หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
วันเสาร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.๐๐ น.
ณ หมู่บ้านสีวลี
ฝนตกหนัก
เทวดาพวกนี้ พวกนิยมชมชอบ ถ้าพุทธบริษัทตั้งใจจะฟังเทศน์ จะฟังธรรมกัน โมทนาสาธุการด้วย ถ้าประพฤติปฏิบัติตามแล้วเทวดานิยมชมชอบ ถ้ารับไปแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติ ไม่รักษา เทวดาก็ส่ายหัว ไม่ไหวๆ กินเหล้า กินยาเฉยอยู่ ไม่ได้เอาใจใส่ในการปฏิบัติธรรมเลย เออ แล้วก็หัวเราะด้วย เทวดาหัวเราะ หาดื่มเหล้ากันสบายเลย ถ้างดเว้นได้ทุกสิ่งทุกอย่างน่ะ เทวดาสรรเสริญ เยินยอ อำนวยผล ให้ได้รับความสุขความเจริญให้หน้าที่และการงาน ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าประพฤติผิดไป เทวดาก็ยิ้มหัวเราะ อ้า ประพฤติผิดในศีลธรรมแล้ว รับไปแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติจริงจัง อ่ะ ฝนมาแล้ว
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
กัมมัง วิชชา จะ ธัมโม จะ สีลัง ชีวิตะมุตตะมัง
อิมัสสะ ธัมมะปะริยายัสสะ อัตโถ
สาธายัสมันเตหิ สักกัจจัง ธัมโม โสตัพโพติ
เทศน์อย่างอื่นก็เคยเทศน์มาแล้ว วันนี้จะเทศน์เรื่อง
กัมมัง วิชชา ธัมโม สีลัง ชีวิตะมุตตะมัง
สิ่งที่ทำให้ชุมชน มวลมนุษย์เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมีเท่านั้น
กัมมัง
หมายถึง การงาน การงานที่เรากระทำบำเพ็ญกันอยู่ การงานบริสุทธิ์ไหม เป็น เออ การงานที่สะอาดไหม
กัมมัง กัมมัง
หมายถึง การงาน
วิชชา
ข้อที่ ๒ หมายถึง วิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนศึกษามา ไปถึงปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ได้ด็อกเตอร์(doctor ผู้สำเร็จปริญญาเอก)ขั้นสูงสุดในชีวิตการศึกษาของเรา ถ้าเราประพฤติผิดศีล ผิดธรรม ผิดหนทาง ก็ชื่อว่าได้ความรู้ปลอมแปลง ไม่จริงจัง ไม่ประพฤติปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อย่างเป็นด็อกเตอร์มาสูงๆ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก กินเหล้าเมามาย แอ่นหน้า แอ่นหลัง อยากนอนที่ไหนก็นอน ตามถนนหนทางไปเรื่อยๆ อาเจียนหรือว่าหาถุงคลุมหัวคลุมหางตัวเองอยู่อย่างงั้น เขาเรียนมาทำไมอ่ะ เรียนแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติด็อกเตอร์(doctor ผู้สำเร็จปริญญาเอก)ทำให้เสียชื่อเสียง ทำให้ลูกหลานเอาเป็นตัวอย่าง ได้ความรู้สูงๆ เรียกว่าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เออ เอาตัวไม่รอด อยู่ในอำนาจของอบายมุขทุกอย่าง เล่นการพนันกันอยู่ที่นั่น อบายมุขดื่มเหล้าเมามายก็อยู่ที่นั่น เป็นอบายมุข เป็นปากแห่งความฉิบหาย เออ อบายมุขเล่นการพะเนาะการพนันเหล่านั้น เป็นอบายมุข เป็นปากแห่งความฉิบหาย ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม กล่าวมุสาวาท ดื่มกินสุราเมรัยเหล่านี้ เป็นปากแห่งความฉิบหาย มุขะ ตัวนั้น มันหมายถึง ปากแห่งความฉิบหาย เป็นทางหายนะเป็นทางเสื่อม ในการตั้งหลัก ตั้งฐาน ตั้งชีวิตและครอบครัวของตัวเอง ลูกเมียที่แต่งงานกันไปกับเขา ก็ใจจืด ใจจาง จืดจาง ห่างเหิน อ้า หวังพึ่งพาอาศัย แต่ก็มาล้างผลาญทรัพย์สิน เงินทองให้ฉิบหายไปด้วยอบายมุขต่างๆ มีการกินเหล้า มีการเล่นการพนัน ทำผิดกำหนดกฎหมายต่างๆ ทุกอย่าง อย่างไม่มีความอาย ไม่มียางอาย ที่จริงเราได้เรียนมาสูงแล้ว
กัมมัง
หมายถึง การงานที่ขาวสะอาด บริสุทธิ์
กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง
สัพพะปาปัง วินัสสันตุ อะเสสะโต
เพิ่นบอก เป็นหนทางนำมาซึ่งความฉิบหาย อยากมาเล่นการพนัน เมามายอยู่ ก็ชื่อ ชื่อว่าเป็นคนไม่ห่วงลูก ห่วงเมียตัวเอง ห่วงครอบห่วงครัวของตัวเอง หาแต่ความสนุกใส่ตัวเอง แถมยังมีการเที่ยวเตร่เฮฮา เที่ยวนอกใจเมียตัวเอง น่าเสียใจ นอกใจเมีย นอกใจผัวตัวเอง เป็นอบายมุข เป็นหนทางปากแห่งความฉิบหาย นำมาซึ่งความฉิบหายแก่ครอบครัวตัวเองโดยใช่เหตุ
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าประมาทเงินทองของประสงค์
มีน้อยใช้มากก็จะยากลงอีก ไม่ดี
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ พอดี ไม่ใช่ตระหนี่หรอก ไม่ใช่ความตระหนี่ถี่เหนียวหรอก กระเหม็ดกระแหม่ไว้ในกิจจำเป็น ที่จะต้องใช้เงิน
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้ามีน้อยไปสุรุ่ยสุร่ายจะยากลง โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ยากไม่พออยู่ ไม่พอกินแหละ หามาได้เพียง(สูงเสมอกัน)ตา ก็ได้มาไว้เพียง(สูงเสมอกัน)ตีน ได้ของต่ำๆ มาเพียง(สูงเสมอกัน)ตีนเท่านั้นน่ะ ก็เอาไปเล่นการพนันจนหมด ซื้อหวย ซื้อเบอร์ เล่นการพนันทุกชนิด ถ้าไปมัวเมาในการพนันแล้วก็เรียกว่าอบายมุข เป็นหนทางนำความฉิบหายมาใส่ตัว เงินพอใช้ก็ยังเป็นหนี้เป็นสินต่อไปอยู่
ยืม ถ้าไม่มีก็ยืม กู้ยืม ดอกเบี้ยเขาก็กินเหมือนกัน ไปยืมเขามา ไปกู้เขามาจากธนาคาร เขาก็เอาดอกเหมือนกัน แน่ะ เรียกว่าหาทางฉิบหายใส่ตัวเอง มีน้อย ก็จ่ายน้อยค่อยบรรจง ถ้าได้เงินน้อยๆ แต่พอไปใช้ ใช้มากๆ แล้วก็เลยเป็นยังไงอ่ะ หามาใช้หนี้เก่ายังไม่หมด แต่ก็ไปหาหนี้ใหม่มาเพิ่มอีก ไปเล่นการพนัน ไปเที่ยว ไปเฮฮา กินเหล้าเมายาเอาอีก มันไม่ใช่ได้กินฟรีๆ นะ กินแล้วต้องเสียเงิน กินเหล้าเมายาต้องเสียเงินทั้งนั้น แน่ะ มันก็ยากลง
มีน้อยใช้มากจะยากลง
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าประมาทเงินทองของประสงค์
คอยเก็บ คอยกำ ไม่ใช่ตะหนี่ถี่เหนียวหรอก เก็บเอาไว้ในสิ่งที่จำเป็นที่สุด เพราะว่าเราเกิดมาในกองทุกข์ เกิดมาในกองโรค โรคทั้งหลายมาอยู่ในตัวของเราหมด โรคปวดหลัง โรคปวดเอวโรคปวด ปวดแข้ง ปวดขา ปวดหัวตัวร้อน ปวดท้อง ปวดไส้ จะต้องมีจ่าย มันจึงจะไม่เป็นหนี้เป็นสินของหมอเขา หรือโรงพยาบาลเขา รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ไว้
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
เก็บหอมรอมริบเอาไว้เป็นทุน สําหรับส่งเสียลูกหลานให้ได้เล่าเรียนศึกษาสูงๆ กับเขา เออ
ไม่กระเหม็ด ไม่กระแหม่ สุรุ่ยสุร่าย ก็มันก็จะหมดไปโดยใช่เหตุ เพราะฉะนั้น พิจารณาให้ดีๆ น่ะ พิจารณาให้ดีๆ ไม่ใช่เพิ่นไม่สอน พระพุทธเจ้าเพิ่นสอนหมดทุกอย่าง สอนให้กระเหม็ด สอนให้กระแหม่ สอนให้ประหยัด ถนอมใช้
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้ามีมาก ใช้... ถ้ามีมาก ก็ใช้มากก็จะยากลง เป็นหนี้เป็นสินเขา พะรุงพะรัง ทำให้เพิ่มหนี้เพิ่มสินเขามากขึ้น ดอกผลมันก็ไม่มา มาก็ไม่คุ้มค่ายืมเขามา เขาเอาเดือนละเท่าไหร่ ร้อยละเท่าไหร่ หึ โอ้ย ไม่ หายใจไม่ทั่วท้อง ปีหนึ่งๆ เดือนหนึ่งๆ หายใจไม่ทั่วท้อง เพราะกลัวเจ้าหนี้ เขามาทวง มาถาม อ้า ทำให้หมดโดยใช่เหตุ เพราะฉะนั้น
(ฝนตกเบาลง)
กำลังมาอยู่ก็มี เนี่ย เออ ฝนตกก็แข่ง(ฝ่า)น้ำ แข่ง(ฝ่า)ก็ลอย(ไหลไปตามน้ำ)แล้ว มา มาได้ มีที่นั่งอยู่พอ พอไหม พอนั่งไหม อันนี้พูดเล่นๆ หรอก พูดทีเล่นทีจริง แต่มันเป็นความจริง พูดเล่นๆ แต่มันเป็นความจริง
ถ้าไม่รู้จักถนอม ไม่รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ ฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ ใช้จ่ายในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและครอบครัว ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไปกินเหล้าเมายาทางอื่น แล้วมาเก็บเอาเงินทางบ้านของเรา เหล่านี้เรียกว่าเหลือเฟือ หนี้สินนี่เหลือเฟือล้นตัว ก็เลยหาใช้จ่ายไม่ ไม่พอ ไม่พอจ่าย เพราะเราสุรุ่ยสุร่าย ไม่กระเหม็ด ไม่กระแหม่ ไม่ใช่ขี้ตระหนี่นะ ไม่ใช่ขี้ตระหนี่ถี่เหนียวนะ เป็นคนรู้จักกาลเทศะ
กาลัญญุตา
มัตตัญญุตา
รู้จักประมาณเอาเอง เราเป็นผู้มีครอบครัว แต่บุญของเราก็พอจะเลี้ยงตัวได้ ตั้งตัวได้ เป็นหลักเป็นฐานได้ มีบ้านมีช่องมีที่อยู่ที่อาศัย มีห้างร้านตลาดก็ได้ แต่เราไปฟุ่มเฟือยไปทางอื่น ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายไปทางไม่จำเป็น กินยาเสพติดให้โทษบ้าง เล่นการพนันบ้าง อะไรทำนองนี้ เขาเรียกว่าสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ เก็บหอมรอมริบ
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าประมาทเงินทองของประสงค์
ถ้ามีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้าหากมีน้อยได้น้อย ไม่ค่อยบรรจง จะใช้มากจ่ายมากก็จะยากลง ยากลงติดหนี้ติดสิน พะรุงพะรัง กู้หนี้ยืมสินเขามา ถ้าเอามาจ่ายแต่ละเดือนก็จะ คอตกอกหักไปตามๆ ธรรมดานะ เออ เพราะว่า ทีใช้ไม่รู้จักประมาณ
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
เพิ่นก็ว่าไว้หมดแล้ว ว่าไว้หมดแล้วธรรมะ เพิ่นสอนว่าไว้หมดแหละ รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ รู้จักรัก... เออ ใช้จ่าย อย่าให้สุรุ่ยสุร่าย สิ่งใดที่พอจ่ายจึงค่อยจ่าย สิ่งใดไม่พอจ่าย อย่าไปสุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย จะทำให้ยากลง
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้ามีน้อยใช้มากเราก็จะยากลง
ก็จะเสียหน้าเสียตา คนก็มัก(ชอบ)หน้ามัก(ชอบ)ตาน่ะ ดีไม่ดี เป็นข้าราชการเงินดาว์น เงินเดือนพอใช้พอใจ เออ
แต่ยังเป็นหนี้เป็นสินเขาอย่างนี้ แต่ไปยืม ไปขอ กับประชาชนที่เขาทำมาหากิน หาเช้ากินค่ำ ไปยืมเขา ไปกู้เขามา เขาก็ไม่ได้ให้ยืมเฉยๆ น่ะ มีดอกเนี่ย ร้อยละเท่าไหร่ต่อเดือน อย่างนี้มีถมไป เพราะว่า มีน้อยไม่ใช่น้อย ไม่ค่อยบรรจง มีน้อยใช้มากจะยากลงได้น้อยค่อยบรรจงเอาเด้ อ้า รู้จักกระเหม็ดกระแหม่ รู้จักรักษา
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าประมาทเงินทองของประสงค์
คนโบราณเพิ่นสอนลูกหลานอย่างงั้น เออ ให้ในหลวงเพิ่นเล่าเรียนศึกษาอยู่ประเทศนอก ไปเล่าเรียนศึกษาต่างประเทศนู้นล่ะ แต่ว่าไปโรงเรียนแต่ละวัน แม่ค่อยให้เงินค่าสามล้อ ค่าอะไรไปวันละเท่านั้นล่ะ กินก็กินน้อยๆ
เอาบางที่ก็ทำปิ่นโตให้ห่อหมกให้ไปโรงเรียน ไม่ได้ฟุ่มเฟือยหรอก ไม่ได้จ่ายอะไรมากมายหรอก บางทียังมีเงินเหลือมาใส่ถุงให้แม่ สมเด็จย่า มีเงินเหลือจ่าย ไม่ได้จ่ายอะไร มอบให้แม่ สมเด็จย่า เป็นคนเก็บ เก็บไว้นั่นแหละ วันหน้าวันหลังก็จะค่อยได้ให้อีก แน่ะ นี่เพิ่นเป็นๆ เจ้าเป็นจอม เป็นเจ้าคนนายคน กระเหม็ดกระแหม่มาตั้งแต่น้อย สมัยศึกษาเล่าเรียนอยู่เพิ่นเป็นอย่างงั้น แต่ว่าเห็นเขาขี่จักรยาน ก็อยากได้จักรยานไปโรงเรียนกับเขา เดินไปเอา ไม่ไกล บ้านพักกับโรงเรียนไม่ไกล เดินเอา ก็ขอเงินแม่ พอๆ ไปซื้อจักรยานกับเขา แม่ก็บอกว่า ประเดี๋ยวก่อน ให้มันมีซะก่อน อย่าไปเป็นหนี้เป็นสินเขา โรงเรียนอยู่แค่นี้ แต่ค่าอาหารกลางวันมันพอ พอมีจ่ายให้อยู่ เออ อันนี้มันเหลือเฟือไปแล้ว มีรถจักรยานขี่ แข่งกันไป แข่งกันมา ประเดี๋ยวไปอุบัติเหตุ รถหกล้มอะไรขึ้นมา เสีย เสียอวัยวะบางส่วน แข้งขาหัก อะไรหัก ข้อเคล็ด ข้อบวมไป ต้องเข้า เข้าโรงบาล โรงพยาบาล เพิ่นกระเหม็ดกระแหม่ เป็นรอบคอบหมดทุกอย่างสมเด็จย่า อ้า เพิ่นเลี้ยงลูกกำพร้าด้วย เออ พระบิดาก็ไม่ ไม่อยู่แล้ว สวรรคตไปแล้ว เออ แต่สมเด็จย่าเลี้ยงมาพาใหญ่ สมเด็จพระพี่นาง แล้ว(สมเด็จฯ)ฟ้าชายลงมา ๒ ๓ คน แต่ก็ฟูมฟักรักษาเอาอย่างทะนุถนอม ไปอยู่ประเทศนอกก็เรียนประเทศนอกพู้น(โน้น)แหละ ประเทศอังกฤษหรือประเทศอะไรเพิ่นไปเรียนอยู่นอกนู้น เขาจะดูถูกเอา เออ ถ้าใช้สุรุ่ยสุร่ายหลาย ไม่พอจ่ายล่ะก็อายเขา กระเหม็ดกระแหม่เอา เออ อย่าสุรุ่ยสุร่ายต้องมีเงินเหลือจ่ายแล้วเอามาให้แม่ทุกวันๆ เงินเอาไปให้ซื้ออาหารการกินน่ะ แต่มันเหลือจ่ายแล้ว เอามาฝากให้แม่เก็บอยู่อย่างงั้นล่ะ นี่เรื่องของสมเด็จย่า เพิ่นกระเหม็ดกระแหม่ สั่งสอนลูกให้กระเหม็ดกระแหม่ที่สุด เออ เพิ่นก็ได้เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ขณะนี้อ่ะ ทุกวันหนึ่งยังประหยัดอยู่นะ อ้า ในหลวง เพิ่นยังประหยัดอยู่ นิสัยของคุณแม่เพิ่นสอน ตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าไปจ่ายเป็นอันขาด อ้า นี่ยกเอาผู้หลักผู้ใหญ่เป็นตัวอย่าง ผู้คนมั่งมีศรีสุข เป็นเถ้าแก่ใหญ่ๆ นายห้างใหญ่ๆ เออ อันนั้นก็มีกำไรมาก บริษัทมาก ลูกน้องมาก รับผิดชอบลูกน้องไปหมดทุกคน เถ้าแก่ใหญ่ๆ มีลูกน้องกี่คนๆ อยู่ในบริษัทของเรา ก็รับผิดชอบไปหมดให้ทั่วถึง ไม่ให้เขาอดอยากปากแห้งหรอก ครอบครัวทางบ้านเขาเป็นยังไง ให้กันดูไปหมด ทีนี่ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านก็มีความกระเหม็ดกระแหม่ดี รู้จักประหยัด
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
มีน้อยไปใช้มากๆ เกินฐานะของตัวเอง ก็จะยากลง อ้า เห็นเขาขี่รถก็อยากขี่รถกับเขา อ่ะเฮอะ เดินเอา เออ แม่บอกว่าเดินเอา นั่งสามล้อเอา ฝ่ายจะซื้อจักรยานให้ลูกก็ยังเป็นห่วง กลัวลูกจะไปอุบัติเหตุพู้น(โน้น)ล่ะ เพิ่นรักษาอย่างรอบคอบ อย่างประหยัด
(ฉันน้ำชา)
ไม่ใช่นินทาท่านหรอก สรรเสริญ สรรเสริญน้ำพระทัยของสมเด็จย่า รอบคอบ ให้ลูกกระเหม็ดกระแหม่ รู้จักประหยัดใช้มาตั้งแต่เป็นนักเรียน ดูสิ ท่านเป็นถึงพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อโตมาได้ ถึงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศ ถ้าท่านสุรุ่ยสุร่ายมาตั้งแต่เก่าแต่ก่อนนู้น ไม่รู้จักเก็บจักกำ แล้วจะมีอะไรสงเคราะห์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินบ้าง ก็จะคอยเป็น เป็นพระมหา... มหากษัตริย์ที่ยากจนที่สุด ดังนี้
แต่ท่านอดรนทนสู้มา
(เติมน้ำร้อน) น้ำชาหรือน้ำร้อนธรรมดา เออ
นี่พูดเรื่อง
กัมมัง วิชชา ธัมโม สีลัง ชีวิตะมุตตะมัง
เออ โดยมากก็ไม่ค่อยพูดเรื่องอย่างนี้หรอก เป็นการ นั่นเหลือเกิน ไม่ค่อยเทศน์ที่ไหนหรอก แต่ว่าในบ้านเรา ไม่ใช่คนในกรุงเหมือนกับคนทางอื่นก็มี มาอยู่ในกรุงเทพฯ รู้จักประมาณเอาเอง รู้จักกระเหม็ดกระแหม่เอาเอง
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าประมาทเงินทองของประสงค์
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
ถ้ามีน้อยๆ ไปใช้มากๆ แล้วก็เป็นหนี้เป็นสิน พะรุงพะรังจะยากลงอีก ที่มีน้อยไปใช้มากจะยากลง เพราะว่าเป็นหนี้เป็นสินเพิ่มเติมขึ้นมา ของเก่ายังใช้ไม่หมด ของใหม่ยังเพิ่มเติมไปเรื่อย เออ ไม่กระเหม็ดกระแหม่ แต่ไม่อดตาย บ้านเราไม่อดตาย แน่นอน เพราะว่าตลาดไหนๆ มันล้นไปหมด ตลาดน้ำหรือตลาดบก ตลาดตามเรือ ก็ยังมี เรือผลหมากรากไม้ ข้าวปลาอาหารอยู่ในเรือเต็ม ไปทางเรือก็ไม่อด ไม่อยากอะไร ไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ก็ไม่ตาย อืม แต่ว่ามีอยู่บางตระกูล บางตระกูลเพิ่นสูงส่งไปแล้ว ไม่ต้องลำบากกับฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หมูเห็ดเป็ดไก่อะไรไม่ได้เดือดร้อน กินแต่ของตายแล้วกินแต่ของตลาด มีมาจ่าย มีคนให้มาเยอะแยะ เออ ด้วยอานิสงส์ของเพิ่น บริจาคให้ประชาชนในนั้นแหละ ไปที่ไหนไม่อด ไม่อยากสักที มีแต่ผู้ให้ มีแต่ผู้ส่งเคราะห์ ถวายเป็นลาภสักการะก็มี อยู่ในบ้านเมืองเจริญขึ้นมาแล้วสบาย สะดวกสบายไม่ต้องฆ่าสัตว์ ไม่ต้องเลี้ยงปลา ไม่ต้องเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่อะไรให้มากมาย ของตายแล้ว ของเป็นๆ เนี่ยมีแต่เขากินกับเรา พวกปลาทั้งหลายก็อาศัยความเมตตาปรานี
ไปให้อาหารปลา ไปให้อาหารนก ไปให้อาหารสัตว์ป่า สัตว์ดงทั้งหลายได้รับความอนุเคราะห์ พวกสัตว์ป่าทั้งหลายก็ได้รับความอนุเคราะห์ เออ ดูแลรักษาสัตว์ป่า ให้เขามีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยมา พู้น(โน้น)อยู่ในดงพญาเย็น ดงพญาไฟที่ไหน บุกป่าฝ่าดงเข้าไป ไปให้อาหารช้าง อาหารลิง อาหารสัตว์ป่าทั้งหลาย เออ ถ้าเห็นเจ้านายไปก็ยกมือ ยกงวง ดีใจ จะมาขอได้รับพระราชทานผลหมากรากไม้เหลือเฟือไป นั่น ผู้มีเมตตาสูง ได้รับความสงเคราะห์สงหาจากผู้ใจบุญทั้งหลาย เอาไปป่าตรงนั้น ไปดงตรงนี้ เอาของใส่รถไป ไปฝาก ไม่ได้ฝากเฉพาะสัตว์อื่นน่ะ เอาไปแจกประชาชนที่น้ำท่วมบ้าง ที่แห้งแล้งกันดารบ้าง แจกไปทั่วทุกหนทุกแห่ง เป็นถุงๆๆ แจกตำรวจทหารเนี่ยก็เป็นถุงปุ๋ยและถุงใหญ่ๆ เขาอยู่ในป่าในเขา รักษาความปลอดภัยให้เรา รักษาแผ่นดินไว้ให้เรา อดตาหลับขับตานอน กางเต็นท์อยู่ตามป่า ตามเขาอย่างนั้น ก็สมควรสงเคราะห์ดูแลให้ทั่วให้ถึง อย่าปล่อยให้อดอยากปากแห้ง นั่นน้ำใจของผู้เจริญแล้วทั้งหลาย
ท่านไม่นิ่งดูดายหรอก ไม่ทอดทิ้ง ไม่นิ่งดูดาย ไม่ใจจืด ไม่ใจดำ ไม่อำมหิต ดูแลความทุกข์ ความสุข สารทุกข์สุขดิบของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ทั่วถึง ฝนแล้งก็เป็นยังไง นั่งคิด นอนคิดในหลวงเพิ่นนั่งคิด นอนคิด ถ้าเกิดแห้งแล้งมาจะทำยังไง เราไม่มีเครื่องบินโปรย เออ ฝนเทียม เพิ่นก็พยายามหา ให้มันมีขึ้นมา จัดเครื่องบินไว้เตรียมพร้อมไว้ สำหรับโปรยฝนเทียมให้ประชาชน ได้ทำไร่ ทำนาสมบูรณ์ อ้า มันแห้งมันแล้งที่ไหน อ้า เอาฝนเทียมไปช่วยทุกอย่าง กันเขื่อนตรงนั้น กันเขื่อนตรงนี้ไว้เพื่อจะสงเคราะห์ ช่วยเหลือ เพื่อจะเอาน้ำจากป่าแห่งนั้นขึ้นมาใส่เขื่อนแห่งนี้ แล้วส่งน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงต้นไม้ต้นข้าวกล้าในนาอุดมสมบูรณ์ คิด นั่งคิด นอนคิด บางทีก็นั่งเข้าสมาธิพิจารณา พิจารณาเราจะทำยังไง จะช่วยไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ยังไง
นั่นดิ
เพราะฉะนั้น ทุกคนผู้ที่คิดก่อกวนความสงบให้แก่บ้านเมือง เพิ่นก็ บ้างครั้งบางคราว ผ่านทางที่ประชุมไปบ้าง เตือน เตือนในทางที่ประชุมใหญ่ๆ บางพวกเดินขบวนอย่างงั้น เดินขบวนอย่างนี้ ก่อกวนความสงบให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองไม่เป็นอันอยู่อันกินกัน อ้า อดตาหลับขับตานอนกัน สู้ตากฟ้าตากฝน อันนั้นท่านก็เป็นห่วง ยังไม่ยอมเหมือนกัน ห่วงพี่น้องอดอยากปากแห้งมา ถึงมาเดินขบวนรับจ้าง เออ เจ้านาย ผู้ได้เงินไปซื้อข้าวสาร ฝากไปให้บ้าน ไปยึดเมือง ลูกหลานได้อยู่ได้กิน แต่ว่ามาเดินต็อกต๋อยๆ อยู่กับขบวน เดินขบวนเนี่ยเขาได้เดือนละเท่าไหร่คนหนึ่งๆ นี่ก็น่าสงสารเหมือนกันล่ะ
โครงการรักษาความสงบเกิดมีขึ้น ให้ทหารเป็นผู้ดูแล อันนี้กระทบกระเทือนไปถึงพวกเดินขบวนเหมือนกัน พวกเดินขบวนไม่มีรายได้แล้วเรา อะไรทำนองนี้ เออ ก็เลยเดือดร้อนกันวุ่นวาย หารถกลับบ้านกลับช่อง ชุลมุนวุ่นวาย บ้านอยู่บ้านนอกโน้น บ้านป่าบ้านเขาโน้น อุตส่าห์มาเดินขบวนกับเขา เพื่อจะได้ค่าจ้างค่าแรงงาน พอได้ส่งไปให้ลูกได้เล่าเรียนศึกษา หรือซื้อข้าวปลาอาหารเลี้ยงครอบครัว อย่าได้ฝืดเคือง อุตส่าห์แม้ทนลำบากมาเดินขบวนกับเขา กับได้ต็อกต๋อย แก่ขนาดไหนก็ยังอุตส่าห์มา เพราะว่าห่วงลูกอยู่ทางบ้าน กลัวจะไม่ๆ มีๆ ทุนการศึกษา ไม่มีอาหารการกินเลี้ยงกัน จำเป็นต้องมาตากฟ้าตากฝน ตกระกำลำบาก นี่เพราะห่วงใยของผู้บังเกิดเกล้า อยู่บ้านนอกบ้านนา ถ้าอดอยาก มันอดจริงๆ นาไม่ได้ทำ แห้งแล้งไม่มีน้ำ ที่จะให้ใส่ต้นข้าว ต้นข้าวก็ตายแห้งแล้ง แหงแก๋ ตายคารวง ไม่ได้เก็บไม่ได้เกี่ยว อย่างนั้นเป็นยังไงอ่ะ เอ้ อันนี้ก็คิดให้ถึง คิดให้ถึงดีๆ ไม่ใช่หวงเอาไว้จ่ายคนเดียวหรอก ในหลวงเพิ่นก็ไม่หวงไว้จ่ายคนเดียวหรอก คิดเผื่อแผ่ไปถึงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่ ในถิ่นที่ทุรกันดาร งั้นเราจะช่วยหาทางสงหา หาทางช่วยเหลือเขาด้วยวิธียังไง คิดไปในกมลสันดาน คิดไว้ในดุลยพินิจของท่านให้ละเอียดอยู่ อ้า ความคิด บางคราว บางสมัย ก็เป็นหวง นู้นเป็นหวงทางจังหวัดอื่น ท่านก็เสด็จไป เยี่ยมเยียน ไปพักเป็นบางครั้งบางคราว เขาเรียกว่าออกไปพักร้อนหรือไปอะไร แต่ว่าไปดูแลความสงบเรียบร้อยของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ความห่วงใยของท่านมีอยู่ ไปจังหวัดไหนๆ ก็ดูแลไปหมด ถึงในเขตก่อการร้ายขนาดไหนท่านก็ไม่กลัว ท่านไป ก่อการร้ายเขาทำอย่างงั้นอย่างงี้ ก็ไปด้วย
ความเมตตาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งให้เองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
อย่างนั้น อันความเมตตาปรานี ไม่มีใครบังคับ มันเป็นเองโดยอัตโนมัติ ให้รู้จักว่าท่านห่วงใยพวกเราอยู่ พวกเราเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินประชาชนธรรมดา เออ เราจะทำยังไงจึงจะสมกับความห่วงใยของในหลวง พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นห่วงพวกเรา เราจะทำยังไง สร้างปัญหาให้เกิดขึ้น ให้ปวดหัว เหรอ เออ อย่าสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น ให้หนักพระทัยของในหลวง ให้ท่านเบาพระทัยได้ เรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข พระราชาพระเจ้าอยู่หัว ก็มีความเบาอกเบาใจ ไม่หนักอกหนักใจ
ถ้าก่อการทะเลาะวิวาทกัน ก่อการร้ายตรงนั้น ก่อการร้าย ตรงนี้ เผาบ้านเผาเมืองซึ่งกันและกัน หัวอกของท่านแล้วจะเป็นยังไง เกิดความห่วงใยไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินขึ้นมา จนเป็นโรคหัวใจขึ้นมาพร้อม เพราะไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทำให้ท่านเกิดโรคหัวใจ ไม่สบายใจขึ้นมา ต้องเข้าโรงพยาบาลกระทันหันก็มี บางครั้งบางคราว
เพราะฉะนั้น เหล่าพวกเราเป็นประชาชนธรรมดา ให้ระลึกถึงหัวอกของผู้ปกครองแผ่นดินบ้าง ท่านหนัก หนักอกเพราะการกระทำของเรา ทำให้พระองค์มีความเดือดร้อนใจ ไม่ดีเลยๆ ทำให้เบาใจดีกว่า ทําให้ความสบายใจดีกว่า ให้เพิ่น
โนพลอมแพลม(no problem ไม่มีปัญหา)ซะ
โนพลอมแพลม(no problem ไม่มีปัญหา)สบายมากๆ เลย พี่น้องไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน กลมเกลียวสามัคคีดีต่อกัน ท่านจะโนพลอมแพลม(no problem ไม่มีปัญหา)สบายมาก ในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นพวก ก็มีกำลังใจปฏิบัติหน้าที่การงานราชการของท่านได้เต็มที่ ไปทุกจังหวัด ไปท้องที่ทุรกันดารขนาดไหน ท่านก็อุตส่าห์พยายามไป ถ้าท่านไม่ไปก็สั่งให้สมเด็จพระเทพฯ ไป สมเด็จพระจุฬาภรณ์ฯ ไป สั่งให้ เออ บุคคลที่ปฏิบัติงานได้ไปแทนท่านป่วยอยู่ เพราะฉะนั้น ขอให้พวกเราจงปฏิบัติตนให้เป็นคนเบาใจ เบาใจธุระ รับธุระภาระแทนพระองค์เอง เสียสละแทนพระองค์ได้ทุกเมื่อ
ดังที่บรรยายมา ถ้าจะบรรยายไปมากๆ ก็จะหลายไปอีกแหละ เหนื่อยเราอีกแหละ ลมหมดแล้ว เพราะฉะนั้น ขอฝาก
ความหวังไว้กับพี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร ชาวต่างจังหวัดบ้าง ที่มาเที่ยวจราจรอยู่ในกรุงเทพฯ อย่าก่อปัญหาให้เกิดขึ้นให้หนักใจแก่ผู้ปกครอง ให้ท่านเบาใจ เห็นหน้าตาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินยิ้มแย้มแจ่มใส เพิ่นก็สบายใจ ถ้าหน้าบูด หน้าบึ้ง หน้าเหี่ยวแล้วท่านก็หนักใจ
ดังที่แสดงมาเป็น ปกิณณกนัย เพื่อต้องการให้ท่านทั้งหลาย นำไปใคร่ครวญพินิจพิจารณาด้วยปัญญาอันชาญฉลาดของตนๆ เองเถิด อัปปมาทธรรม ไม่มีความประมาทแต่อย่างใด ตั้งใจประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของตัวให้เต็มความสามารถ ต่อแต่นั้นก็จะได้ประสบพบเห็นแต่ความสุขความเจริญทั้งทางคดีโลกและทางคดีธรรมทุกประการ รับประทานวิสัชนามา ก็สมควรแก่เวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
(สาธุ สาธุ สาธุ)
กัมมัง วิชชา จะ ธัมโม จะ สีลัง ชีวิตะมุตตะมัง
การงาน ๑ วิชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม ๑
กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
สัพพะปาปัง วินัสสันตุ อะเสสะโต
บาปทั้งปวง จงวินาศสิ้นไป โดยไม่เหลือ
โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง
ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
ที่นอนที่นั่งอันสงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค
การประกอบความเพียรในอธิจิต
เอตัง พุทธานะ สาสะนันติ
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร (๑๔) ข้อ ๕๔)
จูฬปุณณมสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสบรรยาย
ความแตกต่างระหว่าง สัตบุรุษและอสัตบุรุษ ได้แก่
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ คือ
เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก
มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา
๒. เป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ
๓. เป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ
๔. เป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ
๕. เป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ
๖. เป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ
๗. เป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ
๘. ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
จูฬปุณณมสูตร (๑๑๐) ข้อ ๑๔๓ บทคัดย่อบางส่วน)
เสขปฏิปทาสูตร พระอานนท์บรรยาย
คุณสมบัติของผู้ที่ประกอบด้วย
สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ) คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นพหูสูต
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๖. เป็นผู้มีสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญา
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เสขปฏิปทาสูตร ว่าด้วยผู้มีเสขปฏิปทา ข้อ ๓๑
บทคัดย่อบางส่วน)
สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร พระเสรีบุตรบรรยาย
ธรรม ๗ อย่างที่แทงตลอดได้ยาก ได้แก่
สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ)
๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ
๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล
๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน
๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล
๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร (๓๓) ข้อ ๓๓๑ ทสุตตรสูตร (๓๔) ข้อ ๔๓๙
บทคัดย่อบางส่วน)
สุภาษิตสอนหญิง
(บทคัดบางส่วน)
มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ
ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ ได้การุณเลี้ยงรักษามาจนใหญ่
อุ้มอุทรป้อนข้าวเป็นเท่าไร หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง
ถ้าเราดีมีจิตคิดอุปถัมภ์ กุศลล้ำเลิศเท่าภูเขาหลวง
จะปรากฏยศยิ่งสิ่งทั้งปวง กว่าจะล่วงลุถึงซึ่งพิมาน
เทพไทในห้องสิบหกชั้น จะชวนกันสรรเสริญเจริญสาร
ว่าสตรีนี้เป็นยอดยุพาพาล ได้เลี้ยงท่านชนกชนนี
นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าวรรณกรรมเรื่องนี้
เป็นผลงานของหลวงสุนทรโวหาร(สุนทรภู่)
(มีข้อมูลว่า สุภาษิตสอนหญิงเป็นของนายภู่ จุลละภมร
ศิษย์สุนทรภู่นั้น เพราะชื่อภู่เหมือนกัน
แต่เรื่องที่นายภู่แต่งจะมีบทไหว้ครูทุกเรื่อง
ผิดกับท่านสุนทรภู่ที่แต่งกลอนจะไม่เคยมีบทไหว้ครูเลย)
เวนิสวาณิช(The Merchant of Venice)
ของ วิลเลียม เชกสเปียร์(William Shakespeare)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็น กลอน ๘ บทละคร พ.ศ. ๒๔๕๙
The quality of mercy is not strained.
อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
It droppeth as the gentle rain from heaven
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
Upon the place beneath. It is twice blest:
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน เป็นสิ่งดีสองชั้น พลันปลื้มใจ
It blesseth him that gives and him that takes.
แห่งผู้ให้และผู้รับสมถวิล
‘Tis mightiest in the mightiest; it becomes
The thronèd monarch better than his crown.
His scepter shows the force of temporal power,
เป็นกำลังเลิศพลังอื่นทั้งสิ้น
The attribute to awe and majesty
เจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระกรุณา
๗๒