะต้องเอามาใช้กัน ถ้ามีจรรยาบรรณ ได้ศึกษาสูงมาแล้วไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่อย่างนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้มีอายุสูงกว่าเรา มาไหว้เราตอบ มาไหว้เรา เราจะทำยังไง อืม ลูกหลานกราบไหว้ก็ยกมือรับ อืม สาธุ สาธุ เป็นบุญเป็นคุณแล้วจับไม้จับมือให้ เท่านั้นก็ดีใจหรอก อืม เอ้ จรรยาบรรณในสังคม ให้ปฏิบัติให้ถูกให้ต้อง
ถ้าเป็นคนงามอยู่เสมอ
งามหน้า งามตา งามกิริยา งามมารยาท
งามเชื้อ งามชาติ งามวาสนา
งามจิต งามใจ งามในศรัทธา
ความเชื่อ งามในศรัทธา ในความเชื่อ ความเลื่อมใสในใจเรามียังไง ก็แสดงออกต่อสังคมมนุษย์ เราเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สัตว์ ทำความเคารพต่อผู้มีวัยวุฒิ อ้า วิชายุทธมันมี
วุฒิ
ทั้งหลายนั้น มันเจริญขึ้นเพราะการปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ทั้งความยกย่อง สรรเสริญเยินยอ อืม คนนั้นน่ารักจัง คนนี้น่ารักจัง รู้จักเคารพกราบไหว้ แม้ลูกหลานไปกราบไปไหว้ยังยกมือรับไหว้ อืม อ้า ไม่ให้ศีลให้พรอะไรหรอก เขามากราบมาไหว้ ก็ให้มีความสุขความเจริญเด้อ อ่ะ นี่ที่เทศน์ ไม่เทศน์สูงหรอก เทศน์อยู่บนธรรมาสน์เนี่ยเท่านี้ล่ะ เทศน์สูงขึ้นไป มันก็เรื่องจิตตภาวนาอันนั้นน่ะเอาให้
ครูบาอาจารย์ผู้จะมาแสดงต่อไป ได้นำมาช่วยขัดเกลาจิตใจ ของประชาชนให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ มันเป็นมงคลชีวิต ชีวิตนั้นจะเจริญรุ่งเรือง ผู้ใดไหว้ ไหว้ตอบแล้วก็ เพิ่นก็ให้ศีลให้พรเรา อย่างน้อยก็ อายุ วัณโณ สุขัง พลัง เท่านั้นล่ะพอ อืม อันนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเพิ่นบอก
ดังที่บรรยายมาเป็น ปกิณณกนัย เอาหลายสิ่งหลายอย่างมาผสมผสานกัน ให้นำไปใคร่ครวญพินิจพิจารณาด้วยปัญญาอันชาญฉลาดของตนๆ เองเถิด อัปปมาทธรรม ไม่มีความประมาท ตั้งอกตั้งใจทำให้กายวาจาใจของเรา อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักเข้าเคารพคารวะ ต่อแต่นั้นก็จะได้ประสบพบเห็นแต่ความสุขความเจริญทั้งทางคดีโลกและทางคดีธรรมทุกประการ รับประทานฝอยมา หรือวิสัชนามา ก็ยุติโดยเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
(สาธุ)
ทานัง เทติ
การให้ทาน
สีลัง รักขะติ
การรักษาศีล
ภาวะนานัง ภาเวตตะวา
การเจริญภาวนา
เอกัจโจ สัคคัง คัจฉะติ
บางพวกย่อมไปสวรรค์
เอกัจโจ โมกขัง คัจฉะติ
บางพวกย่อมหลุดพ้น
นิสสังสะยัง
อย่างไม่ต้องสงสัย
นัตถิ สันติปะรัง สุขัง
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
บุพพาประ [บุบ-พา-ปะ-ระ] เรื่องทั้งก่อน และหลัง
มังคะละสูตร (มงคล ๓๘)
สุภาสิตา จะ ยา วาจา
วาจาสุภาสิต ๑
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
นี้เป็นอุดมมงคล
กัมมัง วิชชา จะ ธัมโม จะ สีลัง ชีวิตะมุตตะมัง
การงาน ๑ วิชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม ๑
ปูชะโก ละภะเต ปูชัง
ผู้บูชาเขาย่อมได้รับการบูชาตอบ
วันทะโก ปฏิวันทะนัง
ผู้ไหว้เขา ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
ขันติ ธีรัสสะ ลังกาโร
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
วุฒิ
ความเจริญ ความงอกงาม ความเป็นผู้ใหญ่
เรียงลำดับตามความสำคัญในทางธรรม
๑. ปัญญาวุฒิ ๒. คุณวุฒิ ๓. ชาติวุฒิ ๔. วัยวุฒิ
ผญา [ผะ-หยา] คำคม ภาษิตโบราณทางอีสาน
เป็นคำพูดที่ชาวไทยอีสาน ใช้พูดกันเพื่อแสดงถึงภูมิปัญญา
ความรู้ ความฉลาด ไหวพริบ ปรัชญา (ภาษาอีสานจะ
ออกเสียง ปร เป็น ผ จึงเป็น ผัชญา กลายเป็น ผญา)
สันนิษฐานที่มา
๑. จากคำสั่งสอนและศาสนา
๒. จากขนบธรรมเนียมประเพณี
๓. จากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว
๔. จากการเล่นของเด็ก
๕. จากสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์อื่นๆ ในวิถีชีวิต
แบ่งเป็นประเภท
๑. คำสอน เรียกว่า ผญาคำสอน ผญาภาษิต
๒. เกี้ยวพาราสี เรียกว่า ผญาเครือ ผญาย่อย
หรือผญาโต้ตอบ
๓. ปริศนา เรียกว่า ผญาปริศนา ผญาปัญหาภาษิต
๔. อวยพร เรียกว่า ผญาอวยพร
ผญา จึงเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่มีบทบาทต่อสังคม
คนอีสานมาก เป็นเครื่องมือให้การศึกษาแก่คนในกลุ่มและ
ครอบครัว มีเอกลักษณ์ทางภาษาอีสาน จากรุ่นก่อนสู่รุ่นหลัง
มุขบาฐ [มุก-ขะ-บาด] มุขปาฐะ [มุก-ขะ-ปา-ถะ]
ข้อความที่ท่องจำบอกเล่าต่อๆ กันมาด้วยปากเปล่าคำผญา
คำผญา
มีผัวให้ซ่างย้อง(ยกย่อง)
มีน้องให้(ซ่างย้อง)ซ่างออย(ปลอบ) เด้อ
(มีผัวให้รู้จักยกยอ มีน้องให้รู้จักดูแล)
ยามเมื่อผัวเคียดให้เป็นฮูปโมโห เมื่อนั้น ให้เจ้าหาวาจา
อ่อนโยน กล ล่อ อย่าสะหวนหาข้อ ผิดกันซ้ำตื่ม
(เวลาเมื่อสามีไม่พอใจ โมโห มานั้น ให้หาคำพูดวาจาอัน
อ่อนโยน มีอุบายการปลอบโยน อย่าหาข้อผิดกันซ้ำเติม)
ผัวเมียนี้กูมึง อย่าได้ว่า
(ผัวเมียไม่พูดหยาบคายกัน แม้เกลียดโกรธโมโห
ให้อดทน ให้อายลูกและชาวบ้าน)
มีแต่ข้อยและเจ้า จนเฒ่าชั่วชีวัง
(ผัวเมียให้เรียกกันว่า ข้อย-เจ้า พี่-น้อง พ่อ-แม่
ไปจนตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างแก่ลูกและชาวบ้าน)
ผู้เฒ่าผู้แก่สอนว่าการพูดคำหยาบต่อกันนั้น เป็น “คะลำ”
หมายถึง การพูดหยาบต่อกันนั้น ไม่เป็นมงคลแก่ชีวิต
มีแต่จะนำไปสู่การบาดหมางใจกันเปล่าๆ
คะลำ กะลำ ขะลำ หมายถึง
สิ่งต้องห้ามที่ทำลงไปแล้วไม่ดีไม่งาม
เกิดโทษภัย เกิดเสนียดจัญไรแก่ตนและผู้อื่น
คะลำ มีมากมายและครอบคลุมไปทั้งหมดของวิถีการ
ดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเกิด การอยู่ การกิน
การนอน การแต่งงาน การเจ็บป่วย และการตาย เช่น
ข้อคะลำในการทำนาและข้าว
ข้อคะลำในงานศพ
ข้อคะลำในงานพิธีแต่งงาน
ข้อคะลำในวันสงกรานต์
ข้อคะลำเกี่ยวกับการกิน นั่ง-นอน-ยืน-เดิน-ไป-มา
ฮีต ๑๒ คอง ๑๔
ชนเผ่าไทยลาวหรือชาวอีสาน มีระเบียบการปกครอง
บ้านเมืองซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากโบราณ
เป็นความเชื่อดั้งเดิม ไม่ปรากฏว่ามีประมวลกฎหมายใดๆ
เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมา ก็ได้กฎเกณฑ์
ธรรมะจากพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นแนวทางการปฏิบัติ
ใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษหนัก ไม่คบค้าสมาคม
นอกจากแนวปฏิบัติ ฮีต ๑๒ คอง ๑๔ ยังมี คะลำ อีก
ซึ่งสมัยก่อนเขาจะสอนลูกหลานรับช่วงกันมาเป็นช่วงๆ
อายุคน โดยไม่จำเป็นเสียเวลาอธิบายเหตุผล
ฮีต ๑๒ (ฮีต มาจากคำว่า จารีต)
การประกอบพิธีกรรม เซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
และร่วมทำบุญตามประเพณีทางพุทธศาสนาทุกๆ เดือน
ในรอบปี จึงได้ถือเป็นประเพณี ๑๒ เดือน ตามลำดับ
บุญเข้ากรรม บุญคูนลาน บุญข้าวจี่
บุญพระเผวส บุญสงกรานต์ บุญบั้งไฟ
บุญซำฮะ บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน
คอง ๑๔ (หมายถึง ครองธรรม ๑๔ อย่าง)
แนวทางปฏิบัติเพื่อความสงบสุขบ้านเมือง แบ่งเป็น
๑.ผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง ๒.พระสงฆ์ ๓.บุคคลทั่วไป
๓๘