หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
งานบรรพชาสามเณร อุปสมบทภิกษุ ภาคฤดูร้อน
วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.๐๐ น.
ณ วัดป่ามณีกาญจน์ ต.ศาลากลาง
อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
นั่งราบลงซะ นั่งราบลง ยองย่อ(นั่งยองๆ) นั่ง บรรดานั่งคุกเข่าตลอดเราก็แย่สิ
พอได้บวช บวชเสร็จกันแล้ว สมาทานศีล ศีลเนี่ย ศีล ๕ หรือศีล ๘ ก็ว่าควบกันมาเลยตะกี้นี้ สำหรับนาคผู้ตั้งใจจะบวช เอารับศีล ๘ ซะก่อนวันนี้ วันบวชจริงๆ จึงค่อยเอาศีล ๑๐ ศีลสามเณรมี ๑๐ ข้อ อันนี้ว่ารวมกันไว้ได้ ๗ ข้อ ๘ ข้อบวกด้วยกันเข้าได้ ๘ เอาศีล ๘ ซะก่อน
ศีลนี้ เป็นข้องดเว้นจากการฆ่าสัตว์ทุกชนิด เราเป็นพระเป็นเณรหรือเป็นนาคเข้ามาแล้ว ตั้งใจหยุด จะไม่ให้สัตว์อื่นต้องตายด้วยเจตนาของเรา เป็นริ้น เป็นยุง เป็นมด เป็นปลวกก็ดี ทำอะไรให้ระมัดระวัง มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ เราเป็นเพศต่างจากคฤหัสถ์หรือฆราวาสแล้ว เป็นผู้สมาทานศีล ๕ แล้ว ศีล ๕ ข้อ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อที่ ๕ แต่ว่าศีล ๘ นี้มันรวมกัน ๒ ข้อเป็นข้อหนึ่ง
นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสสะนา มาลาคันธะ วิเลฯ
เนี่ยมันต่อกันไป เลยเป็นข้อเดียว เอาแต่ศีล ๘ กันซะก่อนน่ะ ถ้าเรางดได้ เราไม่ล่วงเกิน ศีลข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ศีล ๕ ข้อนั้นก็ดี ศีล ๘ ข้อนั้นก็ดี เรางดเว้นได้
เวระมะณี
แล้ว เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากกล่าวมุสาวาท เว้นจากประพฤติผิดในกาม เว้นจากการดื่มกินน้ำเมาสุราเมรัย เลิกแล้ว ไม่เอาแล้ว อ้า เราจะบวชแล้ว ตั้งใจรักษาให้มันได้ ไปแอบกินข้าวเย็น แอบกินข้าวเวลาบ่าย บ่ายไปแล้ว เราก็ผิดศีลนี้เหมือนกัน ไม่ได้กินอาหาร ไม่ได้กินข้าวปลาอาหารใดๆ แต่เพิ่นอนุญาตไว้ให้ กินเป็นยา คือ (มะ)ขามป้อม สมอ เออ เหล่านี้ฉันได้ พริกกับเกลือ จิ้มกันกับมะขามป้อม สมอ กินได้ ไม่เป็นอาหาร มันไม่เป็นอาหาร มันเป็น
คิลานะปัจจะยะเภสัชชะฯ
เป็นยา ฉันเป็นยา ยาระบาย ถ้าไม่ฉันของเหล่านี้ลงไปแล้วท้องผูก ต้องฉัน(มะ)ขามป้อม ฉันสมอ ฉันปรมัตถ์บางอย่างที่เราฉันได้ ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรมเรา ถ้าเรามีศีล ๘ เป็น พรหมจรรย์อันหนึ่งน่ะปะเนี่ย รักษาศีล ๘ ต่อไป
วิกาละโภฯ
ไม่บริโภคน้ำ อาหารในเวลาวิกาล อาหารทุกชนิด หวานก็ดี คาวก็ดี ซึ่งเป็นอาหารแล้วเว้นให้ได้ เราไม่กินแหละ
กินน้ำร้อนเอา ต้มน้ำร้อน น้ำชา กาแฟเอา อ่ะ ไว้แก้ ให้แก้เวทนา มันมีเวทนา มีความหิวอยู่ในตัวล่ะ แต่ว่าการกินของเหล่านั้นลงไปแล้ว มันก็หายหิว ไม่หิว ไม่รบกวน ถ้ามีความหิวขึ้นมาแล้วมันรบกวน มันจะอยากกินอาหาร อร่อยๆ อาหารแซบ(อร่อย)เคย ชนิดใดที่เราเคยชอบ เราเลิกกินแล้ว เนี่ยเวลาบวชไปแล้วเนี่ย เอาให้ได้ เอาให้มันได้ แต่ว่าเดี๋ยวนี้เราฉันข้าว วันหนึ่งๆ เช้า เที่ยง ฉันได้ ฉันอาหารได้ เช้า เที่ยง แต่ผู้ถือธุดงควัตรเคร่งครัด เพิ่นเอาหนเดียว ฉันมื้อเดียวเท่านั้นแหละ อาหารหวานก็ดี คาวก็ดี ฉันเวลาเดียวนั้นแหละ มีอะไรก็รวมลงภาชนะใบเดียวในบาตร ฉันในบาตร ฉันหมดพอดี แล้วก็กินน้ำ แล้วก็บ้วนปาก ทำความสะอาดฟันซะให้เรียบร้อย อย่าให้มีเมล็ดข้าว เมล็ดอะไร เศษอาหารอยู่ในปากได้อีก อืม ตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงวันใหม่พู้น(โน้น)ล่ะ เราจะทนไหวไหม อ่ะ รักษา บวชเป็นพระเป็นเณรแล้วต้องเอาอย่างงั้น เรื่องธุดงควัตรนั่นก็อีกต่างหาก สมาทานธุดงควัตร เราจะฉันมื้อเดียวเป็นวัตร เวลาเพลมาเราไม่เอา อืม ใครจะมาจากทางไหนก็ไม่เอา ไม่เอาทั้งนั้น มันเลยเวลาแล้ว เที่ยงแล้ว ๑๒ นาฬิกาผ่านไปแล้ว นาทีหนึ่ง ๒ นาที ๓ นาที ถ้าไปขืนกินเข้า กินอาหารเข้าไปมันก็ผิด
วิกาละโภฯ
ล่ะปะเนี่ย ผิดศีลข้อนั้นอีก กินแล้ว บ้วนปากแล้ว ทำความสะอาดปากดีแล้ว ให้หมดจดอยู่อย่างงั้นตลอดวัน ถ้าแปรงฟันน่ะได้อยู่ แปรงฟันน่ะ เอาแปรงมาแปรงฟันให้มันสะอาดไว้ อย่าให้มีกลิ่นอาหารอะไรติดอยู่ในปากได้ อย่างนี้ก็เรียกว่ารักษาศีลได้บริสุทธิ์ เออ พู้น(โน้น)ล่ะ มื้อเช้านู้นล่ะ ได้บาตรแล้วก็ไปบิณฑบาตซะก่อนปะเนี่ย ตามธรรมเนียม เพิ่นให้มีบาตรไปบิณฑบาต บางคนก็ถือธุดงควัตรในการบิณฑบาตก็มี
บางรายก็รับแต่ทางเดียว เอาแต่ทางขวาๆ ไปเรื่อยๆ ทางซ้ายมาไม่เอาไม่เอาล่ะทางซ้าย มันผิดธุดงค์เรา ไปทางขวาเรื่อยๆ เอาขวารับเอาๆ ถ้ามาทางนี้ ถ้าลัดคิวออกไปรับเขาทางนี้ผิด ผิดอีกแหละ แตกแถวแล้ว มันจะผิดศีลเรา เออ ผู้เคร่งครัดเพิ่นไม่รับ ผู้เคร่งครัดในธุดงค์ข้อวัตร เพิ่นเอาแต่ด้านขวาทางเดียว เปิดฝาบาตรรับเอา ที่ไหนๆ มาลงในบาตรเรา หรือสิ่งไหนที่ใหญ่ก็ใส่ฝาบาตรเอา ฝาบาตรรับเอาได้ แน่ะ การบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ให้ขาด เนี่ยข้อถือเป็นบิณฑบาตเป็นวัตร เลิกจากบิณฑบาตแล้ว ฉันเพลเสร็จแล้ว ไม่ฉันอะไรอีกแล้วแน่ะวันนั้น ทำความสะอาดปากให้สะอาดไว้ แต่ครูบาอาจารย์เพิ่นกินหมาก เว้ย กินหมากไม่เป็นไร ไม่ได้กลืนเข้าไปในท้อง ไม่เป็น
วิกาละโภฯ
แต่อย่างใดหรอก อืม หมาก มันเป็นของฝาด มีหมาก มีปูน มีสีเสียด มียาฉุน กินกับหมากก็ได้อยู่ จะบ้วนปากแล้วก็แล้ว เท่านั้นไม่ต้องเอาอะไรอีก มี เป็นคนมีสัตย์มีจริง เป็นคนจริง อย่างหลวงปู่มั่น(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) หลวงปู่ทั้งหลาย ผู้เพิ่นเคร่งครัด หนเดียวก็หนเดียวตลอด ใครจะมาอาราธนา นิมนต์ยังไง เราก็ไม่เอา ไม่เอาแล้ว เลิกแล้ว บ้วนปากแล้ว กินหมากแล้ว อาหารอย่างอื่นไม่เอาแล้ว กินหมากเคี้ยวหมาก จั๊บๆๆ อยู่ในแล้ว แต่อย่าไปกลืนน้ำหมากเข้าไปในท้องนะ หิวหมากถ้ากลืนน้ำหมากเข้าไปในท้องแล้วมันจะเกิด เกิดโรคชนิดหนึ่งน่ะ กลืนน้ำหมากเข้าไป มันมีทั้งปูน มีทั้งสีเสียด มีทั้งยาฉุน อันนั้นกลืนเข้าไปแล้วในท้อง มันจะเป็นโรคชนิดหนึ่ง เป็นโรคท้องมาน เป็นโรค เออ เกี่ยวกับตับ ไต ไส้ พุงเราล่ะ ของอย่างนั้นไม่ใช่อาหาร มันไม่ย่อย กินเข้าไปแล้วมันก็ไม่ย่อย ก็ทำให้ท้องอืด ท้องอะไรขึ้นมาได้ ระมัดระวังเอาเอง อย่างเนี่ยรู้จักกาลเทศะ
กาลัญญุตา
มัตตัญญุตา ฯ
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง
ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร กินอิ่มแล้วก็แล้วเท่านั้น เรียกว่า
มัตตัญญุตา
รู้จักกาลเวลาของเรา เราได้ตั้งธุดงค์ข้อวัตรเราจะสมาทานเอาเราข้อไหนก็ได้ แต่ว่าอย่าให้มันเลยเวลาไปแล้วกัน
นี่ถ้าเรารักษาได้ดีมันมีอานิสงส์ อานิสงส์ของมันทําให้เราเลี้ยงง่าย เป็นคนเลี้ยงง่าย ถ้าเอา ๒ เวลา ๓ เวลาเข้า ไม่ ไม่เลี้ยงง่ายซะแล้วปะเนี่ย เลี้ยงยากแล้ว หิวเวลาไหนก็เห็นกินเวลานั้นไปยังงั้น ก็ผิด เลยเวลามันไม่ จริงๆ มันเป็น
วิกาละโภฯ
บริโภคอาหารในเวลาวิกาลเป็น
วิกาละโภฯ
แล้ว ผิดศีลข้อนั้นแล้ว เรารักษาเอา ไม่มีใครบังคับเราหรอก เราบังคับเราเอง เราอดได้ เราทนได้ ครูบาอาจารย์เพิ่นยังอดได้ ทนได้ ไม่ปรัมประอะไรเลย กินแล้วก็แล้ว กินแล้วล้างปาก บ้วนปาก สีฟันดีแล้ว แปรงฟันดีแล้ว แล้วๆ วันนั้นไม่กินอะไรแล้ว เว้นไว้แต่น้ำอ้อย น้ำตาล เกลือ สิ่งที่แกล้มกับยาปรมัตถ์บางอย่าง (มะ)ขามป้อม สมอ พริก เออ เอานี้มากินกับกันก็ได้อยู่ หัวตะไคร้ หัวสีไค(ตะไคร้) มาซอยๆๆ ผ่าก็ซอยๆ บางๆ แล้วก็จ้ำ(จิ้ม)เกลือกิน... กินกับ(มะ)ขามป้อม สมอล่ะ มันก็ไม่อร่อยหรอก กินลงไปเพื่อให้มันเป็นยา มันเป็นยาขับลม ทำให้ลมระบายดี ผู้ใดท้องเคยแล้ว มันก็แล้วเฉยๆ มันไม่ระบายระเบยอะไร มีแต่ตดล่ะออกมา ตดปื้ดดดดดดด ออกมา มันไล่เออ ไล่ลมแล้ว อืม แต่ว่าเนื้อมันไม่ออกหรอก ออกแต่ลม ปื้ดดดดดดด ออกไปแล้วก็สบายท้องไส้ที่แน่น เออเรอเหม็นเปรี้ยว อะไรอยู่ในท้องมี มันขับลมไล่ออกไปแล้ว เป็นยาปรมัตถ์ เพิ่นว่ายาปรมัตถ์สำหรับฉันมื้อเลยเวลาวิกาลไป น้ำร้อน น้ำชา กาแฟ ถ้าไปติดมันก็เอาอีกแหละ เป็นทุกข์อีกเหมือนกัน ติดกาแฟเคยตัว ถ้าไม่ได้กินก็หิว เวทนามันมารบกวนเราอยู่ หิวกาแฟเว้ย เออ อยากกินกาแฟร้อนๆ สักแก้วหนึ่ง ท่าจะสบายบางคนติดจนประจำ กินกาแฟเป็นประจำก็มี ถ้าไม่กินวันหนึ่งก็หงุดหงิดงุนงิน พาลพาโลคนนั้นคนนี้ไป แน่ะ ของเหล่านี้มันมาชวนให้โมโหโกรธาได้ ความหิว
การรักษาธรรม ก็รักษาใจนั่นแหละ
รักษาใจให้ ไม่ให้มันโมโหโกรธา ด่าว่าคนโน้นคนนี้ ถกเถียงกันต่อหน้าธารกำนัล หรือผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เพิ่นรู้จักศีลรู้จักธรรมดี เพิ่นก็หัวเราะ พระภิกษุสามเณรทะเลาะกัน ถึงกับลงไม้ลงมือตีกัน ท้าทายกัน อย่างนั้นมันไม่ใช่วิสัยของสมณะ ไม่ใช่วิสัยของพระของเณร ธรรมดาพระเณรเพิ่นให้มี
ความอด อดกลั้นทนทาน
ถ้าอดได้แล้ว ก็เป็น
ขันติ
ถ้าอดไม่ได้ก็ไม่ใช่ขันติ มันจะเป็นขันแตกไป
คว้าได้ค้อนก็เอาค้อนตีกัน ไปได้ศาสตราอาวุธบางอย่าง ก็เอาตีกันแทงกัน นั่น โมโหโกรธา ปรายนา(พ่ายแพ้ที่สุด) เป็นคนแพ้ต่อกิเลสตัวเอง ไม่อด ไม่กลั้น ไม่มีความอดความทน ถ้าเป็นพระเป็นเณรมาแล้วทะเลาะกัน เทวดาหัวเราะ เทวดาผู้รักษาพระศาสนาอยู่ มีเทวดามารักษาอยู่นะ รักษาพระศาสนา รักษาพระ รักษาเณร ถ้าทำผิดศีล ผิดธรรม ผิดวินัยบางข้อ เทวดาลงโทษ ลงโทษให้ ไม่มีใครมาตีหัวเราหรอก แต่นั่งอยู่ดีๆ มีไม้มาจากทางไหนไม่รู้ มันหล่นลงมาใส่หัวเรา โอ้ หัวแตกแล้วหว่า ไม่แตก มีแต่ยิ้มดูได้ เออ นี่เทวดาลงโทษเราแล้ว เฮอะๆ เทวดาลงโทษเราแล้ว กิ่งไม้มันหักมาจากไหนมาถูกหัวเรา ยิ้ม ว่าเราทำผิดธรรมวินัยข้อไหน เทวดาจึงมาลงโทษเราว่ะ ผิดศีล ผิดธรรมข้อไหนหนอ หรือเราถกเถียงครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ตักเตือนในทางที่ดีที่ชอบ แต่เราเกิดถกเถียงขึ้น ต่อว่าต่อขานกันขึ้น ทะเลาะวิวาทกันขึ้น ดังนี้ เทวดาไม่รักษา เห็นไม้ตกมาทางไหนก็มาถูกหัวเราคนเดียวแหละ อ้า มันเป็นอย่างงั้นเทวดาไม่รักษา
ศีลทั้ง ๘ ข้อนั้นมีอานิสงส์ไม่น้อยเลย
เรารับศีล ๘ ไปแล้ว ศีลนี้จะรักษาตัวเราเอง ไม่ให้ตกไปในโลกที่ชั่ว ทุรกันดารลำบากใดๆ ทั้งนั้น รักษาตัวเองไว้ได้ ไม่เกิดโทษ ไม่มีอุบัติเหตุใดๆ ที่จะมาทำลายชีวิตของเราได้
ฟังเทศน์กับเขาไหม แมลงวันเอย ทำไมจึงมา มาตอมหูเรา ประเดี๋ยวจะตบสักเปรี้ยงหนึ่ง เห็นจะยังไงล่ะปะเนี่ย
(หลวงปู่ทำเสียงดัง เปรี้ยง)
เปรี้ยงทางนี้ที ยังไงล่ะปะเนี่ย ตาย แอ้ เฮอะ เออ ไม่มีอะไรที่จะให้กินหรอก มีแต่เหงื่อแต่ใคลออกมาตามนี้ แม้จะกินไม่ได้หรอกน่ะอย่างนั้น อย่ามารบกวน ให้เกิดความรำคาญประเดี๋ยวศีลไม่อด
เพิ่นถือศีลอด ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มสุราเมรัย ไม่กล่าวโป้ปดมดเท็จ อะไรเหล่านี้จะก็อยู่ในศีลของเราล่ะ ศีลของพระของเณรแหละ ถ้าเราอยากเป็นเณรที่ดีก็ต้องงดเว้นเอา ของเหล่านี้งดเว้นได้ เพิ่นไม่ตาย เราก็ไม่ตาย
พระพุทธเจ้า อ้า ราหุล เกิดในวันนั้นๆ แม่ไปคลอดบุตรมาใหม่ๆ ก็ปรากฏว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรงมาก แม่ก็ดีนอนหลับ พระพุทธเจ้าจะออกบวชแล้ววันนี้อ่ะ วันเพ็ญเดือน ๖ นี่แหละ วันจะออก
ภิเนษกรมณ์
ถึงเวลาแล้วจะออกภิเนษกรมณ์ ออกประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์ ก็บอกให้นายฉันนะ ซึ่งเป็นข้ารับใช้ประจำองค์ของพระบรมศาสดา แต่ก่อนท่านยังไม่เป็นพระบรมศาสดา ยังๆ เป็นสิทธัตถะราชกุมารอยู่เฉยๆ ครองแผ่นดินอยู่เฉยๆ ไม่ลำบากไม่ลำบากไม่ยากใจ ในการอด อดกลั้นทนทาน เราอดได้ เพิ่นก็บอกไว้แล้วในธรรมะ
ขันติ หิตะ สุขาวะหา
ความอดกลั้นทนทาน ถ้าเราอดได้แล้ว นำความสุขมาให้
ขันติ หิตะ สุขาวะหา
ขันติ ธีรัสสะ ลังกาโร
ความอดกลั้นทนทานน่ะ เป็นเครื่องประดับอันมีค่าราคาสูงมาก เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ถ้านักปราชญ์บวชได้หลายพรรษาแล้ว ก็เรียกว่าเป็นนักปราชญ์ บวชเป็นทิด(สึกจากพระที่ได้พรรษา) บวชเป็นเซียง(สึกจากสามเณร) บวชเป็นจาน(สึกจากพระแต่ไม่ได้พรรษา)ไปแล้ว ถ้าไม่มีความอดกลั้นทนทาน ถ้าสึกออกไปแล้ว ก็ไปทะเลาะกับชาวบ้านชาวเมืองเขา เขาตีหัวร้างข้างแตก แน่ะ ไม่มีขันติ ไม่มีความ มีความอดกลั้นทนทาน ไปวู่วามกับเขา ไปทะเลาะวิวาทบาดถลุงกับเขา เขาก็ตีหัวเอาอ่ะ มีความสุขไหมล่ะ เป็นอย่างงั้น
ขันติ หิตะ สุขาวะหา
ความอดกลั้นทนทานนำความสุขมาให้ ไม่มีใครมาฆ่า มาตีเราเลย เราอดกลั้นต่อวาทะถ้อยคำที่เขาดุด่ามา ไม่กระทบกระเทือนจิตใจเราเลย มีแต่ยิ้มดูฟัง คำอย่างนี้นักปราชญ์ท่านเอาไหม ไม่เอามาคุยกันหรอก คำพูดอย่างนี้เขาเอา ไม่เอามาคุยกันหรอก ถ้ามีคนเอาคำหยาบๆ มาด่าเรา เราจะทำยังไง อด อดกลั้นทนทานเอา อด อย่าโกรธ อย่าเกลียด อย่าเดียด อย่าฉันท์ อย่าโมโหโกรธาให้มันขึ้นมา แสดงออกให้ผู้อื่นได้เห็นเราอีก ถ้าแสดงโมโหโกรธาซึ่งกันและกันแล้ว มันก็กระจุยกระจายไปหมดล่ะปะเนี่ย เสียงนินทากาเล โอ้ย เป็นพระเป็นเณรแล้วยังทะเลาะกันได้อยู่ เป็นผู้มีศีลมีธรรมแล้วยังทะเลาะ ด่าว่ากัอหยาบๆ คายๆ กันได้อยู่ เทวดาก็หัวเราะล่ะปะเนี่ย เทวดาทั้งหลายหัวเราะ โอ้ ไหนว่าจะอด จะกลั้น จะทน จะทานเอา ทำไมจึงต้องไปต่อว่าต่อขาน ทะเลาะเบาะแว้งกัน ทนไม่ไหวก็ฉวยได้ไม้ตีหัวกัน หัวร้างข้างแตกไปอย่างนี้ เป็น
ขันติ หิตะ สุขาวะหา
หรือเปล่า เป็น
ขันติ ธีรัสสะ ลังกาโร
หรือเปล่า เป็นขันติ เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์บัณฑิตหรือเปล่า ถ้าไปแสดงออกอย่างงั้นก็ชื่อว่า ทำลายศีลธรรมของตัวเอง ที่ได้อุตส่าห์เสียสละเวลามาบวชเป็นพระเป็นเณรแล้ว ยังจะเอาความทะเลาะเบาะแว้งอย่างนั้น มาทะเลาะกันให้ประชาชนได้เห็น ได้รู้ ได้ยิน ได้ฟัง ขวางในตา ขวางในหูของนักปราชญ์ ถ้านักปราชญ์ท่านได้ยิน ได้ฟังพระเณรทะเลาะกันแล้ว ท่านก็ไม่ว่าอะไรหรอก แต่อมยิ้มอยู่ ไม่มีน้ำอด ไม่มีน้ำทน อะไรจะพาให้งามล่ะ
ขันติ ธีรัสสะ ลังกาโร
ขันติ มันเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ เป็นพระก็ดี เป็นเณรก็ดี บวชเข้ามาแล้วก็เรียกว่าเป็นนักปราชญ์ นักปราชญ์ครูบาอาจารย์ทนได้แล้ว ถ้าเอาความโมโหโกรธา มาทะเลาะวิวาทบาดถลุงกันแล้ว มันจะดีตรงไหนล่ะ ไม่มี มีแต่เขาหัวเราะ โอ้ พระเณรเนี่ย ทำไมทำอย่างนี้ ทำไมตีกันอย่างนี้ เตะกันอย่างนี้ แอ้ เขาหัวเราะเอา
เป็นพระเป็นเณรแล้วไม่มีขันติ
ไม่มีความอดกลั้นทนทาน
อะไรจะพางามปะเนี่ย ไม่มี กิริยามารยาทก็เสีย คำพูดคำจาที่ด่าว่ากันออกมาก็เสีย เสียมารยาท ถ้าไม่ออกทางกาย ก็ออกทางวาจา ด่ากัน โคตรพ่อโคตรแม่กัน ยุให้รำ ตำให้รั่ว ยั่วให้กิเลสเกิด นี่ ไม่ดี อดกลั้นทนทานได้เป็นผู้ชนะ
อักโกเธนะ ชิเน โกธัง
เพิ่นบอกไว้ จงชนะความโกรธของเขาด้วยความไม่โกรธ
ของเรา เขาด่ามายังไงๆ เราอดไว้ได้เป็นผู้ชนะ ถ้าไปลงไม้ ลงมือ ด่าว่ากัน ตีแล้ว ตีกัน เตะกัน มีไม้ค้อนก้อนดินก็ทุบตีกันไปตามความโกรธ แล้วมันจะสวยไหม หัวโล้นๆ ห่มผ้าเหลือง ทะเลาะกัน ตีกัน ให้ชาวบ้านชาวเมืองเขาเห็น เขารู้ แล้วกินข้าวเขาทุกวัน กินอาหารของญาติของโยมทุกวัน ยังจะเอาความโมโหโกรธาแสดงออกให้เขาได้เห็น ได้รู้มันก็หมดเท่านั้นแหละ และขาดทุนแล้วเรา เสียแรงอุปถัมภ์บำรุงมาอย่างดี แต่ก็ไปฆ่าตีบีฑ์โบยกันได้ หัวร้างข้างแตกกัน อย่างนี้สวยไหม ไม่มี
ขันติ หิตะ สุขาวะหา
หรือว่า
ขันติ ธีรัสสะ ลังกาโร
ไม่มีความอดกลั้นเป็นเครื่องประดับ ของนักปราชญ์ นักบวช นักปราชญ์ ได้บวชเรียนเขียนอ่านแล้ว เขาเรียกว่าเป็นนักปราชญ์ ถ้ายังเอาความเลวร้ายชนิดนั้น มาใช้ห้ำหั่นกัน ฆ่ากัน ตีกัน ก็ความเป็นนักปราชญ์ก็หายเลย ไม่มีแล้ว หัวร้างข้างแตก
อุปัชฌาย์อาจารย์ได้ทราบเข้า ก็ไม่รับไว้ในสำนัก ไล่ไปไหนก็แล้วแต่ อย่ามาได้อยู่ในสำนักวัดนี้เลย วัดนี้เขาไม่ฆ่ากัน ไม่ตีกัน แม้แต่ริ้นตัวหนึ่ง มาตอมเรา แมลงวันตัวหนึ่งมาตอมเรา เราก็ไม่ฆ่า ไม่ได้ตีมันเลย เออ อันนี้คนแท้ๆ มาว่าอย่างงี้ ทำให้ผิดอกผิดใจ แล้วเกิดโมโหโกรธาขึ้น ไม่มีความอด ให้ แน่ะๆ ตัวเองไว้ ถ้ามันโมโหขึ้นมา แน่ะๆๆ อย่านะๆ อย่าแสดงออก ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อย่าให้มันกำเริบเสิบสานขึ้นมาได้ ระงับมันเสียเดี๋ยวนั้นด้วย เลยเป็นผู้ชนะ
อักโกเธนะ ชิเน โกธัง
เพิ่นบอกว่า
จงชนะความโกรธของเขาด้วยความไม่โกรธของเรา
ชนะความตระหนี่ของเขาด้วยความไม่ตระหนี่ของเรา
เรามีอะไรให้ ให้หมู่ให้พวก ให้เพื่อนให้ฝูง ให้ครูบาอาจารย์ ท่านทำอะไร ท่านมีกิจอะไรที่จะต้องทำ แล้วเราก็เป็นลูกศิษย์ เราก็เป็นผู้ให้ ทำให้ท่าน แม้แต่เย็บผ้าให้ครูบาอาจารย์ เราก็เคยเย็บ เย็บผ้าสบง เย็บผ้าจีวร เย็บผ้าอังสะ เย็บย่าม เย็บอะไร เราทำเป็น เราทำได้หมด ทำให้ครูบาอาจารย์เราหมด มันสกปรกมาก็เป็นหน้าที่ของเรา ที่จะซักฟอกทำความสะอาด แม้เป็นหน้าที่ของผู้น้อย ผู้บวชทีหลัง ช่วยกันทำเอง ต้มน้ำแก่นขนุน ซักผ้า ซัก เออ ผ่อนให้ท่าน ไว้ให้สะอาด เหม็นกุย(เหม็นสาบ) เหม็นสาบได้ ผ้าไม่ซักสักที แต่ห่มไปแมลงวันไล่ตอมหึ่งไป แมลงวันตอมไปยาวๆ(บินวนไปมาและจำนวนมาก) หึหึ เออ แมลงวันแมลงอะไรมันชอบ กลิ่นอย่างนี้มันชอบ วิ่งเป็นพรวนไปล่ะ
นี่ เพราะฉะนั้น ให้จำไว้ ข้อเตือนเบื้องต้น อันนี้ทำให้เราเป็นพระ เป็นเณรที่ดีได้ แอ้ เป็นญาติ เป็นโยม ถ้าเป็นคนเข้าวัดเข้าวา จำศีลภาวนากันแล้ว ยังไปทะเลาะกันให้ชาวบ้านชาวเมืองเขาเห็นอีก จ้อน(รั้งผ้านุ่งให้สูงขึ้น)ซิ่นใส่กัน จ้อน(รั้งผ้านุ่งให้สูงขึ้น)ผ้าถุงใส่กัน จะฆ่าจะตีกัน อ้า
มี แม่ขาวที่วัดเรา เคยมีแม่ขาวชนิดประสาท ประสาทขึ้นแล้วเกิดถกผ้าขึ้นมา ถกตีน ถกตีนซิ่นขึ้นมา ทำท่าจะเตะกัน ตีกันพู้น(โน้น)ล่ะ แม่ ทำไมทำอย่างงั้นล่ะ เราอยู่ในเพศถือศีล จำศีลภาวนาแล้ว ยังจะเอาความโมโหโกรธา มาใช้กับหมู่ กับคณะ น่าอายนักปราชญ์บัณฑิตท่านไหม อายนักปราชญ์บัณฑิตท่านไหม ของเหล่านี้เป็นของห้ามตัวเอง ไม่ได้ลุอำนาจแก่ความโกรธ ไม่ได้ลุอำนาจแก่ความไม่พอใจ ของเหล่านี้มันเกิดขึ้นที่ใจเรา ถ้าเราไม่มีโกรธ มันก็เข้าหูคนอื่นไปปะเนี่ย ด่ากันว่ากันอย่างงั้นอย่างงี้ ก็เข้าหูคนอื่นไป คนอื่นก็อดไม่ได้ ก็ลามปามใส่กัน ธรรมดาก็ไม่มีอะไรหรอก แม่ขาวแม่ชี ที่เป็นอาวุธมีแต่ไม้สากกะเบือ ตำพริก ตำบักส้ม(ส้มตำ) ตำส้มตำ ส้มอะไร จับได้พอดีมื้อ พอดีมือ ก็ใส่หัวกัน เฮอะ ตีหัวกัน หัวร้างข้างแตก เลือดไหลอาบ ได้ไปทำแผลกันที่โรงพยาบาลอย่างนี้ เอาอย่างงั้น เหรอ เอาอย่างงั้นก็ไม่ต้องมาปฏิบัติให้เหนื่อย เข้าวัดเข้าวาให้เหนื่อยทำไม ถ้าจะเอาอย่างงั้น ไปสมัครเป็นนักมวยกับเขาโน้นดีกว่า เป็นนักชก นักมวยเขา เป็นนักรบกับเขาโน้น เอาค้อนก็ได้ เอามีดก็ได้ เอาขวานก็ได้ เราเป็นผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว ก็อย่าให้มีเรื่องอย่างนั้นเกิดขึ้นในวัดของเราเป็นอันขาดน่ะ
นี่เป็นสาธารณะ ธรรมะอันนี้เป็นสาธารณทาน ทานให้ได้ยิน ได้ฟังทุกโค้นทุกคน ไม่ได้หวงไว้เฉพาะ ผู้จะบวชพระบวชเณรเท่านั้นหรอก ผู้เป็นแม่ขาวแม่ชี ถือศีลกินเจกัน อย่าละโมบ เรียบร้อย การทะเลาะวิวาทกันไม่มีในวัดที่เราอยู่ ใครมีเรื่องถกเถียงกัน ด่าว่ากันเสียๆ หายๆ ก็อย่าให้มีเลย อย่างนั้นอย่าให้มีเลย
เทวดายกมือสลอน พนมมือสลอน เห็นผู้จำศีลมาแล้วก็ เขาก็ยกมือสลอน มาจังหัน มาขันหมาก มาทำบุญให้ทานอยู่เรื่อยๆ เทวดาทั้งหลายยกมือโมทนาสาธุการด้วย เวลาพระให้พร ก็เทน้ำเทท่า อุทิศกัลปนาผลให้แก่พวกวิญญาณทางอื่นด้วย ผู้ตายไปแล้วยังไม่มีผู้ให้ส่วนบุญ ก็ยังแสวงหาบุญอยู่นั่นแหละ ไม่มีบุญจึงไม่ได้ไปเกิดกับเขา ทนทุกขเวทนา เป็นเปรต เวทนาแสนสาหัสสากรรจ์ อดๆ อยากๆ อย่างนั้นก็ ให้พวกเราผู้เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา เป็นพระ เป็นเณรก็ดี เป็นแม่ขาว แม่ชี แม่จำศีล จำธรรมก็ดีให้เทวดาทั้งหลายโมทนาเอากับส่วนบุญ ที่เรากระทําบำเพ็ญนี้เหมือนตนทำเองเถิด ถ้าโมทนาแล้ว หากตกทุกข์ ขอจงพ้นจากทุกข์ ถ้าถึงสุข ก็ให้สุขภิญโญยิ่งๆ ขึ้นไปสมมโนมัยปรารถนาของข้าพเจ้าทุกประการเทอญ เนี่ย
เทวดาก็ยกมือสลอนเอา ผู้ที่ยังไม่เป็นเทวดา เป็นผีอยู่ก็มี หึ ยังไม่เป็นเทวดาธรรมดา เป็นคนธรรมดาสามัญ มีกิเลสหนา ปัญญาหยาบอยู่ อาจจะด่าว่ากับผู้จำศีลจำธรรม ก็อาจจะเป็นได้ ผู้รักษาศีลน่ะ มันจึงมาเข้าวัดเข้าวา มาฟังพระท่านเทศน์ ท่านแสดงให้ฟัง หลวงปู่ก็ไม่ใช่คนดีวิเศษอะไรนักหนาหรอก แต่ว่าพูดเรื่องโลกๆ อย่างนี้พูดได้ พูดให้ฟังกันได้ ข้ออื่นยังมีอยู่อีกมาก การ อาการกายวาจาใจของเรา ที่ยังไม่ได้สังวรระวัง ยังมีอยู่เยอะ เราจะต้องสังวรระวังหนักเข้าไปอีก
สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มีการสงบระงับจากบาป บาปธรรมทั้งหลาย ที่มันเกิดขึ้นในใจเรา เราระงับไว้ได้
(แจ้งหมดเวลา)
เบรก เบรก เบรกแตกเหรอ
อ้า เอาล่ะพอดีแล้ว ที่พรรณนามาเพื่อให้เข้าใจ ถ้าผู้มีสติฟังรู้อยู่ ก็จะนำไปสังวรระวังตัวเองแต่ละคนๆ ให้พวกจะบวชเป็นพระเป็นเณรก็ดี ผู้บวชเป็นขาวเป็นชีก็ดี ผู้มาจำศีลจำธรรมก็ดี นำไปอดไปทน ไปประพฤติปฏิบัติตนเองอยู่ในขอบข่ายของศีลธรรม
เจ้าอาวาสเพิ่นมาเบรกเรา เบรกเราจะแตกแล้ว ถ้าเบรกแตกแล้ว ก็จะถลาไถลไปทุกหนทุกแห่งนั่นแหละ ล่ะปะเนี่ย
ที่ได้แสดงมา เพื่อต้องการให้ผู้ฟังเข้าอกเข้าใจ นำไปประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกให้ต้อง อย่าออกนอกลู่นอกทาง ต่อแต่นั้นก็จะได้ประสบพบเห็นแต่ความสุขความเจริญทั้งทางคดีโลกและทางคดีธรรมทุกประการ รับประทานวิสัชนามา ก็ยุติโดยเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
(สาธุ)
สามเณรนอนหลับก็มีน่ะ
นอนหลับ นอนหลับลงไปอย่างงั้น
งง งงเลยนั่นน่ะ
ขันติ หิตะ สุขาวะหา
ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข
ขันติ ธีรัสสะ ลังกาโร
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
ขันติ ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
ขันติ คือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง
อักโกเธนะ ชิเน โกธัง
พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาระ
บริขาร คือ ยารักษาโรคอันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนป่วย
ปรัมปรโภชน์ [ปะ-รัม-ปะ-ระ-โพด]
โภชนะทีหลัง คือ ภิกษุรับนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งด้วย
โภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ไปฉันในที่นิมนต์นั้น
ไปฉันเสียในที่อื่นที่เขานิมนต์ทีหลังซึ่งพ้องเวลากัน
มหาภิเนษกรมณ์ [มะ-หา-พิ-เนด-สะ-กฺรม]
การเสด็จออกบรรพชาของพระพุทธเจ้า
บีฑา [บี-ทา] เบียดเบียน บีบคั้น รบกวน เจ็บปวด
(ฆ่าตีบีฑ์โบย)
สิกขาบท ๘
ปาณาติปาตา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากการฆ่า เบียดเบียนสัตว์อื่น
อะทินนาทานา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
อะพ๎รัห๎มะจะริยา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
มุสาวาทา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากของเมา คือ สุราอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
วิกาละโภชะนา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากการบริโภคอาหารยามวิกาล
นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสสะนา มาลาคันธะ วิเลปะนะ
ธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการเล่น
และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ
เครื่องทา เครื่องย้อม
อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน
ภายในมีนุ่นหรือสำลี
อานิสงส์ของการรักษาศีล
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
สิกขาบท ๘ เหล่านี้
สีเลนะ สุคะติง ยันติ
ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงสุคติ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา
ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้ไปถึงนิพพาน
ตัส๎มา สีลัง วิโสธะเย
เพราะฉะนั้น ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษ
สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร พระเสรีบุตรบรรยาย
ธรรม ๗ อย่างที่แทงตลอดได้ยาก ได้แก่
สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ)
๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ
๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล
๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน
๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล
๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร (๓๓) ข้อ ๓๓๑ ทสุตตรสูตร (๓๔) ข้อ ๔๓๙
บทคัดย่อบางส่วน)
โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง
ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
ที่นอนที่นั่งอันสงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค
การประกอบความเพียรในอธิจิต
เอตัง พุทธานะ สาสะนันติ
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร (๑๔) ข้อ ๕๔)
ปรายนา [ปะ-รา-ยะ-นา] เบื้องหน้า
(บางแห่งใช้หมายถึง พ่ายแพ้ที่สุด)
กัลปนา [กัน-ละ-ปะ-นา]
เจาะจงให้ ยกให้ ส่วนบุญที่ผู้ทําอุทิศให้แก่ผู้ตาย
(ต่อมาความหมายขยายกว้างไปกว่าเดิม
หมายถึง ที่ดิน เรือกสวน ไร่นา สิ่งของและคน
ซึ่งผู้เป็นเจ้าของหรือเจ้านายอุทิศให้แก่ศาสนาด้วย)
๖๑