หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
วันอังคารที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๒๐.๐๐ น.
ณ วัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ
อ.เมืองเลย จ.เลย
ฝนตก
(ทำวัตรเย็น)
พอ เหลือกินเหลือใช้แล้ว ไหลมาเทมา อย่าได้ปรามาส ถ้าประมาทแล้ว กรรมอะไรๆ ก็ไหลเข้ามาหาหมด ถ้าพิจารณาอย่างนี้ทุกวันๆ เอาตัวเว้นกรรมที่เป็นบาปช้า ทำแต่กรรมที่เป็นบุญ เอาแต่บุญเท่านั้น ยิ่งมีมันเป็นบาป ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มันเป็นบาปแน่นอน ลักจกฉกฉ้อ ขโมยกินของผู้อื่นก็เป็นบาป เราไม่ลัก เราไม่หยิบ เราไม่เก็บ ไม่กำ ไม่กอบ ไม่โกยเอาของใคร มาในทางที่ชอบเราจึงใช้ มาในทางที่ไม่ชอบเราไม่ใช้ ตั้งใจไว้เด็ดขาด อย่างงั้น แต่ว่าผู้มีปัญญาเอาตัวรอดได้ ผู้มีปัญญาหาแต่ตัวที่มันตายแล้ว มาทำอาหารการกิน ทำบุญ กินทานอะไรก็ดี พอมันที่ตายแล้ว เราไม่ได้สั่งให้เขาทำ เขาทำมาเอง แช่เย็นมาแล้วด้วย ส่งมาแต่กรุงเทพฯ พู้น(โน้น) มาถึงเมืองเลยเรา ตายมาแล้ว เย็นมาแล้ว เป็นน้ำแข็งมาแล้ว แล้วก็เอามาจัดการน้ำร้อนลวกเข้า หรืออะไรเข้า ต้มยำทำแกงขึ้น ก็ไม่เป็นบาปเพราะเขาตายมาแล้ว เราเอาของตายมาทำอาหารการกิน มาทำบุญสุนทาน อย่าให้เดือดร้อนถึงสัตว์อื่น มาเชือดคอเป็ด คอไก่ เชือดหมู เชือดวัว เชือดควาย เชือดให้มันตายดิ้นพราดๆๆๆ ต่อหน้าต่อตาเรา อย่างนั้นเราจะปฏิเสธยังไงล่ะ หือ เราก็จะได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน
เพราะฉะนั้น เราผู้มีปัญญาได้ศึกษามาแล้ว ครูบาอาจารย์สอนแล้ว ให้จำเอา รู้จำ ไปทุบหัวเขา ไปตีเขา ไปหักขาเขา หักคอเขา เหล่านี้จะเอาบาปไปไว้ไหนอ่ะ จะปฏิเสธกลับไปยังไง ไม่ต้องปฏิเสธ อืม เรารับเสมอ เพราะเราไม่ได้กระทำ ไม่ได้สั่งด้วย ไม่ได้สั่งให้คนนั้นเชือด คนนี้ฆ่าด้วย เขาตายมาแล้วอยู่ในตลาด แช่เย็นมาแล้วด้วย แล้วมาไปเลือกเอาของที่บริสุทธิ์เหล่านั้น ถ้าทำบุญมาเลี้ยงชีวิตและครอบครัว เราก็ไม่มีโทษ เราไม่มีโทษหรอก เขาทำมาตั้งแต่ไหนไม่ได้สั่งเขาเลยนะ นั่น ให้รู้จักเลือกเฟ้นเอา เลือกคัดจัดสรรเอา
แต่คนอื่นทำมันไม่อร่อย เหมือนเราทำเลยว่า เราเชือดคอเขาเอง มันจึงอร่อย ตีหัวเขาดิ้นพราดๆๆๆๆๆ ตายแล้ว มันจึงอร่อยอย่างงั้นเหรอ เออ ถ้าไปคิดอย่างงี้ ก็หนีไม่พ้น เป็นการกระทำของเราเอง เราจะปฏิเสธยังไง ถ้ายมบาลถามเรา ไม่ต้องปฏิเสธ ข้าพเจ้าแบมือให้ดูด้วย มืออย่างนี้ไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แม้แต่ยุงมากิน เป่าเอาๆ ปัดเอา เป่าเอา แมลงมาตอม เอากระดาษทิชชู่มาเช็ดเอา ปัดมันไปๆ ไม่ต้องให้มันตาย ยุงก็ดี พวกมด พวกยุง พวกหมัด พวกแมง พวกอะไรเหล่านั้น อย่าให้มันได้ตายด้วยน้ำมือเราเป็นอันขาด ปัดเอา เป่าเอา มีน้ำมงน้ำมันก็กันมันไว้บ้าง อย่าให้มันมารบกวน อย่าให้มันมารบกวน ไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้นมันจึงพ้นจากกรรม จากบาป โอ้ มันมาหลายอย่างงี้ทำไง เอานั้นมาฉีดเอา เอายามาฉีดกันยุงเอา มันก็ตายเป็นพันๆ หมื่นๆ นู้นล่ะ ฉีดกันยุงกันปลวก ฉีด แน่ะ ทำอย่างงั้น ได้ไง เป่าเอา ปัดเอา เป่าเอา ไปอยู่ที่อื่น โว้ย สหายเอย เพื่อนเอย ที่นี้มารบกวนกันมันจะไม่เห็น เดี๋ยวมันจะเหยียบไป แล้วก็แบนไป โดยไม่รู้ ไม่มีเจตนา แต่ว่ามันก็ตายเหมือนกัน เราเหยียบมัน พวกมด พวกปลวกทั้งหลาย เราเหยียบมันไป มันมาหลายๆ เราก็โดดข้ามมันไปเอา เออ พยายามหลีกเว้นเอา เว้นน่ะ อย่าได้กระทบกระเทือนในการกระทำของเราเป็นอันขาด
เนี่ย รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง ไม่ใช่ว่า ไม่หลบ ไม่หลีก ต้องหลบหลีกเอา เราต้องการบริสุทธิ์ ทางกาย วาจา ใจของเรา เราก็เว้นเอา เออ อย่าให้มันกระทบกระเทือนถึงชีวิตผู้อื่นเขา มันกระทบกระเทือนอย่างแรงอยู่นะ อย่างว่ามีรังผึ้งเกิดขึ้นภายในวัด อย่างนี้ก็ยังมา เอาไฟมาเผามัน เผาของรังผึ้งให้มันตกหล่น แม่มันตายไปแล้วจึงค่อยเอารังมันมา ทั้งลูกทั้งอะไร มันเอาไปเลย อย่างนี้ก็มี แต่มันมาอาศัยอยู่กับเรา ทำยังไงล่ะ เพราะฉะนั้น อย่าได้เบียดเบียนมันเลย ช่างเขาเถอะ เขาอยากมาก็ให้เขามา เอิ้น(เรียก)น่ะ ฮัง(รัง)ต่อ เหล่านี้ก็ฮัง(รัง)ต่อ รังแตน รังผึ้ง ยังไงก็ตาม ถ้าเขามาอยู่ที่นี่ก็ตามเขา เอามาอยู่ต้น ร่มไม้ชายคาของเรา ก็เรียกว่า เขามาให้ความร่มเย็น แต่เขาเองขอพึ่งความร่มเย็น แต่เขาเองน่ะเขาอยู่ชายคากุฏิ หรือชายคาศาลา หรือที่ไหน ในโบสถ์ ในวิหาร ที่ไหนมัน ที่ไหนมันมี มันก็ไปแหละ ไปอยู่ใต้ร่มเงาของวิหาร มันก็มาทำรังใส่ที่นั่น อยู่ที่นั่น พวกผึ้ง พวกต่อ พวกแตน เอาที่ไหนปลอดภัยเขาก็อยู่ที่นั่นแหละ แต่เราตั้งใจว่าจะไม่เบียดเบียน สัตว์เหล่านี้ที่มาพึ่งพาอาศัยเรา เราจะไม่เบียดเบียน ให้เขาได้รับความเดือดร้อนเป็นอันขาด ไม่ใช่เดือดร้อนธรรมดานะ ลูกเต้าอ่อนๆ แก่ๆ มันไม่มีปีก ไม่มีอะไรมันไปไม่ได้ มันตายกับไฟหมด ไฟไปเผารังมัน อันนี้ก็พิจารณาด้วยปรีชา อย่างชาญฉลาดของตัวเอง ใช้ปรีชาอันฉลาดของตัวเอง มันจึงเอาตัวรอดได้
ถ้าไม่มีปรีชาอันฉลาดแล้ว เออ นี่กระทบกระเทือนแม่เราเหมือนกันนะ แม่เรามาบวชเป็นแม่ขาวอยู่ที่นี่ ไปบอกเขาอยากกินหมกฮวก(ลูกอ๊อด) เออ ไปหาฮวก(ลูกอ๊อด)มาหมกให้แม่กินแหน่ ว้า เฮ้ย
มันไม่ใช่แม่ขาว โว้ย เป็นแม่ขาวแม่ชีไปสั่งให้กระทบกระเทือนเขาไม่ได้หรอก ไม่ได้ๆๆๆ ไม่ให้มี มีก็จะกิน ไม่มีก็ไม่ต้องกินมัน ถ้าสั่งให้เขาไปส่อน(สวิง)ฮวก(ลูกอ๊อด) ส่อน(สวิง)ฮวก(ลูกอ๊อด)กบ ฮวก(ลูกอ๊อด)เขียด มาหมกให้กิน จะได้กินได้อร่อย ก็ลูกเขาแหน่ ลูกเขาแหน่ เพราะฉะนั้น
กัมมัสสะโกม๎หิ
กัมมะทายาโท
กัมมะโยนิ
กัมมะพันธุ
กัมมะปะฏิสะระโณ
เราก็สวดไปแล้วอยู่ทุกวันๆ อย่าให้กระทบกระเทือนไปถึงชีวิตสัตว์อื่น อ่ะเนาะ(นะ) เนี่ย ถ้าเป็นพระ เป็นเณร เป็นแม่ขาว แม่ชี ไปสั่งให้เขาไปส่อน(สวิง)ฮวก(ลูกอ๊อด) ส่อน(สวิง)ฮวก(ลูกอ๊อด)กบ ฮวก(ลูกอ๊อด)เขียด หากุ้ง หาซิวมาให้ ไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่แม่ขาวแม่ชีแล้ว แต่เห็นแม่ขาวพวกหนึ่ง มา เดินทางมาจากทางใด มาอยู่หน้าวัดเรา พู้น(โน้น)น่ะ ลงงมหอยอยู่หนอง หนองมน หนองยาว งมกุ้ง งมหอย ส่อน(สวิง)กุ้ง ส่อน(สวิง)ซิว อยู่แถวนั่น แต่ว่าไปบวชเป็นแม่ขาว ทำยังไง ทำอย่างงั้นได้ไงฮะ ถ้าเป็นลูกศิษย์เรา เราจะเอาไม้เรียวตี หึ สักเพี้ยะ ๒ เพี้ยะซะก่อน ทำไมไปทำอย่างงั้น เราเป็นแม่ขาวแม่ชี ทำไมทำงั้น เออ ทำไมยังไปงมกุ้ง งมซิว งมหอย งมปู งมหอยกับเขาอยู่ อย่าให้กระทบกระเทือนถึงชีวิตผู้อื่นเขาอย่างงั้นหรอก แต่แม่ขาวทาง อื่นน่ะ ไม่ใช่แม่ขาววัดเราว่ะ อืม ถ้าเป็นแม่ขาววัดเราไปทำยังงั้น มาบอกได้นะ จะจัดการเองเลย หึหึ เอาไม้เรียวตีเอา ไม้เรียวตีเอาเพี้ยะๆๆ ตึบๆๆ เราไปเจอทีหน้าทีหลังเจอหนักกว่านี้นะ แม่ขาวแม่ชีไปส่อน(สวิง)ฮวก(ลูกอ๊อด) ส่อน(สวิง)กุ้ง ส่อน(สวิง)ซิวมากินเอง มันก็เสร็จพอดีแล้ว ปากกว่าตาขยิบน่ะไม่เอา อย่าให้กระทบกระเทือนชีวิตสัตว์อื่นยังไงหรอก
แม่เรา เราเอาหนักๆ ร้องไห้ เอาไง จะบวชอยู่หรือจะกลับบ้านน่ะ อ้าว กลับบ้านแล้วจะไปเฮ็ดจั่งใด๋(ทำยังไง)ล่ะ จะไปหาส่อน(สวิง)กินเองบ่ บ่เอาไร อย่างงั้นอยู่นี่แหละ ให้มันตายที่นี่ หลวงปู่จะหามาให้กินเอง เอาแต่ของตายแล้วมาให้กิน ของที่ไม่ตายอย่าไปเบียดเบียนเขาบอกไว้ อยู่ไปอีก เช้าแล้ว เช้าร้องไห้แล้ว นั่นแหละจึงมาตายที่หลังหรอก นั่นแหละมันเศร้าหมอง มันขุ่นมัวในใจ มันเศร้ามันหมองอยู่ในใจเรา รู้จักบ่ เราเลี้ยงลูกมากี่รุ่นแล้ว ลูกตายหมด ตายหมดทุกคนเลย เออ บ่มีเหลือ ตายคืนเดียว ๕ คน ปีนั่นน่ะ อหิวาตกโรคเข้าบ้าน แต่ว่าอีผีบ่อยากนี่ มันจึงบ่ได้ตายกับเขา น้องๆ ลงไปนอนโลงหีบ ๖ ๕ คน ตายไปหมด แต่ว่าอ้ายนี่ผีบ่อยาก โว้ย มันก็เลยบ่เอาไป หมอมาทันพอดี เอายาหวานๆ มาให้กิน กินแล้วมีแห้งคอวาบ อหิวาตกโรคเนี่ย มันเป็นหมดทั้งบ้านทั้งเมือง บ้านนั้นเด็กน้อยมีเท่าไหร่ตายหมด เออ แม่ของเรา พ่อของเรามีลูกตั้งหลายคนตายไปหมด เหลือตั้งแต่อ้ายผีบ่อยากเนี่ยปะเนี่ย ผีบ่อยาก เออ ก็เลยได้นามว่า บักผีบ่อยาก เอยอ่ะนะ อ้า แต่ว่าทำอยู่ทำบาปทำกรรม ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ทำอยู่ อืม ถ้าเอาก็เอาหลายน่ะเนี่ยเพิ่นเนี่ย ถ้าไปติดส่อน(สวิง)หย่อนแห บ่ได้เอาหน่อยนะ เอาให้มันได้เต็มข้อง(ใส่ปลา) พูดแล้วจึงเอา น่ะ
สมัยครั้งหนึ่ง แม่ แม่บอกไปเลี้ยงวัว เลี้ยงควายมาค่ำๆ มึงได้อะไรมากินบ้าง เออ มื้อ(วัน)นี้ไม่มีอะไรกินเลยน่ะ จึงได้เอาขาง(อังไฟ)หม้อไว้ แม่ขาง(อังไฟ)หม้อไว้ ตั้งหม้อไว้นะ ตั้งหม้อไว้ ไปผู้เดียว ใช้ปัญญาเอา ใช้ปัญญา เงาะ
เจ้าเงาะหาปลา
ทำยังไง ปลาหนอง ปลาหนองชาวบ้านเขาเนี่ย ตามนั่น หนทางผ่านมานั่น มันหลายปลา หนองนั่นหลายอยู่ ไปแล้วก็ได้กาบกล้วย แล้วก็ตีน้ำ ตีน้ำ ปุมปัมๆ ทางนี่ปลาไป ก็ตีน้ำ เอากาบกล้วยตีน้ำ ตีน้ำ ตึมตัมๆ ไอ้มันบ่มีปัญญา มันก็ไปหาที่เพิงมันปะเนี่ย เพิงรังเข้าหลุม หลุมปลาเขาอยู่ฝั่งตลิ่งทั้งนั้น เขาเอาขอนเอาไม้ไปใส่ตรงนั้น ใส่หมดแล้วนั่นแหละๆ มันจะเอา เอาคนเดียวล่ะ บ่ต้องเอาหลายหรอก ตีจนเมื่อยแล้วเรา ตีเมื่อยแล้ว ทางนู้นป้อง ทางนี้ก็ป้อง ไปๆ ป้องทางนู้น ป้องทางนี้ เอากาบกล้วยตีน้ำ มันก็ดังแสบแก้วหูมันก็วิ่งเข้าพู้น(โน้น)แหละ มันวิ่งเข้าเยาะ มันมีขอน ไม้โคนก็มี ไม้ เออ ไม่มีก็มี มันวิ่งเข้าไปในนั้นหมดแล้ว พอมันเข้าไปหมดแล้วน่ะ หมด ข้างนอกไม่เห็น บ้อนๆ (ผุด) ที่ไหน และก็เข้าไปนั่นหมดแหละ แล้วไปหว่านแห หว่านแหแล้วก็ ดึงตีนมัน ติดดินๆๆๆ อยู่ แต่ที่ประตู มันไม่ไปปิด เอาไม้โบ๊ะไว้ เอาไม้โบ๊ะไว้ตรงนั้นน่ะ แต่ว่าทางนี้ก็ไล่ไปพวกให้มันมา ก็นั่งสูบยาเฉยอยู่น่ะ สูบบุหรี่เฉย อยู่น่ะ อ่ะนี่ไปหยุ้ม(ล้อม)อันนั้นพู่น ไปหยุ้ม(ล้อม)เยาะทางในพู่น เข้าไปขยี้เอาขอนนั้นขอนนี้ จก(ล้วง) มันมีโคน มีโพรงที่ไหนก็จก(ล้วง) ให้มันตกใจ มันก็แล่น(วิ่ง)ออกมาเข้าแหหมด แต่ว่าแหเต็ก(กดลงให้แน่น)ตีนไว้ดีให้เรียบร้อยแล้ว ไพกุ๊บ(ตลบ)อยู่ในแหหมด อ้า
บ่แม่นสอนวิชาให้นะ นี่ปัญญาของเราเอง ไม่สอนวิชาให้เขาหรอก เวลานั้นก็ไปปลด นี่มันออกมาหมดแล้ว ในๆ ยวก(โยกขึ้นลงเพื่อล้างน้ำ) ออกมาหมดแล้วในนั้น ในสระน้อยๆ น่ะ มันออกมาอยู่ในแหนี้หมดแล้ว ปลดปับเหล่านี้ก็ เต็ก(กดลงให้แน่น)ตีนดีๆ ปะเนี่ย เต็ก(กดลงให้แน่น)ตีนดีๆ เต็ก(กดลงให้แน่น)ตีนแหดีๆ แล้วไปนั่งสูบยา เบิ่ง(ดู)มัน ให้อุบอยู่รอบๆ แห มันเข้าไปอยู่ ที่มัน อยู่กองแห ไปวนน่ะ อ่ะนี่ก็ เอาของ เอาข้อง(ใส่ปลา) เอาข้อง(ใส่ปลา)หนักเคียน(มัด)เอวซะแล้วก็ลงไป และก็งมเอาปะเนี่ย จับตัวนั้นใส่ข้อง(ใส่ปลา) จับตัวนี้ใส่ข้อง(ใส่ปลา)อยู่เลย
แต่ว่าหักเงี่ยงมันก็บ่หัก เออ จับก็ยัดลงข้อง(ใส่ปลา)นู้น เออ อย่ามันเจ็บ ถ้าหักคอมันนี้ บ่ๆ บ่ต้องหักมันหรอก ยัดลงไปโลด ยัดลงไปจนเต็มข้อง(ใส่ปลา)ยัดนี้ ข้อง(ใส่ปลา)ใหญ่กว่านี้ ว้า ข้อง(ใส่ปลา)ใหญ่กว่านี้ ยัดใส่ๆ จนเต็มข้อง(ใส่ปลา)แล้ว พอล่ะว้า พอแล้ว ยัดไม่ลงแล้ว เต็มข้อง(ใส่ปลา)แล้ว เอาแหละขนาดนี้พอใจแล้ว ปะเนี่ยก็เลิกแหขึ้นมาล้างน้ำซะ ยวก(โยกขึ้นลงเพื่อล้างน้ำ) ช่างหัวมัน ล้างแหๆ ให้มันดีๆ แล้ว อยู่เข้าอยู่ ยังไม่เก็บมาใส่นี่หมด มันเต็มข้อง(ใส่ปลา)แล้วปะเนี่ยก็ไปแล้ว ไปผู้เดียว ขนาดไม่ถึงชั่วโมงน่ะเราไป ได้ปลาเต็มข้อง(ใส่ปลา)มา เต็มข้อง(ใส่ปลา)มา แม่ แม่ ปลาได้แล้ว ขาง(อังไฟ)หม้อได้หรือยังอยู่ โอ้ย บ่เว่า(พูด)ใหญ่แต่หนอ เอ้า ก็เว่า(พูด)ใหญ่แล้ว แม่นมี มันเหลือข้อง(ใส่ปลา)ก็เลยเซา(เลิก) ไม่มีข้อง(ใส่ปลา)ใช้แล้วก็เซา(เลิก) บ่เอา เอาแต่เต็มข้อง(ใส่ปลา)เนี่ยล่ะ
เออ แม่ก็พาได้ข้อง(ใส่ปลา) ไปเทใส่โอ่ง โอ่งมังกร เทๆ รัวๆๆๆๆ ลง มันดีดกัน ตุมตัมๆๆ อยู่ในโอ่งมังกรโน้น ปัดโธ่ มึงไปเฮ็ดจั่งใด๋(ทำยังไง)เอา เออ เอ้า ก็ยังว่าเท้าเงาะหาปลาว่า เรียนมาจากเจ้าเงาะหาปลา อ้ายผู้เดียวก็เถอะ เต็มข้อง(ใส่ปลา) เต็มหาบ เต็มหามมา คุยใหญ่เฉย เออ แล้วแต่จะทำกินน่ะปะเนี่ย เออ อยู่นั่นแหละ อยู่ในบ่อแหละ เออ ต้ม อยากต้มก็ต้ม อยากแกงก็แกง อยากลาบก็หาเลือดมาลาบ มาก้อยเอา เออ นั่งเฉยอยู่ แม่ก็งึดง้อ(คิดไม่ถึง)อัศจรรย์น่ะ หึ ไปเฮ็ดจั่งใด๋(ทำยังไง) เอา เออ เอ้า บ่ยังเจ้าเงาะหาปลา ไปเรียนวิชาเงาะ แล้วหาปลามันจะยากอิหยัง เฮอะๆ
คุยใหญ่ เห็นแต่พ่อใหญ่คุยใหญ่ พ่อใหญ่ต้วนผัวยายนวล พ่อใหญ่สีบุญตา พ่อใหญ่หลวงสิมจันพร มีแต่คุย คุยใหญ่ๆ ทั้งนั้นแหละ อันนี้ก็ได้วิธีนำพ่อใหญ่เพิ่นละ เว่า(พูด)ให้ฟัง ไปหาก็คุยใหญ่ซะก่อน จึงไป แล้วก็บอก บ่ๆ ขี้ตั๋ว(โกหก)หรอก ไปพาแห ไปยามเมื่อแลง(ตอนเย็น)นี่สิ มันจะได้หยัง เอาวัวเข้าคอกแล้ว เอาควายเข้าคอกแล้วจึงค่อยไป มันไปเฮ็ดจั่งใด๋(ทำยังไง)
เอาก็ได้สมปรารถนา ได้ปลาเต็มข้อง(ใส่ปลา) กลับมาให้แม่ บ่ขายหน้า บ่หน้าแตก แน่ะ แต่ว่ามันจะเป็นบาปเป็นกรรมนั่นแหละ
ต่อแต่มาก็มาเป็นฝีใส่ขานี้ ก็แล้วปะเนี่ย เป็นฝีใส่ขา ไปบ่ได้ นอนกับที่ นอนรักษาตัวอยู่ที่นั้นจนสีซอเป็น เขาซื้อระนาดมาให้ ก็ตีระนาดจนเป็น ตีพิณพาทย์ระนาดฆ้องวงเนี่ย มื้อ(วัน)เดียวเท่านั้นแหละ ทำยังไง ก็เขียนเลขคู่ ๘ มันคู่ ๘ นี่ๆ คู่ ๘
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ อีกคู่หนึ่ง ต่อไปก็เป็นคู่ ๘ อีกต่อไป เขียน ใส่หัวมันๆ เขียนโด เขียนฟา เขียนมี เขียนเร เขียนที เขียนซอล ใส่หัวมันดีๆ แล้วก็ตีนั่นแหละ ตีระนาด ตีตามตัวเลข ตัวหนังสือมันน่ะ
โด เร เร ซอล โด เร มี ซอล เร เร เร ซอล ลา
ซอล มี ซอล มี เร โด ที ลา ซอล โด ซอล โด เร มี เร โด
เร มี เร มี ซอล ลา โด เร โด ลา โด ซอล ลา โด
ตีไปตามเพลง เพลงๆ เพลงทองย่อน เขาว่า เพลงพม่ารำขวาน เพลงเขมรเทวา ก็ตีไปตามตัวเลขนะ ตามตัวเลขมันเขียนไว้แล้ว เอ๋ มึงตีระนาดคาบเดียว มึงๆ เป็นเลย เป็นเพลงไปแล้วเออ เพลงชาติ มึงเที่ยวทำยังไง มันจึงตีได้ อ้าว ก็มันมีตัวหนังสืออยู่หัวมันแหน่ หัวระนาด
โด โด มี ซอล ซอล ซอล ลา ซอล ฟา ลา ซอล
มี ซอล มี เร เร เร มี เร โด โด
โด โด มี ซอล ซอล ซอล ลา ซอล ฟา ลา ซอล
แล้วก็สร้อย
ซอล ลา ที ลา เร ลา ที ลา ซอล ซอล ลา ซอล ฟา มี
ฟา ลา ซอล มี โด โด มี เร เร ลา ที ลา ซอล โด โด มี ซอล
ซอล ซอล ลา ที โด เร มี เร โด ลา ซอล ลา ที
โด มี โด เร โด โด เนี่ย มีชัย ชโย น่ะ
ก็ตีไปตามเพลงนี่ ก็ตีไปตามเพลง มันก็เป็นเพลงไปเลย เพราะว่าเขียนใส่หัวระนาดแล้ว เขียนใส่หัวมัน เขียนใส่หัว เขียนใส่กระดาษน้อยๆ ติดๆๆๆ ไปก็ตีตามนั้น ก็ตีตามนั้นล่ะ เพลงเขมรเอวบาง พม่ารำขวาน อ้า ทองย่อน ทองเยนอะไร มันก็ไปตามเรื่องมัน แหม ไม่เห็นมันยากอะไร ตั้งได้ก็เล่นมา กูฟังแล้ว มึงทำไมถึงตีเป็น หึ มึงทำไมถึงตีเป็น ตีเพลงอะไรๆ ก็ได้ หนอย ใช้หัวเอา อ่ะ บ่บอกเขาว่าเราเขียนใส่หัวมันไว้ ตีไปตาม ตามหัว แอ้ มันก็เป็นได้ สีซอก็เหมือนกัน ให้เขาเข่ง(ทำให้ตึง)ดีๆ ให้เข่ง(ทำให้ตึง)ซอให้ดีๆ แล้วก็เอาเลย เอาเลย นับเลย สีเลย สีเป็นเพลงได้เลย แหม มันอยู่ที่หัวเราหรอกอ่ะนะ ฟังเสียงสีซอมึงก็เป็น และมึงตีระนาด มึงก็เป็นอีก มึงไปเฮ็ดจั่งใด๋(ทำยังไง)ว่ะ อ่ะเฮอะ โอ้ย มันอยู่ในหัวนี่แหละ เพลง เอาโน้ตเนิ้ดมี โน้ตมันมี เอาโน้ตมากาง แล้วก็เขียนตามโน้ตมันไป เขียนตามโน้ตมันไป จังหวะจะโคนก็เอาตามเพลงอ่ะ เนื้อหาสาระมันก็ตามเพลงนั่นแหละ ก็ได้เลย แล้วก็ดีอยู่อย่างหนึ่ง มีความรู้ก็ดีอย่างหนึ่ง แต่ว่าเขาใช้งานเราน่ะ เวลามีการมีงาน เขาเอาเราขึ้นเกวียนไปนั่งตีระนาดอยู่ในเกวียน ผู้ตีกลองก็ตีกลอง ผู้สีซอก็สีซออู้ ทำอะไรก็ไปตามเพลง ฮึมๆ ไปทอดกฐิน อ้า จนหมดคืน เออ อันนั้นเพิ่นมานั่งดูเราตีเพลง ตี ล่ะเนี่ย มึงแกล้งทำยังไง มึงถึงทำได้อย่างเนี่ยว่ะ เฮาก็เขียนโน้ตมันเอา เขียนโน้ตมันใส่หัว เนี่ยโน้ตมันมีอยู่ โน้ตของเพลงเหล่านั้น โน้ตของเพลงไทย เพลงดอกดิน เพลงอะไร เขียนโน้ตใส่นี่แล้วก็ตีไปตามโน้ตมัน มันก็เป็น มื้อ(วัน)เดียวเท่านั้นแหละได้เลย เออ เพลงทง... เพลงทองย่อน ทองเยน เขมรเทวา พม่ารำขวาน เหล่านี้มันก็ได้เลย ตีไปได้เลย นั่น นี่ฝอยฝากไว้ซื่อๆ หรอก อยู่ที่ปัญญา
ปัญญายัตถัง วิปัสสะติ
มีปัญญาซะอย่าง มันก็ใช้ได้ ไปทางดนตรีก็ได้ ไปทางเพลงอะไรก็ได้หมด สีซอ อืม ด้วยประการฉะนี้ ฝอยซื่อๆๆ หรอก เพราะจึงให้ทำอะไรก็ เอาแหละ นั่งเมื่อยแล้ว นั่งเมื่อยแล้วอยากจะไปเข้าห้องแล้ว อ้า ด้วยประการฉะนี้
เพลงประเทศไทย ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
โด โด มี ซอล ซอล ซอล ลา ซอล ฟา ลา ซอล
มี ซอล มี เร เร เร มี เร โด โด
ไปจนจบเพลง เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี มันก็มีอยู่ในนี้ล่ะ ตีไปตามเนื้อเพลงมันก็ได้ สีซอก็เหมือนกัน ได้ตามเพลงมัน
เอ้า แม่ มาเอาเล่าไป แม่ปะเนี่ย
เราเดินบ่ได้แล้ว เดินบ่ได้แล้ว
ปัญญายัตถัง วิปัสสะติ
ย่อมเห็นอรรถแห่งธรรมชัดด้วยปัญญา
อะภิณ๎หะปัจจะเวกขะณะปาฐะ
ข้อที่พึงพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ
บทกัมมัสสะกะตา ความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
กัมมัสสะโกม๎หิ
เรามีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาโท
มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
กัมมะโยนิ
มีกรรมเป็นแดนเกิด
กัมมะพันธุ
มีกรรมเป็นผู้ติดตาม
กัมมะปะฏิสะระโณ
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ปัญญาสชาดก
(ปัญญาสะ แปลว่า ๕๐)
คือ นิทานเก่าแก่ที่เล่ากันในเมืองไทยแต่โบราณ ๕๐ เรื่อง
สันนิษฐานว่า แต่งขึ้นก่อน พ.ศ. ๑๘๐๓
ต้นฉบับเดิมเป็นคัมภีร์ลาน ๕๐ ผูก
พระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ รวบรวมแต่งเป็นชาดก
ไว้ในภาษาบาลี เช่นเดียวกับพระไตรปิฎก
โดยเจตนาจะบำรุงพระศาสนาให้ถาวร
และจะให้หนังสือซึ่งแต่งนั้นเป็นหลักฐานมั่นคง
เช่น นิทานเรื่องสังข์ทอง ซึ่งแพร่หลายมาก ทั่วประเทศ
สุวรรณสังขชาดก (ภาคเหนือ)
สุวรรณสังข์กุมาร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
สังข์ทอง (ภาคตะวันออก)
สังข์ทองกลอนสวด สังข์ทองคำฉันท์ (ภาคกลาง)
หอยสังข์ (ภาคใต้)
และ สังข์ทอง บทละครนอก พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒
สำนวนในภาคต่างๆ ของไทยรวม ๒๑ สำนวน
สำนวนในกลุ่มชนชาติไทใหญ่ ไทเขิน ไทพ่าเก
ไทใต้คง (ไม่มีใน ไทลื้อ ไทพวน) รวม ๖ สำนวน
โดยชื่อเรื่องเกือบทั้งหมด จะมีคำว่า
สังข์ทอง สุวรรณสังข์ เจ้าเงาะ หอยสังข์ หอยขาว
ในเรื่องจะพูดถึง มนตร์เรียกเนื้อเรียกปลา
(แบบเรื่องนิทานสังข์ทอง โดย วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน)
เพลงลาวจ้อย (สร้อยแสงแดง ลาวเซิ้ง ระบำไก่)
ทำนอง หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ
คำร้อง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
(คำร้อง คัดมาจากวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ
ตอนที่ปู่เจ้าเขาเขียวสั่งให้ไก่แก้วไปล่อพระลอ
มาเพื่อให้พบกับพระเพื่อน พระแพง)
ละครพันทาง เรื่อง พระลอ
แสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ แสดงถวาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ทอดพระเนตร เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก
โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “ละครหลวง นฤมิตร”
โน้ตเพลงลาวจ้อย
โด เร มี เร เร มี เร เร
โด เร มี ซอล เร มี เร โด เร มี ซอล
มี ซอล ลา โด ซอล ซอล มี เร โด เร มี
ซอล ลา โด เร มี เร โด ลา โด ซอล ซอล ซอล
ซอล ซอล ซอล ซอล ซอล ลา โด เร มี ลา ซอล
มี ซอล ลา ซอล ลา โด เร มี ซอล
ซอล ลา ซอล ซอล ซอล ซอล มี เร ซอล โด เร มี
ซอล เร มี เร โด เร มี โด
ร้องเกริ่นลาว
ปู่กระสันถึงไก่ ในไพรพฤกษ์
ปู่รำลึกถึงไก่ไก่ก็มา บ่ฮู้กี่คณากี่หมู่
ปู่เลือกไก่ตัวงาม ทรงทรามวัยทรามแรง
ร้องเพลงลาวจ้อย
สร้อยแสงแดงพระพราย ขนเขียวลายระยับ
ปีกสลับเบญจรงค์ เลื่อมลายยงหงสะบาท
ขอบตาชาดพะพริ้ง สิงคลิ้งหงอนพรายพรรณ
ขานขันเสียงเอาแต่ใจ เดือยหงอนใสสีระรอง
สองเท้าเทียมนพมาศ ปานฉลุชาดทารงค์
ปู่ก็ใช้ให้พี่ลง ผีก็ลงแก่ไก่
ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว ขุกผกหัวองอาจ
ผาดผันตีปีกป้อง ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน
เสียงขันขานแจ้วแจ้ว ปู่สั่งแล้วทุกประการ
บ่มินานผาดโผนผยอง ลงโดยคลองคะนองบ่หึง
ครั้นถับถึงพระเลืองลอ ยกคอขันขานร้อง
ตีปีกป้องผายผัน ขันเรื่อยเจื้อยไจ้ไจ้
แล้วใช้ปีกไซ้หาง โฉมสำอางสำอาด
ท้าวธผาดเห็นไก่ตระการ ภูบาลบานหฤทัย
(บทละครปรับปรุงจาก ลิลิตพระลอ)
เพลงชาติไทย
Thai National Anthem
โด โด มี ซอล ซอล ซอล ลา ซอล ฟา ลา ซอล มี
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
Thailand Is Founded On Blood And Flesh
มี ฟา มี เร เร เร มี เร โด โด
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
Thai People Share, Every Portion Of The Land
Belongs To Us,
ซอล โด มี ซอล ซอล ซอล ลา ซอล ฟา ลา ซอล ซอล ซอล ซอล
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
Thus We Must Care; The Reason Why This Country Still Exists
ซอล ลา ที ลา เร ลา ที ลา ซอล
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
Is Because The Thai People Have Long Loved
Another And Been United
ลา ลา ซอล ฟา เร ฟา ลา ซอล มี โด
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
We, Thai, Are Peace-loving People But In Time
Of War, Uncowardly, We’ll Fight To The Bitter End.
None Is Allowed To Oppress And Destroy
โด โด มี เร เร เร ลา ที ลา ซอล ซอล ซอล ซอล ซอล ซอล ซอล
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
Our Independence;
โด โด มี ซอล ซอล ซอล ลา ที โด เร มี มี มี มี
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
To Sacrifice Every Droplet Of Blood As
A National Offering, We Are Always Ready,
เร โด ลา ซอล ลา ที โด มี โด เร โด โด โด โด โด
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
For The Sake Of Our Country’s Progress
And Victory. Chaiyo
(เรื่อง เนื้อเพลงชาติไทยที่เป็นภาษาอังกฤษ
หนังสือ Slang ไม่ใช่ของแสลง
โดย Frank Freeman นามปากกาของ อิศรา อมันตกุล)
เพลงสรรเสริญพระบารมี
Sanrasoen Phra Barami
(Saimese national Anthem)
ฟา ซอล ฟา ซอล ลา ฟา
ข้าวรพุทธเจ้า
Hail to our King!
ฟา มี ฟา มี ฟา ลา ซอล
เอามโนและศิระกราน
Blessings on our King!
ซอล ลา ซอล ลา ฟา ซอล ฟา ซอล ลา
นบพระภูมิบาล บุญดิเรก
Hearts and heads we bow to
ลา ลา ลา ลา ซอล ลา โด ลา ซอล ลา โด เร
เอกบรมจักริน
To Your Majesty now,
โด เร ฟา โด เร โด เร ฟา ซอล
พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง
Of our loyalty we sing.
ซอล ซอล ซอล ซอล ที ลา ซอล ฟา
เย็นศิระเพราะพระบริบาล
Happily we live
ซอล ลา ซอล ลา ฟา ซอล
ผลพระคุณ ธ รักษา
by the care you give
ซอล ลา ซอล ลา ฟา เร ซอล ฟา ฟา
ปวงประชาเป็นสุขศานต์ ขอบันดาล
Great protector, hail to our King!
ลา โด เร โด เร ฟา โด เร ที โด
ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง
May the years bring fulfilment
เร ฟา ที โด เร โด เร ฟา ลา ซอล ฟา ฟา
หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย
in every thing. Blessings on our King!
(หลักฐานตัวจริงต้นฉบับโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี
หนังสือ National Anthems of the World
ตีพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓)
ปโยตร์ สชูโรฟสกี (Pyotr Schurovsky)
นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย
ได้ส่งบทประพันธ์เพลงประจำชาติสยาม
เข้าประกวด และได้รับเลือกเป็น
ทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมี (ในปัจจุบัน)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทาน
กล่องยานัตถุ์ ทำด้วยเงินสลักพระปรมาภิไธย
มอบให้แก่ผู้ประพันธ์เพลง
โดยมีนักดนตรี (พ่อค้าชาวดัตช์) ชื่อเฮวุตเซ็น (Huvitzen)
มีความสามารถเล่นเปียโนได้ ซึ่งได้เล่นเปียโนเพื่อให้
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงพระนิพนธ์ เนื้อร้องใส่ทำนอง
สูจิบัตรการแสดงครั้งแรก ตรงกับ
วันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๑
สัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๕๐ ในการเฉลิมพระชนม์พรรษา
(๑ มีนาคม ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไข เนื้อร้อง ฉะนี้ ให้เป็น ชโย)
(เรื่อง เพลงสรรเสริญพระบารมี
วารสารเพลงดนตรี กันยายน ๒๕๖๐ โดย สุกรี เจริญสุข
คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
๖๔